Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรุนแรงกับนักการเมือง



วันหนึ่ง

ถ้าเราแต่งตัวในสภาพนี้ แล้วเดินเข้าไปหานักการเมือง ไม่ว่าจะไปหาที่บ้าน สำนักงานศูนย์ประสานงานพรรค หรือแม้แต่เข้าไปพรรค

เพื่อนำความเดือดร้อนไปร้องเรียนกับพวกเขา เพื่อหวังให้เขาแบ่งเบา ปัดเป่า ผ่อนคลายหาทางออกให้


  • ท่านลองถามตัวเองหรือไม่ครับว่าท่านจะได้คำตอบว่าอย่างไร


1.ให้เด็กในบ้านออกมาบอกว่าท่านไม่อยู่ ครับ / ค่ะ
2.ให้คนในพรรคนำค่ารถมาให้สัก 1-2 ร้อยเพื่อไล่ให้กลับไปเพื่อตัดความรำคาญ
3. เมินเฉยทุกกรณี
4.ต้อนรับอย่างแขกผู้มีเกียรติให้คำปรึกษาอย่างดี

ให้ตายเถอะครับผมไม่ได้อคติกับนักการเมือง แต่ตลอดชีวิตที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสนักการเมือง คำตอบมีเพียง ข้อ 1-3 เท่านั้น


  • ส่วนข้อ 4 .จะเกิดขึ้นได้เมื่อ


- เรามีข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามไปให้เขาไม่ว่าแง่มุมมใดก็ตาม
- มีจำนวนมากพอที่นักการเมืองจะเพิกเฉยไม่ได้
- มีการข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการที่สูงขึ้น

ท่านเห็นหรือยังครับว่า ความรุนแรงทางสังคม มันมาจากคนที่เป็นแกนทางสังคม สร้างแบบแผนมันขึ้นมา  ชาวบ้านธรรมดาไปหาเข้าพบไม่ได้ แต่ถ้าใช้กำลัง ใช้คนเยอะ ก็จะได้รับการแก้ไข

ทำให้ชาวบ้านเขาเรียนรู้ การที่จะนำปัญหาของพวกเขาไปสู่กระบวนการแก้ไขได้ว่าต้องทำอย่างไร

นี่ผมยังไม่นับรวมถึงระบบราชการที่เป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย ที่ชาวบ้านแทบคลานเข้าบ้าน
จึงไม่แปลกใจว่าทำไมสังคมมันเพาะบ่มปัญหาความรุนแรงขึ้นทุกวัน


  • เหตุก็เพราะ 


1 .ปัญหามันมีและไม่ได้รับการแก้ไข และขบวนการไม่ทำงาน ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน 

2.การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้ระดับท้องถิ่นแก้ปัญหาไม่ได้เมื่อเป็นเป็นหาระดับนโยบาย ชาวบ้านจึงเคลื่อนตัวเข้ามายังศูนย์กลางของอำนาจ นั่นคือตึกไทยคู่ฟ้านั่นเอง  

3.สังคมเราขาดองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมอย่างแท้จริง ขาดแบบแผนปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับ นำไปสู่การเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มว่าจะใช้ความรุนแรงและผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา


  • เพราะชาวบ้านเรียนรู้การแก้ปัญหาจากภาครัฐว่าถ้าจะได้ผลต้อง ปิดถนน ไปทำเนียบ หรือแม้แต่บุกยึดหน่วยงานทางปกครองของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค


ดังนั้นหน้าทำเนียบจึงไม่เคยว่างเว้นจากการชุมนุมของประชาชน ทั้งที่เดือดร้อนจริงๆและเดือดร้อนแบบแอบแฝง


  • ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมนี้มันมาจาก นักการเมือง  ส่วนราชการ รวมไปถึงภาครัฐระดับนโยบายต่างๆ สร้างแบบแผนนี้ขึ้นมา จนชาวบ้านเชื่อว่านี่คือเป้าหมายและหนทางนำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาของพวกเขา



  • ต้นตอของปัญหานี้ทั้งหมดต้องกลับไปปรับเปลี่ยนวิธีคิด รูปแบบ ในการมองชาวบ้าน ในการแก้ไขปัญหา อย่ามองว่าชาวบ้านคนเดียว ก็มีเพียงปัญหาเดียวปล่อยทิ้งไม่สนใจ  แท้ที่จริงแล้ว ชาวบ้านคนเดียวที่เดินมา เป็นสัญญาณเตือนว่าขณะนี้มีปัญหาเกิดขึ้นในสังคมแล้ว 

ควรรีบเร่งทำการแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยไว้เป็นดินพอกหางหมูเป็นปัญหาสังคมหมักหมมต่อไป เพียงเพราะความคิดที่มองคนแต่รูปลักษณ์ภายนอกจนเกิดลัทธิเอาอย่าง จนกลายเป็นแบบแผนขึ้นทางสังคมดังที่ปรากฎ

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

การเมืองในกัมพูชา 2



พลพตผู้นำเขมรแดง

นับแต่ปี 1979 เรื่อยมา

แผ่นดินของกัมพูชาเต็มไปด้วยสงครามกลางเมือง ระหว่างสารพัดฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ได้ต่อสู้ฆ่าล้างกันจนเลือดแดงทาทั่วผืนดินกัมพูชา
  • ส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งสงครามกลางเมือง ก็มาจากต่างประเทศที่เข้าแทรกแซง ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ไทย จีน เวียตนาม เวีนตกง เป็นต้น

แต่ ปัจจัยภายนอกเช่นกันที่จะทำให้สงครามในกัมพูชายุติลงได้ เพราะพี่เบิ้มใหญ่ของแต่ละฝ่ายที่หนุนหลังอยู่ เพียงแค่ทั้งหมดหยุดสงครามในกัมพูชาก็หยุดเช่นกัน

ผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในการยุติการฆ่าล้างในกัมพูชาลงได้โลกจะปฏิเสธเขาเสียไม่ได้เลย

  • นาย กาเรธ อีแวนส์ ( Gareth Evans ) รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเรีย และอีกท่านคือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่เข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ. 1988 ผู้มีแนวคิดเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า

พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ


  • แล้วบทบาทของอาเซียนก็โดดเด่นขึ้น นาย อาลี อาลาตัส รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ได้จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางขึ้นที่กรุงจาการ์ตาระหว่างกลุ่มผู้นำต่างๆ ในกัมพูชาที่เป็นปฏิปักษ์กัน


  • และเมื่อวันที่ 23ตุลาคม 1991 สงครามในกัมพูชาได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ ตามสัญญาสันติภาพปารีส

ภาย ใต้ข้อตกลงนี้ ให้กองกำลังทุกฝ่ายในกัมพูชาต้องยุติการสู้รบ ลดกำลังรบ และปลดอาวุธ โดยให้สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด และทำหน้าที่ประสานงานกับองค์การบริหารของฝ่ายสหประชาชาติชั่วคราว หรือ อันแทค เพื่อสถาปนาสันติภาพและจัดให้มีการเลือกตั้งในกัมพูชาต่อไป

  • เมื่อ พฤษภาคม 1993 อันแทคได้จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในกัมพูชา  โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 22 พรรค
ปัญหา ครั้งนี้คือ ชาวกัมพูชาไม่คุ้นชินกับการเลือกตั้ง และตัวเลขผู้มีสิทธิ ไม่ชัดเจน ภายใต้สงครามมาโดยตลอด การกระจายตัวของประชากร การมีภูมิลำเนาไม่เป็นหลักแหล่งถาวร ล้วนเป็นปัญหาครั้งนี้

  • อย่างไรก็ตามได้กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนได้ 120 คน

พรรคฟุนซินเปค ( Funcinpec) ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้   58 ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา ของนาย ฮุนเซ็น ได้                      51 ที่นั่ง
พรรคเสรีประชาธิปไตยแนวพุทธของนายซอนซานน์ ได้       10 ที่นั่ง
พรรคโมลินาคา ของนาย พรม นาคราช ได้                         1 ที่นั่ง

  • งานแรกของสภาชุดนี้คือ

การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อ 21 กันยายน 1993
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถอดด้ามนี้ กำหนดให้ มีนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว
แต่เพื่อลดความขัดแย้งจึงได้กำหนดบทเฉพาะกาลขึ้น ให้รัฐบาลชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีนายกรัฐมนตรี  2 คน


เจ้ารณฤทธิ์



  • โดยให้เจ้ารณฤทธิ์ เป็นนายกฯคนที่ 1
  • นายฮุนเซ็นเป็นนายกฯคนที่ 2

พิเศษ ไปกว่านั้นอีกคือกระทรวงสำคัญ 2 กระทรวงคือมหาดไทย และกลาโหม ให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงละ 2 คน จากพรรค ฟุนซินเปค และพรรคประชาชนคุมบังเหียนด้วยกัน จึงเป็นประชาธิปไตยแบบกัมพูชาโดยแท้

ถึง มีรัฐบาลใหม่มาจากการเลือกตั้งแล้วการเมืองในกัมพูชาก็หาได้สงบลงไม่ ยังมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง จาก 2 พรรค และ 2 นายกฯ แย่งอำนาจการปกครองกันเอง และมีตัวแปรที่สำคัญคือ กลุ่มเขมรแดง

ฮุนเซน

  • ในที่สุดความขัดแย้งดำเนินมาถึงขีดสุด

เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 1997 นายฮุนเซ็น นายกฯคนที่ 2 ได้ยึดอำนาจนายกฯคนที่หนึ่งคือเจ้ารณฤทธิ์ โดยอ้างเหตุผลว่า เจ้ารณฤทธิ์ สะสมกำลังอาวุธอย่างผิดกฎหมายเพื่อยึดอำนาจปกครองและสมคบกับกลุ่มนอกกฎหมาย เขมรแดง

การ สู้รบทางทหารกลับเข้าสู่แผ่นดินกัมพูชาอีกครั้ง นำไปสู่การยื่นมาเข้ามาจากต่่างชาติเช่นกลุมประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น อเมริการวมไปถึงสหประชาชาติ ได้กดดันบีบบังคับผ่านระบบเศรษฐกิจและการเมืองให้ยุติความขัดแย้งนี้เสีย

  • ในที่สุดก็นำมาสู่การเลือกตั้งครั้งที่ 2 ขึ้นในกัมพูชา

ครั้งนี้มี ส.ส.122 ที่นั่ง
มีพรรคการเมืองเข้าร่วมสนามครั้งนี้ 32 พรรค

พรรคประชาชนของนายฮุนเซ็น ได้ 64 ที่นั่ง 
พรรคฟุนซินเปคของเจ้ารณฤทธิ์ ได้ 43 ที่นั่ง
พรรคสามเรนสี ( Sam Rainsy ) ของอดีตรัฐมนตรีว่าคลังนาย สาม เรนสีได้ 15 ที่นั่ง

  • กัมพูชา ต้องการลบภาพความขัดแย้ง ต่างฝ่ายได้ตกลงกันให้มัการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นในปี 1999 มีการเพิ่มวุฒิสภาเข้ามาในรัฐธรรมนูญอีกสภา จากเดิมมีเพียง สภาผู้แทนสภาเดียว วุฒิสภานี้ให้มี 61 คน

จากพรรคประชาชน 31 คน
พรรคฟุนซินเปค      21 คน
พรรคสามเรนสี          7 คน
อีก                          2 คน แต่งตั้งโดยกษัตริย์ 


  • รัฐบาลใหม่มี นายฮุนเซ็น เป็นนายกฯ
เจ้ารณฤทธิ์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายเจีย ซิม จากพรรคประชาชนกัมพูชา เป็น ประธานวุฒิสภา โดยมีเจ้า นโรดมสีหนุเป็น กษัตริย์


 กองกระโหลกจากสงครามความขัดแย้งทางการเมือง

 นายพล ลอน นอล ผู้นำฝ่ายขวาจัด

นายเขียวสัมพัน


  • การ เมืองของกัมพูชาปัจจุบัน แม้จะดูมีเสถียรภาพแต่ความเป็นจริงมีเพียงชาวกัมพูชาเท่านั้นที่รู้ว่าแท้ จริงแล้วมีเสถียรภาพเพราะสภาพการเมืองโดยธรรมชาติ หรือมีเสถียรภาพเพราะอำนาจเบ็ดเสร็จกันแน่

กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

การเมืองในกัมพูชา 1




เขียวสัมพัน

ประเทศกัมพูชา


  • กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ตามสัญญาเจนีวา 1954 



นับแต่ได้เอกราช ในปี 1955 กษัตริย์สีหนุได้สละราชสมบัติให้พระบิดา และได้ลงมาจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อพรรคสังคมนิยมราษฎรนิยม (   Sangkum Reastreniyum ) เป้าหมายคือเพื่อเป็นฐานอำนาจและรักษาบทบาททางการเมืองของตนเอง แม้สละบัลลังภ์แต่ เจ้าสหนุ ยังคงมีบทบาทและอิทธิในหมู่ประชาชนกัมพูชาอย่างเหนียวแน่น


  • แต่เส้นทางของเจ้าสีหนุก็ใช่ว่าจะราบเรียบ มีกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1.ฝ่ายทหารที่นิยมขวา หรือที่เรียกว่าขวาจัด ซึ่งมีนายพล ลอนนอล (  Lon Nol ) และนายพลเจ้าสิริมาตะ  เป็นแกนนำ

2. กลุ่มสนับสนุนซ้าย มีนายเขียวสัมพัน ( Khieu Samphan )   และ นาย เอียง สารี (Ieng Sary) เป็นแกนนำ

เจ้าสีหนุ พยายามลดความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายลง โดยให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยที่เจ้าสีหนุจะเป็น ตัวถ่วงดุลอำนาจของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอำนาจหรืออิทธิพลมากขึ้น เจ้าสีหนุก็จะหันไปสนับสนุนกับฝ่ายตรงข้ามทันทีเพื่อลดบทบาทของฝ่ายที่มีอำนาจลง


  • แต่ความขัดแย้งก็เริ่มปะทุขึ้น


 เมื่อฝ่ายขวา ต้องการให้กัมพูชามีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และให้เจ้าสีหนุขับไล่กองกำลังเวียตกงและเวียตนามเหนือทางฝั่งทางฝั่งตะวันออก ใกล้กับเวียตนามใต้  ออกไป  และต้องการให้เจ้าสีหนุแสดงท่าทีว่าเป็นปฏิปักษ์กับระบอบคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจีนกับเวียตนามเหนือ  นอกจากนี้ต้องการให้ไปมีสัมพัธไมตรีกับ อเมริกาและไทย

ส่วนฝ่ายซ้าย ต้องการให้โอนกิจการต่างๆทางเศรษฐกิจให้ตกเป็นของรัฐ ตามแนวทางสังคมนิยม และไม่ต่อต้านเวียตกง เวียตนามเหนือ และต้องการให้เจริญสัมพันธไมตรีกับโลกคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจีนและเวียตนาม

จะเห็นได้ว่า ทั้งซ้ายและขวาจะอยู่ตรงข้ามกันอย่างชัดเจนทั้งแนวทางและเป้าหมาย

เมื่อ ปี 1960   เจ้าสีหนุได้บริหารประเทศค่อนข้างเอียงไปทางฝ่ายซ้าย แต่กลับล้มเหลวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมไม่ได้ เกิดความไม่พอใจกับฝ่ายขวาเป็นอย่างมาก

เจ้าสีหนุ แก้ปัญหานี้โดย ปรับรัฐบาลใหม่ให้ผู้นำฝ่ายขวาทั้ง  ลอนนอล และ เจ้า สิริมาตะ เข้ามาคุมรัฐบาลอย่างเต็มที่ จากนั้น ได้เปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจไปสู่ทุนนิยม และเริ่มขับไล่เวียตกงและเวียตนามเหนือออกไป  และได้โจมตีนโยบายของ นาย เอียง สารี และเจ้า สีหนุ


  • เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1970


ในที่สุดเจ้าสีหนุ ก็ถูกฝ่ายขวาโค่นลง ขณะที่เจ้าสีหนุกำลังเดินทางไปเยือน สหภาพโซเวียต และจีน เป็นการยุติบทบาทของเจ้าสีหนุลงอย่างสิ้นเชิง

เมื่อโค่นเจ้าสีหนุลง ฝ่ายขวากับซ้าย หันมาเผชิญหน้ากันเต็มที่ รัฐบาลของนายพล ลอนนอล ได้ผนึกกำลังกับ อเมริกาและเวียตนามใต้ ได้เข้ากวาดล้างเวียตกงและเวียตนามเหนือ ทำให้แผ่นดินกัมพูชากลายเป็นสนามรบกลางเมืองขึ้น


  • รัฐบาลของ ลอนนอล ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา และไทย ส่วนฝ่ายนายเอียง สารี ได้รับการสนับสนุนจากจีน เวียตนามเหนือและฝ่ายคอมมิวนิสต์ 

รวมไปถึงคอมมิวนิสต์เขมรแดง ( Khmer Rouge )  สลตสาร์ ( Sloth Sar )  หรือ พลพต 
เขียวสัมพัน และเอียงสารีได้เข้าโจมตีกองกองกำลังของ รัฐบาล ลอนนอล


  • จุดเปลี่ยนของเหตุการณ์นี้คือ  อเมริกา ที่มีปัญหาของตนเองในการพ่ายสงครามที่เวียตนามต้องการถอนกำลังของตนออกจากเวียตนาม จึงได้ยื่นมือเข้าช่วยรัฐบาลของนายพล ลอนนอล เพื่อจะถอนทหารตนออกจากเวียตนาม


เมื่ออเมริกาถอนทหารออกจากเวียตนามตามสัญญาในปารีสเมื่อปี 1973 โอกาสของรัฐบาล ลอนนอลก็ง่อนแง่นตามสถานณะการณ์นี้ไปด้วย


  • ในที่สุดกัมพูชาได้สถาปนารัฐบาลใหม่ขึ้นภายใต้กลุ่มขบวนการเขมรแดง ปรับแนวทางของประเทศเข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ และเกิดการฆ่าล้างแผ่นดินอย่างโหดเหี้ยม


แต่รัฐบาลเขมรแดงเองก็มีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยนาย เฮง สัมริน ที่มีเวียตนามใต้หนุนหลัง
ได้บุกโจมตีรัฐบาลเขมรแดงของ นาย พลพต เมื่อ 25 ธันวาคม 1978 และสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาปกครองกัมพูชาได้สำเร็จ เมื่อ 10 มกราคม 1979 ด้วยการสนับสนุนของเวียตนาม ทำให้แผ่นดินกัมพูชาเต็มไปด้วยทหารเวียตนาม กว่า 150,000 คนที่คงกำลังไว้ในกัมพูชา

ฝ่ายรัฐบาลเขมรแดงแม้ถูกโค่นอำนาจ แต่ยังประกาศว่าตนเองเป็นรัฐบาลอยู่ และได้รวบรวมกำลังขึ้น

มีกลุ่มของเจ้าสีหนุ กลุ่มของอดีตนายกซอนซานน์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย   ได้จัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น  ภายใต้ชื่อ รัฐบาลผสม เขมรสามฝ่าย  เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล ของเฮง สัมรินที่มีเวีนตนามใต้หนุนหลังอยู่

เหตุการณ์ยังไม่จบครับ ผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป เพื่อเป็นบทเรียนที่ดีต่อไปสำหรับสังคมไทย









วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ขอบคุณ



ขอบคุณ  ทุกแรงใจ  ที่มีให้  กันเรื่อยมา
ขอบคุณ   เป็นนักหนา  ที่เมตตา  และอุ้มชู 






รีซิสเตอร์ Resistors คืออะไร

รีซิสเตอร์ ( Resistors ) หรือตัวต้านทาน เรียกย่อว่า R (อาร์)

รีซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ อิเลคโทรนิคส์ ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในวงจร อิเลคโทรนิคส์ทั่วไป
รีซิสเตอร์ แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันออกไปทั้งรูปร่างและหน้าตา 

แต่คุณสมบัติ หรือหน้าที่ของ อาร์ มีเหมือนกันคือ ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานแรงดันทางไฟฟ้า หรือศัพท์ทางเทคนิคเราเรียกว่า  ดรอพโวลท์เตจ ( Drop Voltage ) ให้ต่ำลง โดยใช้ อารื ต่อเข้ากับวงจร 
เช่น ถ้าต่อแบบอันดับ รีซิสเตอร์ที่มีค่ามาก จะยอมให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อย เรียกว่า ดรอพมาก ในทางกลับกันถ้า รีซิสเตอร์ที่มีค่าน้อยจะยอมให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไหลผ่านได้มาก 
 เรียกว่า ดรอพน้อย  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระแสไฟที่ไหลในวงจร และคุณสมบัติในการออกแบบในวงจรว่าตรงจุดนั้นวิศวกรต้องการให้มีการไหลของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่าใด





รีซิสเตอร์แบ่งออกได้เป็น  4 ประเภทคือ

1.รีซิสเตอร์ค่าคงที่  (Fixed Resistors) เป็นชนิดที่มีค่าความต้านทานคงที่แน่นอนส่วนใหญ่อยู่ในแผงวงจร
2.รีซิสเตอร์แบบเลือกค่าได้ หรือ แทป รีซิสเตอร์ (  Tapped Resistor ) จะมีแทปออกมาหลายขั้วใช้เลื่อนขึ้นเลื่อนลง บางคนนิยมเรียกว่า อาร์ สไลด์ ที่เห็นชัดคือ ที่ปรับเสียงสูงต่ำในวงจรอีควอไลเซอร์
3. รีซิสเตอร์แบบปรับค่าได้ หรือวาริเอเบิ้ลรีซิสเตอร์ ( Variable Resistor ) เรียกย่อว่า วีอาร์ VR  ใช้ในวงจรปรับลดเสียงหรือคนทั่วไปมักเรียกว่า วอลลุ่ม ในวงจรเครื่องเสียงทั่วไปนี่เอง

4.รีซิสเตอร์ชนิดพิเศษ ( Special Resistor ) ถูกออกแบบมาให้มีความไวต่อความร้อนมี 2 ชนิดคือ แอลดีอาร์ และเทอร์มิสเตอร์ ใช้ในวงจรเซ็นเซอร์




 แผงวงจรอิเลคทรอนิคส์ จะเห็นว่ามีรีซิสเตอร์ที่มีแถบสีแบบ 5 สี





  • รีซิสเตอร์แบบค่าคงที่ จะมีทั้งแบบ 4 สี และ 5 สี แบบ 5 สีจะมีคุณภาพดีกว่า เราจะสังเกตุเห็นว่าทั้ง 4 สี จะแต้มไว้ใกล้กัน นั่นคือค่าของรีซิสเตอร์ตัวนี้ ส่วนสี ขวามือสุด เป็นสีแสดงค่าความผิดพลาดของ อาร์ตัวนี้ ในรูปคือสี น้ำตาล หมายถึงค่าความผิดพลาด 1 % เราจะอ่านค่าสีจากซ้ายไปขวาด้านที่สีชิดกัน





  • รีซิสเตอร์แบบ 4 สี ตัวบนสุด สีแรกคือ น้ำตาล หมายถึง 1 สีที่2คือน้ำเงิน หมายถึงเลข 6 สีที่3 คือแดงคือ เลข 0สองตัวคือ  00


ดังนั้นเมื่อถอดรหัสสี อาร์ตัวนี้จะได้ 1600 โอห์ม หรือ 1.6 kหรือ 1.6 กิโลโอห์ม ขนาด 1 วัตต์


 ตารางการอ่านค่าสีรีซิสเตอร์ทั้งแบบ 4 สี และ 5 สี มีดังรูปด้านบนนี้






รีซิสเตอร์แบบไวว์วาวด์

การต่อรีซิสเตอร์มีอยู่ 2 แบบคือ

1 แบบอนุกรมหรืออันดับ

2.แบบขนาน


  • รีซิสเตอร์ไม่มีขั้ว บวกลบ เวลาต่อใช้งานดูจากค่าของรีซิสเตอร์และขนาดทนวัตต์เท่าเดิมและเป็นประเภทเดิมไม่ควรดัดแปลงค่า

อาการเสียของรีซิสเตอร์มีดังนี้

1.ยืดค่าหรือเพิ่มค่า ( คือค่าของรีซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่นค่าสีอยู่ที่ 100 โอห์ม อาจเพิ่มเป้น 200 โอห์มหรือสูงขึ้นถึง 1 เคโอห์ม )

2 ขาด เกิดจากการที่รองรับการไหลของกรแสไม่ไหวจะทำให้เส้นลวดภายในโครงสร้างขาด ทำให้มีผลต่อวงจรโดยรวม

( รีซิสเตอร์ไม่มีอาการชอร์ทเด็ดขาด แม้บางครั้งตัวมันจะไหม้ ก็จะเสีย 2 อย่างนี้เท่านั้น




  • แรงดันทางไฟฟ้า  มีหน่วย เป็น โวลท์
  • ความต้านทานไฟฟ้า  มีหน่วยเป็น  โอห์ม
  • กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น  แอมป์แปร์
  • พลังงานไฟฟ้า  มีหน่วยเป็น วัตต์

กังวาล ทองเนตร แสงทองอิเลคทรอนิคส์แสงทองโทรทัศน์  , เทคนิคเทพนิมิตรหรือเทคนิคไทยญี่ปุ่น




วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ลัทธิ สันติอโศก




โพธิรักษ์และสาวก



สำนักสันติอโศก ก่อตั้งโดย นายรัก รักพงษ์ หรือโพธิรักษ์ นายรัก เข้าบวชในพระพุทธศาสนาครั้งแรกที่วัด อโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทราปราการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 แต่ต่อมาถูกถอดถอนใบสุทธิ ให้ลาสิขา เนื่องจากไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์
ต่อมานายรัก เข้าบวชอีกครั้งในสายมหานิกาย ที่วัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ. กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อ วันที่ 2เมษายน 2516
จากนั้นนายรักได้ประกาศตน ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม ดังข้อความบางตอนว่า
ดังนั้นเพื่อเป็นการยุติปัญหาทั้งหลายในความเป็นพุทธอันอยู่ร่วมกันตามที่พระบรมศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้ให้แก่เราชาวพุทธเราเชื่อมั่นว่าถูกต้องดีที่สุดด้วยปัญญาธิคุณออกปานนั้น คณะสงฆ์ชาวอโศกจึงได้ประกาศ นานาสังวาส ตามธรรมวินัยให้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ซึ่งก็ทำตามข้อบัญญัติ ความเป็นนานาสังวาสภูมิตามพระไตรปิฎก เล่ม 5 ข้อ 240 ประกาศเมื่อ 6 สิงหาคม 2518
จากนั้นนายอินทร์ หนูนันท์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ได้ทำหนังสือรายงานไปยังนายสวน สุวรรณชีพ กำนัน ตำบลทุ่งลูกนก เมื่อ 11 สิงหาคม 2518 และกำนันรายงานไปยังอำเภอตามลำดับเพื่อรับทราบ
ผู้ว่ารายงานไปยังอธิบดีกรมการศาสนาทราบเมื่อ 18 สิงหาคม 2518
โพธิรักษ์ กับสาวกราว 80คน ได้ประกาศก่อตั้ง สำนักสันติอโศกขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2519 นอกจากนี้โพธิรักษ์ยังได้ประกาศตนต่อหน้าลูกศิษย์ว่า ตนเองเป็นพระสารีบุตรกลับชาติมาเกิด เป็นเง็กเซียนฮ่องเต้ หรือแม้แต่เป็นโพธิสัตว์ ดังประโยคที่ว่า **** พูดไปแล้วคนก็ไม่เชื่อว่าอาตมาเป็นโพธิสัตว์อาตมามาทำงานศาสนาสืบทอดพุทธ นอกจากนั้น โพธิรักษ์ ยังได้ประกาศตนอุตริธรรม ว่ามีคุณอันวิเศษ ดังข้อความว่า ***ธรรมที่อาตมาได้จริงบรรลุจริงนั้นอาตมาเรียนเองฝึกเองไม่มีครูบาอาจารย์ไม่ได้สังกัดสำนักไหนเป็นเรื่องส่วนตัวจริง ด้วยกุศลเก่าที่อาตมาได้บำเพ็ญสั่งสมมาแต่ปางบรรพ์เป็นเหตุปัจจัยให้ชาตินี้ อาตมาจึงปฏิบัติธรรมได้ไม่ยากเย็นหรือไม่ต้องใช้เวลายาวนาน ฯ
โพธิรักษ์ได้เปลี่ยนการแต่งตัวโดยสวมเสื้อแขนกระบอกสีกรัก ตั้งแต่ 11มิ.ย 2532

นักบวชสันติอโศกแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ


1. นักบวชชาย เรียกว่า สมณะ ต้องใช้เวลาศึกษาและเตรียมบวช 2 ปี

2. นักบวชหญิง เรียกว่า สิกขมาต ใช้เวลาเตรียมตัว 10 ปี ถึงจะพิจารณาให้บวช


ตลอดเวลา สันติอโศก แตกตัวขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว ที่นคร ปฐม เรียกว่า ปฐมอโศก ที่อุบล เรียกว่า ราชธานีอโศก ที่นคร สวรรค์เรียกว่า สวรรค์ อโศกหรือสาลีอโศก ที่ขอนแก่นเรียกว่าขอน อโศก ฯลฯ
ชุมชนอโศกเหล่านี้ โพธิรักษ์เรียกชุมชนของเขาว่า CO -HOUSING โดยเขายอมรับว่าหลีกเลี่ยงคำว่า COMMUNITY เขาได้เทียบชุมชนของเขากับ ชุมชน อามิช ในอเมริกา คิบบุชต์ในอิสราเอล และอิ๊ตโตเอ้น ของญี่ปุ่น


องค์กรต่างๆของสันติอโศกมีดังนี้
1. กองทัพธรรมมูลนิธิ ( เป็นกำลังหลักที่ขับเคลื่อนในนามพันธมิตรที่ผ่านมา )
2. มูลนิธิ ธรรมสันติ
3. ธรรมทัศน์สมาคม
4.ชมรมหัตกรรมกะลาไท
5.ชมรมมังสวิรัติ
6.ชมรมสัมมาสิกขา
7.ชมรมศูนย์สุขภาพ
8.ชมรมนักศึกษาปฏิบัติธรรม
9.บริษัทพลังบุญ
10.บริษัทฟ้าอภัย
11.ชุมชนพุทธยูโทเปีย หรือชุมชนพระศรีอาริย์
12. วารสาร เราคิดอะไร
13 .สารอโศก
14.แสงสูร
15. ดอกหญ้า
16.ดอกบัวน้อย
17.น้ำใจ ฯลฯ


นี่คือองค์กรสันติอโศกเพียงบางส่วนที่ผมได้นำมาให้ทราบและเป็นเหตุผลว่าทำไมสันติอโศกถึงยืนหยัดอยู่มาได้ตราบวันนี้


ลัทธิวีรคติ


ลัทธิวีรคติ







อัศวิน Knights

  • ลัทธิวีรคติ เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ และคุณธรรมของอัศวิน ได้แก่ ความกล้าหาญ ความเข้มแข็งในยามสงคราม และสุภาพอ่อนโยนในยามสงบ

  • ลัทธิวีรคติ เกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องคือ สังคม ศาสนา และสตรี
  • กล่าวคือ จะต้องกล้าหาญในยามสงคราม
  • คุ้มครองปกป้อง ศาสนา
  • และอ่อนโยนให้เกียรติสุภาพสตรี
ทั้งหมดนี้คือหลักทฤษฎีของลัทธินี้ครับ ซึ่งงดงามมาก แต่
  • ในความเป็นจริง พวกอัศวินของลัทธินี้ กลับงมงายกับสิ่งลี้ลับมากกว่าเชื่อฟังศาสนาแถมยังมีการปล้นชิงสะดมชาวบ้าน มีการทำผิดทางชู้สาวกับหญิงสาวสามัญที่ชนชั้นต่ำกว่าตนอีก

ตำแหน่งข้าราชการการเมือง





ตำแหน่งข้าราชการการเมือง

ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการการเมือง มีตำแหน่งดังต่อไปนี้



1. นายกรัฐมนตรี


2. รองนายกรัฐมนตรี


3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง


4. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง


5. รัฐมนตรี ทบวง ( ปัจจุบันยกเลิก )


6. รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ( ปัจจุบัน ยกเลิก )


7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ


8. ที่ปรึกษานายกฯ


9. ที่ปรึกษารองนายกฯ


10. ที่ปรึกษา รัฐมนตรี และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ


11. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี


12. รองเลขาธิกานายกฯฝ่ายการเมือง


13. โฆษกประจำสำนักนายกฯ ( โฆษกรัฐบาล )


14. รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ


15. ประจำสำนักเลขาธิการนายกฯ


16. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง


17. เลขานุการรัฐมนตรีทบวง ( ดูข้อ 5-6 )


18 เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ


19. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ


20. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง.


ข้อแตกต่างระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ

1. ข้าราชการการเมือง ไม่มีขั้นวิ่ง เหมือนข้าราชการประจำ
2. ข้าราชการการเมือง มาจากเหตุผลทางการเมือง
3. ข้าราชการประจำมีขั้นวิ่ง สวัสดิการ บำเหน็จ บำนาญ ฯลฯ
4. ข้าราชการประจำมาจากผู้ที่สอบบรรจุได้ ตามระเบียบ กพ. กำหนด
5. ตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการประจำคือ ปลัดกระทรวง ฯ



ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใหม่


พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน 2551 ได้แก้ไขปรับปรุงมาจากฉบับ 2535 ให้ยกเลิกระบบ ซี และตามมาตรา 45กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชพลเรือน สามัญ 4 ประเภทคือ


1.ประเภทบริหาร ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ และรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรมและตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนด

ตำแหน่งบริหารนี้ มีอยู่ 2 ระดับคือ ระดับต้น กับระดับสูง

  • ระดับต้น มีเงินเดือน ขั้นต่ำชั่วคราว 23,230 บาท ขั้นต่ำ 48,700 บาท ขั้นสูง 64,340 บาท 
( มี 3 ระดับขั้น )เงินประจำตำแหน่ง 10,000-14,500 บาท

  • ระดับสูงมีเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว 28,550 บาท ขั้นต่ำ 53,690 บาท ขั้นสูง 66,480บาท (3ระดับเท่ากัน)เงินประจำตำแหน่ง 21,000บาท 

2. ประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่า กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนด ประเภทนี้มี 2ระดับเช่นกันคือ ระดับต้น และระดับสูง

  • ระดับต้นอำนวยการมีเงินเดือน ชั่วคราว 18,910 บาท ขั้นต่ำ 25,390 ขั้นสูง 50,550 บาท เงินประจำตำแหน่ง 5,600 
  • ระดับสูงอำนวยการ เงินเดือนชั่วคราว 23,230 บาท ขั้นต่ำ 31,280 บาท ขั้นสูง 59,770 บาท เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท 

3. ประเภทวิชาการได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ตามที่ ก.พ.กำหนด ประเภทนี้ มี 5 ระดับ


ระดับปฏิบัติการ เงินเดือนชั่วคราว 6,800 บาท ขั้นต่ำ 7,940 บาท ขั้นสูง 22,220 บาท
ระดับชำนาญการ -------------- 12,530 บาท ขั้นต่ำ 14,330 บาท ขั้นสูง 36,020 บาท
ระดับชำนาญการพิเศษ....................18,910 บาท ขั้นต่ำ 21,080 บาท ขั้นสูง 50,550 บาท
ระดับเชี่ยวชาญ ....................23,230 บาท ขั้นต่ำ 29,900 บาท ขั้นสูง 59,770 บาท
ระดับทรงคุณวุฒิ ....................28,550 บาท ขั้นต่ำ 41,720 บาท ขั้นสูง 66480 บาท
เงินประจำตำแหน่ง 3,500 บาท 5,600 บาท 9,900 บาท 13,000 บาท 15,600 บาท ตามลำดับ


4.ประเภททั่วไป
ด้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ ตำแหน่ง บริหาร อำนวยการ วิชาการ (ผู้ใช้แรงงานราชการ) ทั้งนี้ตาม ก.พ.กำหนด ประเภทนี้ มี 4 ระดับคือ

  • ระดับปฏิบัติงาน เงินเดือนขั้นต่ำ 4,630 บาท ขั้นสูง 18,190 บาท
  • ระดับชำนาญงาน เงินเดือน ขั้นต่ำ 10,190 บาท ขั้นสูง 33,540 บาท
  • ระดับอาวุโส เงินเดือนขั้นต่ำ 15,410 บาท ขั้นสูง 47,450 บาท
  • ระดับทักษะพิเศษ เงินเดือนขั้นต่ำ 48,220 บาท ขั้นสูง 59,770 บาท 

หมายเหตุ ประเภทนี้ เงินเดือนมีเพียง 2 ขั้น ส่วน เงินประจำตำแหน่ง มีเพียงระดับทักษะพิเศษเท่านั้นที่ได้ จำนวน 9,900 บาท ******




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การปกครองในลาว


                                                                           
เจ้าศรีสว่างวัฒนาเจ้าเหนือหัวสุดท้ายของลาว


 ในประเทศลาว มีการแบ่งชนชั้นกันตามลักษณะภูมิประเทศ ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ


      1). ลาวลุ่ม Lao Loum. หมายถึงชาวลาวที่อาศัยในพื้นที่ราบและเป็นกลุ่มคนส่วนมากของประชากรของประเทศ ประมาณ 66 % ว่ากันว่าชนกลุ่มนี้คือกลุ่มเดียวกันกับคนไทยที่อพยพมาจากจีนตอนใต้ แต่เลือกปักหลักอยู่ที่นี่ ใช้ภาษาพูดคือ ภาษา ไทกะได เหมือนกับภาษาของลาวลื้อ ไทดำ ไทแดง


      2).ลาวเทิง Lao Theung เป็นชาวลาวที่อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นไหล่เขาสูง มีจำนวนประชากรประมาณ 24%ของประชากรทั้งประเทศ มีชาติพันธุ์   Austroasiatic ที่อพยพมาจากทางเหนือยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชาติกำเนิดแล้วคนกลุ่มนี้คือคนที่อาศัยในพื้นราบมาก่อนและเป็นพวกปลูกข้าวแต่ถูกผลักดันให้ขึ้นดอยไปแต่พวกเขาก็ใช้ความถนัดทางการเกษตรเพาะปลูกเลี้ยงชีพได้ ลาวเทิงมีประมาณ 40 ชนเผ่า


      3).ลาวสูง  Lao  Soong มีประชากรประมาณ 10 % ของประเทศ มีเชื้อชาติ แม้ว เย้า และเผ่าอื่นๆอีก ภาษาพูด เป็นภาษาพม่า และธิเบตลาวสูงถูกบันทึกว่าได้อพยพเข้ามาอยูในประเทศลาวเมื่อประมาณ 2-3 ร้อยปีนี่เอง


                                         มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญลาว



  • สถานะภาพของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรัฐประชาธิปไตยอำนาจทั้งปวงมาจากประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าซึ่งประกอบด้วย กรรมกร เกษตรกร และผู้ได้รับการศึกษาเป็นแกนนำที่สำคัญ

  • จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้บัญญัติถ้อยคำที่ อับราฮัม ลินคอนส์ ไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างสวยหรู แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ลาวกลับ ปกครองแบบ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แบบ มาร์กเลนิน นี่คือสิ่งที่ผมย้ำมาตลอดว่าตัวอักษรในรัฐธรรมนูญทำให้ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ แต่ไม่ปฏิวัติโครงสร้างเสียก่อน

โมฆะ และ โมฆียะ แตกต่างกันอย่างไร

       

     ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ คำว่า โมฆะ ระบุในตัวบท มาตรา 172.


  • มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนี้ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้        วรรคสอง.ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ.


                             ส่วนโมฆียะ ระบุในตัวบท มาตรา 175


  • มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

( 1 )ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

( 2 )บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถเมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นบุคคลไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถแล้วผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามรถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นการเป็นคนเสมือนไร้ความสามรถก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์

( 3 )บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดหรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่

( 4 )บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว          ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้                   

                                        อธิบาย ดูภาพที่ผมทำมาประกอบ.



  •  โมฆะ หรือโมฆียะ เป็นผลทางนิติกรรมที่บุคคลกระทำขึ้น ตามมาตรา 149 แห่งกฎหมายนี้ครับเมื่อบุคคลไปทำนิติกรรมแล้ว จะมีผล เป็น โมฆะ หรือ โมฆียะ ให้ดูตัวบทและภาพประกอบโมฆะ อธิบายแบบบ้านๆก็คือเป็น 0 ศูนย์มาแต่ต้น และไม่สามารถให้สัตยาบันหรือรับรองรองได้โมฆียะ มีผลเป็นนิติกรรมแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ ร้อยเปอร์เซ็น ผมถึงเขียน เลข 50 เพื่อให้เข้าใจ สมบูรณ์ ก็คือ เมื่อโมฆียะกรรมนั้น ได้รับการรับรอง จากคน 3 คน แล้ว โมฆียะกรรรม จากที่เป็นนิติกรรม 50 ก็จะเป็น 100ทันทีกฎหมายแบ่งคนไว้ 3 กลุ่มที่จะสร้าง โมฆะ หรือ โมฆียะ 


 1. ผู้เยาว์ ผู้เยาว์คือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมือ่ไปสร้างนิติกรรมขึ้น เช่น เล่นบอลได้ มีเงิน ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ มา ผลจากการซื้อนั้น ยังไม่เป็นนิติกรรมสมบูรณ์ครับ คือเป็นแค่ โมฆียะ 50 % มันรออะไร รอ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจเป็น พ่อแม่ ในกรณีเด็กมีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอา อื่นๆ กรณีเด็กไม่มีพ่อแม่ ถือเป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรม กฎหมายรอให้คนเหล่านี้รับรู้ เมื่อเด็กซื้อรถมา ถ้าผู้แทนเห็นชอบด้วยก็ไปยืนยันหรือลงสัตยาบันกับร้านที่ขายรถนั้น เสีย นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นก็จะเป็นผลสมบูรณ์ทันที   ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมเห็นว่าไม่เหมาะสม ก็ไปยกเลิก หรือกฎหมายใช้คำว่าบอกล้าง จากที่เป็น โมฆียะ 50 % ก็จะกลายเป็น 0 ศูนย์ หรือ โมฆะ ทันทีเช่นกัน


2 บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ( ต้องศาลสั่งครับ ) คือคนกลุ่มนี้สติไม่ดีฟั่นเฟือนครองสติไม่ได้ ญาติไปร้องให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้ ศาลให้มี ผู้อนุบาลเพื่อคอยดูแลด้านนิติกรรมทั้งหมด คนไร้ความสามารถที่ศาลสั่ง เซ็นอะไรลงไปก็เป็นโมฆะ


3.ผู้เสมือนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้มีสติเหมือนคนปกติ แต่ร่างกายเขาไม่สมบูรณ์ เช่นคนตาบอด หูหนวก เรียกคนกลุ่มนี้ว่าเสมือนไร้ความสามารถ เพราะเขาไม่ได้ยิน อ่านหนังสือหรือมองไม่เห็น ศาลจึงให้มีผู้ดูแลคนกลุ่มนี้เรียกว่า ผู้พิทักษ์คน 3 กลุ่มนี้เท่านั้นที่จะสร้างนิติกรรม ตามมาตรา 149 ให้มีผลเป็น โมฆะ หรือโมฆียะ และ 3 กลุ่มนี้ก็จะมีผู้ดูแลอยู่ สามกลุ่มเรียกชื่อต่างกันตามที่กล่าวมาแล้ว ดูตัวบทและภาพประกอบก็จะเข้าใจครับ           เอาพอเข้าใจครับ



กบฎบวรเดช



กบฎบวรเดชที่สถานีรถไฟดอนเมือง

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดชได้ก่อกบฎขึ้นในราชอาณาจักรไทย นี่เป็น
ความพยายามที่จะนำระบอบราชาธิปไตยคืนกลับมาอีกครั้ง หลังจากมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อ 24 มิ.ย. 2475


คณะก่อการของพระองค์เจ้าบวรเดช เรียกชื่อตนเองว่า .....คณะกู้บ้านเมือง ....ได้ทำการเกลี้ยกล่อมนายทหารและพลเรือนให้เข้าร่วม มีกำลังทหารจากหลายหน่วยเข้าร่วมในครั้งนั้น อาทิ ทหารจากนครราชสีมา (โคราช) จากสระบุรี-จากอยุธยา -จากนครสวรรค์ จากราชบุรี-จากเพชรบุรี -จากอุบลราชธานี-จากอุดรธานี ทั้งหมดได้สนธิกองกำลังเข้าวางแผนที่จะให้รัฐบาลขณะนั้น ลาออก หรือไม่ก็ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของคณะกู้บ้านเมือง


จุดแรกที่กองกำลังคณะกู้บ้านเมืองคือ สถานีดอนเมือง (ว่ากันว่านี่คือจุดผิดพลาดของฝ่ายกบฎ) จากนั้นจึงส่งผู้แทนมาเจรจากับรัฐบาล แต่รัฐบาลปฏิเสธ โดยสิ้นเชิง

เมื่อแผนแรกล้มเหลวกองกำลังคณะกบฎจึงได้เคลื่อนเข้ามายึด พระนคร ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นคือ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้สั่งการให้ พันโทหลวงพิบูลสงคราม เป็นแม่ทัพหน้าคุมกำลังทหารออกปราบปรามกลุ่มกบฎ


การปะทะกันเกิดขึ้นที่บางเขน ยึดเยื้อ ตั้งแต่ วันที่ 12-16 ตุลาคม 2476 ในที่สุดฝ่ายกบฎแตกพ่ายไป พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะได้ขึ้นเครื่องบินหนีออกอินโดจีนของฝรั่งเศสขณะนั้น เสียงปืนจึงยุติลงในที่สุด

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ก.พ.ค. คืออะไร





ปวดหัว กลุ้มใจ เป็นทุกข์ ร้อง ก.พ.ค. (ไม่ได้ )



ก.พ.ค. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ถูกตั้งขึ้น ตาม พ.ร.บ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตามมาตรา 24 ของพ.ร.บ.นี้ ให้มี ก.พ.ค.จำนวน 7 คน

โดย ก.พ.ค. ทั้ง 7 คนถูกคัดเลือกมาจาก คณะกรรมการ คัดเลือก ก.พ.ค. ที่มีประธานศาลปกครอง สูงสุดเป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาอีก 1 คน กรรมการที่ ก.พ.คัดเลือกมาอีก 1 คนและให้เลขา ก.พ.เป็นเลขากรรมการชุดนี้ ทำหน้าที่คัดเลือก ก.พ.ค.จำนวน 7 คน และให้เลขา ก.พ.เป็นเลขา ก.พ.ค.
คุณสมบัติ พอสังเขป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี มีวาระ ดำรง ตำแหน่ง 6 ปี และเป็นได้วาระเดียว ก.พ.ค.ต้องทำงานเต็มเวลา


อำนาจหน้าที่ ก.พ.ค.



เสนอแนะต่อ ก.พ.หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นเพื่อให้ดำเนินการหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 114
พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ตามมาตรา 123
พิจารณาเรื่องคุ้มครองระบบคุณธรรม ตามมาตรา 126
ออกกฎ ก.พ.ค.ระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติการ ตาม พร.บ.นี้
แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัย อุทธรณ์ หรือ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์


แต่ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ต่างๆมีระเบียบขั้นตอน การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอีกหลายฉบับ ผู้ที่จะใช้สิทธิร้อง ต้องศึกษากฎหมายให้ถ่องแท้ชัดเจนเสียก่อน



อุดมการณ์คืออะไร


มุมมองเกี่ยวกับ อุดมการณ์ จากนักสร้างทฤษฎี



                                        


                 ‎อุดมการณ์ ( Ideology ) 

  • ถูกใช้ครั้งแรกโดย Antonie Louis Claude Destutt de Tracy
นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ในงานเขียนของเขา เมื่อ ค.ศ.1797

  • อุดมการณ์ หมายถึง ระบบค่านิยม ความเชื่อ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มบุคคลว่าเป็นเสมือนจริง หรือข้อเท็จจริง
  • ซิกมันด์ ฟรอยด์ ต้นตำรับ จิตวิเคราะห์ และบิดาแห่งวิชาจิตวิตทยา มองอุดมการณ์ว่าเป็นภาพลวงและภาพลวงตาเหล่านี้เกิดจากสภาวะบิดเบือน หรือถูกกดดันของความต้องการในทางจิตของมนุษย์นั่นเอง.
  • คาร์ล มาร์กซ์ นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน เจ้าของ ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ มองอุดมการณ์ว่าเป็นภาพหลอนทางการเมืองอย่างหนึ่ง ( False conseiousness ) ซึ่งสร้างขึ้นจากประสบการณ์ทางสังคม ของ ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง การที่บุคคลเป็นสมาชิกของชนชั้นใด จะส่งผลให้บุคคลนั้นๆได้ภาพของโลกที่มีมุมมองจากชนชั้นนั้นๆไปด้วย

  •  มาร์ก และ ฟรอยด์ มีทัศนะเรื่องอุดมการณ์คล้ายกัน คือเป็นเพียงภาพหลอนภาพลวงตาทำให้เราไม่สามารถเห็นภาพความจริงได้ แต่ทั้งสอง เสนอวิธีแก้ที่ต่างกัน
  • ฟรอยด์ เรียกอาการนี้ว่าเป็นสภาพของการป่วย ดังนั้นเขาจึงเสนอวิธีแก้สภาพป่วยนี้ด้วยวิธี จิตวิเคราะห์ ของเขา
  • มาร์กซ์ เสนอวิธีแก้ ภาพหลอนนี้ ด้วยการ ปฎิวัติ.




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง






มุมมองด้านการปกครองของผู้นำโลก




แม้รูปแบบการปกครองจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับคำว่าประชาธิปไตย แต่บรรดาผู้นำเหล่านี้ยังเรียกรูปแบบของตนเองว่าประชาธิปไตย



วลาดิเมียร์ เลนิน ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย กล่าวว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเท่านั้นที่จะสามารถให้ความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ระบบคอมมิวนิสต์เป็นประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพ.(Proletarian democracy)
อาดอร์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมัน ผู้ที่ศรัทธา ระบบ ฟาสซิสต์ (คลั่งชาติ) เรียกระบบเผด็จการนาซีของเขาว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริง (Real democracy)
เบนิโต้ มุสโสลินี ต้นตำรับระบอบ ฟาสซิสต์ จาก อิตาลี เรียกฟาสซิสต์ของเขาว่าเป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม (Authoritarian democracy)
ประเทศโซเวียต เรียกการปกครองของตนว่าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เรียกการปกครองของตะวันตกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบกระฎุมพี (แบบนายทุน) Bour geois)
จีนที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เรียกการปกครองของตนว่าเป็นประชาธิปไตยของประชาชน หรือ มหาชนาธิปไตย
อินโดนีเซีย โดยนายซูการ์โน บิดาแห่งอินโดนีเซียยุคใหม่ เรียกการปกครองของตนเองว่า ประชาธิปไตยแบบถูกนำ
ปากีสถาน โดยประธานาธิบดี อายุบข่าน Ayub khanเรียกการปกครองของตนว่า ประชาธิปไตยแบบเบสิค


ทัศนะของนักปราชญ์และนักวิชาการ


เฮนรี่ เมโย กล่าวว่า หลักการประชาธิปไตยในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลมาจาก

- จอห์น ล็อค
-จอห์น สจวร์ต มิลล์
-ฌัง ฌาคส์ รุสโซ
- อะเล็คซิส เดอ ทอคเกอวิลย์

หมายเหตุ** ทัศนะมุมมองของผู้นำที่เรียกระบบการปกครองของตน หาใช่ตามหลักวิชาการและหลักสากลไม่*


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


แผน ( Plan ) และบทบาทของ นักวางแผน






แผน ( Plan ) และบทบาทของ นักวางแผน


การวางแผน การกำหนดโครงสร้าง การบริหารจัดการ องค์กร ทั้งระดับ จุลภาค และ มหภาค เป็นหัวใจหลักของนักรัฐศาสตร์ และผู้ที่สนใจจะศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ต้องเข้าใจและเรียนรู้

แผน ( Plan ) หมายถึง วิธีการกระทำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
  • แผนงาน ( Program) หมายถึงกลุ่มของโครงการ หลายๆโครงการที่เกี่ยวข้องกัน 
  • โครงการ ( Project) หมายถึงกลุ่มของกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน โดยมีกำหนดเวลาเริ่มต้น และ สิ้นสุด 

กระบวนการวางแผนต้องประกอบด้วย


เก็บวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดปัญหา
กำหนดนิยามและรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา
กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา
ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา
การเขียนแผนงาน
การขออนุมัติแผนงาน
การเขียนโครงการ
การขออนุมัติโครงการ


การเขียนโครงการ ( Project ) มีขั้นตอนและหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ต้องมีหลัการและเหตุผล

2. ต้องมีวัตถุประสงค์

3. ต้องมีเป้าหมาย

4. ต้องมีวิธีการดำเนินงาน

5. ต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน

6. ต้องมีหรือแสดงตัวเลขงบประมาณที่จะใช้อย่างชัดเจน

7. ต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการ


ประเภทของการวางแผน จำแนกได้ 3 หัวข้อหลัก

1. จำแนกตามระบบเศรษฐกิจการเมือง แบ่งย่อยได้ดังนี้

  1. 1 การวางแผนแบบสั่งการ ( Directive Planning ) เป็นการวางแผนที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด และควบคุมการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากร ( วิธีการนี้ต้นแบบมาจากรัสเซีย ) 
     1.2 การวางแผนแบบชี้นำ (Indicative planning) เป็นการวางแผนที่รัฐบาลวางกรอบทิศทางการพัฒนา เพื่อชักนำให้เอกชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆดำเนินการ แบบนี้มาจากฝรั่งเศส


2. จำแนกตามหน้าที่


วางแผนส่วนรวม หรือมหภาค Macro planning เป็นการวางแผนโดยรวมทั้งประเทศเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนา เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นต้น
วางแผนรายสาขา Sectorial planning เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดจุดประสงค์เป้าหมาย นโยบาย แนวทาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา การวางแผนประชากร สิ่งแวดล้อมเป็นต้น
การวางแผนโครงการ Project planning เป็นการวางแผนในระดับจุลภาค Micro planning เป็นการวางแผนโครงการแต่ละสาขาของการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน


3. จำแนกตามระยะเวลา



วางแผนระยะยาว Long Term planning เป็นการประเมินแนวโน้มการพัฒนาระยะยาวของประเทศ
แผนระยะกลาง Intermidiate rang planning , มีระยะเวลาประมาณ 3-7 ปีโดยระบุจุดมุ่งหมายนโยบาย ทรัพยากร แนวทางพัฒนาต่างๆ
การวางแผนหมุนเวียน Rolling planning เป็นการวางแผนระยะปานกลางอีกรูปแบบหนึ่งที่จัดขึ้นทุกสิ้นปี หรือ มักจะเรียกแผนนี้ว่าแผนทบทวน คือเป็นการทบทวนแผนต่างๆที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว


แผนประจำปี เป็นการวางแผนเชิงปฏิบัติการ หรือเชิงควบคุม



ทั้งหมดนี้คือ กระบวนการของแผน และบทบาทของนักวางแผนจัดการ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่นำมาอธิบายพอสังเขปเพื่อให้ได้เห็นถึงแนวทางและเข้าใจในการบริหารจัดการของนักบริหารจัดการ ประเทศและองค์กร ซึ่งจะมีแบบแผนวางไว้อยู่ ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่อำนาจ ทั้งระดับองค์กรและระดับประเทศจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโดยรวม




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ (ศศบ. ร.บ. ) การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง