Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อริสโตเติล( ArisTotle)



อริสโตเติล ( Aristotle) 


อริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมือง สตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน (Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย

ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้นคือ เพลโต ใน กรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้นทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช

อริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิราชื่อไลเซียม (Lyceum) 


อ้างอิง >>> วิกิพิเดีย



ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย





  • อริสโตเติ้ลเป็นศิษย์เอกของเพลโต แม้จะเป็นศิษย์อาจารย์กัน แต่อริสโตเติลเป็นผู้ที่มีแนวทางแตกฉานชัดเจนกว่าอาจารย์และหลายอย่างสวนทางกับอาจารย์จนอาจารย์ของเขาอย่างเพลโต ต้องให้การยอมรับ 

  • อริสโตเติ้ล ถูกยอมรับให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ และอีกหลายสาขาวิชา อริสโตเติ้ล เป็นผู้บัญญัติ คำว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือมนุษย์เกิดมาอยู่เพียงลำพังไม่ได้แรกเกิดมาต้องมีผู้ดูแลเลี้ยงดูถึงจะมีชีวิตรอดและเติบโตมาได้เมื่อโตแล้วยังต้องการความรักความอบอุ่น ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้วัฒนธรรม อารยะธรรมต่างๆรวมถึงการทำมาหากินล้วนต้องพึ่งพากันและกันทั้งสิ้น 

  • อริสโตเติ้ล เชื่อว่า มนุษย์ในโลกนี้เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน บางคนตัวสูงบางคนตัวเตี้ย บางคนพิการ บางคนแข็งแรงกรำยำ บางคนสมองดีบางคนสมองไม่ดีเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ อริสโตเติ้ล เชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านั้นมีความเท่าเทียมกันได้คือ กฎหมาย อริสโตเติ้ลเชื่อในหลักกฎหมายมากกว่าตัวบุคคล ( Rule of law ) ต่างจากเพลโตผู้อาจารย์ที่เชื่อในหลักตัวบุคคล (Rule of men ) 
ธรรมชาติของคนและรัฐ
  • อริสโตเติลกล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการมีรัฐ มิได้เป็นเพียงเพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่เพื่อให้มีชีวิตที่ดี ให้พลเมืองได้พบปะซื้อขายแลกเปลี่ยน และการป้องกันภัย
  • อริสโตเติลกล่าวอีกว่า ถ้าการอยู่ร่วมกันเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ ทาสและสัตว์ก็ตั้งเมืองขึ้นได้ แต่ที่ทำไม่ได้คือหาความสุขร่วมกันไม่ได้ ไม่รู้จักรับไม่รู้จักให้ โดยอริสโตเติลยอมรับว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันด้าน สติปัญญา ร่างกาย และความแตกต่างเหล่านี้จะนำไปสู่ความแตกต่างของฐานะทางสังคมด้วย แต่เขาเชื่อว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นธรรมชาติเป็นผู้กำหนดมา สิ่งเหล่านั้นจึงไม่ใช่ความอยุติธรรมแต่อย่างใด
พลเมือง
  • ตามทัศนะของอริสโตเติล พลเมืองคือ ผู้ทรงสิทธิแห่งการมีส่วนร่วมในการปกครองของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ 
  • คุณสมบัติของพลเมืองคือ มีความสามารถที่พร้อมจะปกครอง และถูกปกครอง พวกแรงงานอาศัยสติปัญญาผู้อื่นในการดำรงชีพ เช่น ทาส ไม่ควรได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมือง
รัฐคือ
  • สถาบันที่ประกอบด้วยพลเมืองจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจให้ จัดระเบียบการบริหารรัฐกิจ และมีอำนาจสูงกว่าพลเมืองอื่น 
  • รัฐที่ดีคือ เป็นรัฐที่มีอาณาบริเวณไม่กว้าง หรือเล็กเกินไป โดยเขากล่าวว่า ถ้าใหญ่เกินไป จะกลายเป็น อาณาจักร ซึ่งจะเป็นอุปสรรค แก่การป้องกัน และบังคับใช้กฎหมาย 
  • แต่ถ้าเล็กเกินไป จะขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า ประโยชน์จากการที่มีรัฐไม่ใหญ่มากนักคือ ประชาชนในรัฐสามารถรู้จักกันได้ และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างทั่วถึง 
ครอบครัวที่อยู่ในรัฐ
  • อริสโตเติลบอกว่าอายุที่ควรแต่งงานคือ ผู้ชายอายุ 37 ปี ส่วนหญิง 18 ปี เขาให้เหตุผลว่า ผู้ชายในวัยนี้มีความพร้อมแล้วเกือบทุกอย่าง เช่น จบการศึกษาแล้ว มีหน้าที่การงานทำแล้ว มีวุฒิภาวะแล้ว เป็นวัยที่เหมาะสมแก่การสร้างครอบครัว ทำครอบครัวให้อบอุ่น สมบูรณ์ได้ 
ภูมิประเทศ
  • อริสโตเติลกล่าวว่า ภูมิประเทศที่ดี ต้องมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ การพาณิชย์ และควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขา มีทางติดต่อกับทะเล ซึ่งจะได้เป็นปราการป้องกันตนเองจากด่านธรรมชาตินี้ด้วย และสามารถทำให้สร้างกองทัพเรือได้ และยังเอื้อต่อการพาณิชย์ 
  • แต่ต้องจำกัดเรื่องสิทธิของพ่อค้าวาณิช ไม่ให้มีส่วนในกิจกรรมทางปกครองรัฐ 
เขากล่าวว่าสังคมใดก็ตามมีองค์ประกอบที่ควรเพ่งเล็งอยู่ 2 ประการ คือ
  1. คุณภาพ
  2.  ปริมาณ 
  • คุณภาพได้แก่ คณาธิปไตย ให้ความสำคัญแก่ชาติกำเนิด ฐานะทรัพย์สินและการศึกษา
  • ปริมาณ ได้แก่ ลักษณะของประชาธิปไตย คือให้คนจำนวนมากปกครอง ถ้ารูปการปกครองเป็นไปทางใดทางหนึ่งอย่างเดียว จะทำให้รัฐนั้นมีจุดหมายปลายทางที่ไม่ดี เช่น 
ถ้าเป็นคณาธิปไตย อย่างเดียวโอกาสจะเป็นของคนมั่งมีเท่านั้น ที่มีโอกาสปกครอง คนกลุ่มนี้ก็จะปกครองรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เพราะคนรวยไม่ชอบกฎข้อบังคับ รู้จักแต่การใช้อำนาจ บังคับจิตใจ ถูกครอบงำไปด้วยความคิดเกี่ยวกับทรัพย์ 
ตรงกันข้าม ถ้ารัฐนั้นกำหนดให้คนจนเป็นคนปกครองอย่างเดียว มีสิทธิปกครองแบบประชาธิปไตย ผลเสียก็คือ พวกนี้เต็มไปด้วยความริษยา ความร่ำรวยของคนส่วนน้อย และพร้อมที่จะเป็นพลังให้ นักการเมืองฉกฉวยโอกาส เข้ามาพร้อมกับต่างๆ เช่น การแบ่งปัน การกระจายทรัพย์สินภายในรัฐ ซึ่งสิ่งนี้อาจนำพาไปสู่การ ปฏิวัติ โดยพวกนักการเมืองจะผลักดันการปกครองเข้าสู่ การเป็น ทุชนาธิปไตย ( Tyranny) เขากล่าวว่า จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะรักษาเสถียรภาพของดุล แห่งคณาธิปไตยกับประชาธิปไตยให้คงอยู่ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป ทางใดทางหนึ่ง

รูปแบบการปกครอง 

  • รัฐที่ดีที่สุด แม้ว่าปราศจากความสมบูรณ์และคนนั้นก็อาจประพฤติดีที่สุดได้ แม้ว่าเขาอยู่ในรัฐที่เลว เขาย้ำว่าเครื่องมือที่จะใช้วัดความดี หรือความเลวคือ ความยุติธรรมของรัฐ 
  • อริสโตเติ้ลกล่าวว่ากฎหมายคือสิ่งที่จำเป็นและขาดเสียไม่ได้ในการอยู่ร่วมกัน และสิ่งที่ประเสริฐสุดในบรรยากาศของการเมืองคือความยุติธรรม ความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนเท่าเทียมกัน 
  • มนุษย์ เมื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ เป็นเลิศดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย และถ้าหากเขาถูกแยกออกจากกฎหมายและความยุติธรรม เขาก็จะกลายเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด 
  • ผู้ที่เป็นคนดีไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองที่ดีด้วย การเป็นพลเมือง ขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ ความดีของพลเมือง ไม่สามารถที่จะเป็นเช่นเดียวกับ ของคนดีได้ในทุกเรื่อง 
  • เขาเชื่อว่า รัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่มีชนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นสูงรูปแบบการปกครองที่เขานิยมเขาเรียกว่า มัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือประชาธิปไตยสายกลางโดยเอาข้อดีของคณาธิปไตย มาบวกกับข้อดีของประชาธิปไตยมารวมกันระหว่างคณาธิปไตย                   ( Oligarchy ) กับประชาธิปไตย ( Democracy ) Moderated Democracy 

ความยุติธรรม

  • อริสโตเติลกล่าวว่า สิ่งประเสริฐในบรรยาการการเมืองคือ ความยุติธรรม 

ความยุติธรรมเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 2 ประเภทคือ

  1. สิ่งที่กำหนดให้ 
  2. บุคคลซึ่งถูกกำหนดให้ 
  • ความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นเมื่อทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ได้รับสิ่งที่กำหนดให้ในแบบเดียวกัน 
  • ในทางกลับกัน สิ่งที่ไม่ถูกต้องและอยุติธรรม หากว่าคนสองคนมีคุณสมบัติเท่ากันเพียงประการเดียวแต่ได้รับส่วนแบ่งหรือสิ่งที่กำหนดให้ มากกว่าทุกๆสิ่ง 
  • ความยุติธรรมคือการแบ่งปันส่วน กล่าวคือมนุษย์อาจถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ต่างกันได้ แล้วแต่คุณค่าของแต่ละคน 
  • การที่คนหนึ่งเป็นผู้ปกครองเพราะเขามีคุณสมบัติของผู้ปกครอง แต่อีกคนเป็นช่างฝีมือไม่มีคุณสมบัติของผู้ปกครอง แต่มีความเชี่ยวชาญทางศิลปะ เหล่านี้ถือว่าไม่ใช่ความ อยุติธรรมแต่อย่างใด แต่เป็นความยุติธรรมในการจัดสรรปันส่วนอย่างหนึ่ง 


ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคทางกฎหมาย


  • ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติ โดยทัดเทียมกัน ถึงแม้มีฐานะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เสมอกัน กฎหมายทุกฉบับต้องบังคับต่อคนในสังคมทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ 
รัฐในอดมคติของอริสโตเติล
  • อริสโตเติลกล่าวว่า รัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่สร้างเสริม ให้ชีวิตที่ดีกับพลเมือง ความสุขของประชาชนในรัฐ คือความสุขของรัฐ 
  • รูปแบบการปกครองที่ดีคือ ทำให้ทุกคนในรัฐ ไม่ว่ายากดีมีจนอย่างไรก็ตามมีความสุข 
อริสโตเติ้ลกล่าวอีกว่าคนที่มีความสุขได้ต้องมีโอกาสเป็นเจ้าของสิ่งดี 3 อย่าง คือ
  1. สิ่งดีภายนอก หมายถึงการเป็นเจ้าของวัตถุ ( External goods) 
  2. สิ่งดีแห่งร่างกาย หมายถึงมีสุขภาพที่ดี ( goods of the body ) 
  3. สิ่งดีภายใน หมายถึงการรู้จุดหมายแห่งชีวิต ( goods of the soul ) 
ปรัชญาการศึกษา
  • อริสโตเติ้ลเสนอให้ทุกคนต้องได้รับการศึกษาและเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องจัดการศึกษาโดยมีจุดประสงค์สร้างพลเมืองที่ดีมีความรู้ 
ระยะแรกของการศึกษา
  • ต้องฝึกให้เด็กมีสุขภาพพลานามัยที่ดี เคยชินกับการเป็นผู้ที่มีนิสัยดี วิชาที่ควรนำมาศึกษาในระยะนี้คือ วรรณคดี การประพันธ์ จิตรกรรม และดนตรี 
  • อริสโตเติ้ลได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่าปกครองโดยคนหมู่มากแต่เขาระบุอีกว่าปกครองโดยคนจน โดยเขาเน้นทัศนะในเรื่องนี้ว่า 
  • เราไม่ควรเรียกนครรัฐที่มีคนรวยเพียง สามพันคนปกครองคนจน สามร้อยคนว่าเป็นรัฐประชาธิปไตย 
  • และการปกครองโดยคนจนแม้จำนวนน้อยต่อคนรวยจำนวนมากว่าเป็นคณาธิปไตย 

สรุปคือเขาให้ความสำคัญกับคนจนมากกว่าคนรวย โดยย้ำว่าแม้คนรวยจะมีมากกว่าคนจนปกครองรัฐนั้นก็ไม่ควรเรียกว่าประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้ามรัฐที่มีคนจนเพียงน้อยนิดแต่มีอำนาจปกครองรัฐก็ไม่ควรเรียกรัฐนั้นว่าเป็นคณาธิปไตย อริสโตเติ้ลยังเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์มหาราช กษัตริย์นักรบ แห่งมาซิโดเนีย อีกด้วย พระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์รบพุ่งไปค่อนโลกเมื่อรบชนะก็จะนำรัฐธรรมนูญปกครองของประเทศนั้นมาให้อาจารย์คืออริสโตเติ้ลได้ศึกษา มีมากถึง 158 ฉบับซึ่งทำให้อริสโตเติ้ลแบ่งแยกรูปแบบการปกครองในยุคนั้นได้อย่างชัดเจนที่สุด

ผลงานที่สร้างชื่อให้เขาคือหนังสือเรื่อง >> THE POLITICS ( การเมือง )
เปิดสำนักศึกษาชื่อ ไลเซียม ( Lyceum )

  • ข้อมูลจากหนังสือ The Politic ( การเมือง )




อริสโตเติลเป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา
อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์ดาราศาสตร์วิทยาเอ็มบริโอภูมิศาสตร์ธรณีวิทยาอุตุนิยมวิทยาฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์เศรษฐศาสตร์จริยศาสตร์การปกครองอภิปรัชญา,การเมืองจิตวิทยาวาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก 


กังวาล ทองเนตร เรียบเรียง ( รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง )

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)

                                                   โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes )

โธมัส ฮอบส์ (ค.ศ.1588-1679 )
  • ฮอบส์เป็นนักปรัชญาการเมืองของอังกฤษ ซึ่งแนวคิดของเขาส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดของกษัตริย์ในยุคนั้น ฮอบส์อยู่ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 แนวคิดของฮอบส์โด่งดังขึ้นมาจากผลงานเขียนของเขาในหนังสือชื่อ Leviathan
บริบทของฮอบส์
  • ฮอบส์เกิดในยุคที่สังคม ที่แตกแยก ระหว่างการปฏิรูปศาสนาและความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภา ( พระเจ้าชาร์ล ที่ 1 และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ) ซึ่งต่อมาฝ่ายสภาเป็นฝ่ายชนะ ส่วนพระเจ้าชาร์ลที่ 1ถูกประหารชีวิต 
ช่วงยุคเวลานั้นอังกฤษตกอยู่ภายใต้ปกครองโดยระบบจักรภพของ  ครอมเวลล์ แต่ก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะบุตรชายของครอมเวลล์ คือ ริชาร์ด ครอมเวลล์ ไม่สามารถรักษาระบอบนี้ไว้ได้ ทำให้ประเทศอังกฤษต้องกลับคืนไปสู่การปกครองแบบกษัตริย์อีกครั้ง โดยสถาปนาพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์ ในปี ค.ศ.1660

ชีวิตและผลงานของฮอบส์

ฮอบส์เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1588 ที่เมืองมาล์มเบอรี่ ( Malmesbury ) 
  • ฮอบส์เริ่มอาชีพ ด้วยการเป็นครูสอนหนังสือให้กับบุตรของ วิลเลี่ยม ดาเวนดิช
  • ผลงานครั้งแรกของฮอบส์คืองานแปลผลงานของ ธูซิดิดิส
  • ผลงานการเขียนด้านการเมือง เล่มแรกของเขาคือ องค์ประกอบของกฎหมาย
( The Element of Law ) ซึ่งเนื้อหาหนังสือเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายพระเจ้า ชาร์ล ที่ 1

  • ฮอบส์หนีภัยไปอยู่ที่ฝรั่งเศส 11 ปี เมื่ออายุ 87 ปีเขาได้แปลงานมหากาพย์ของกรีก คือ อีเลียด ( Iliad) และ Odyssey ของ HOMER จนเสร็จสมบูรณ์  และถึงแก่กรรมเมื่อ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1679 รวมอายุได้ 91 ปี

มุมมองของฮอบส์

ธรรมชาติของมนุษย์
  • ฮอบส์เชื่อว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาให้มีความเท่าเทียมกันทั้งร่างกายและจิตใจ
  • ฮอบส์มองว่าธรรมชาติอีกอย่างของมนุษย์คือ มีความต้องการตลอดเวลา โดยเขาเชื่อว่า ความต้องการนี้เป็นผลมาจากแรงผลักดันภายใน เขาสรุปว่าตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะมีความต้องการอยู่ร่ำไป
  • มนุษย์ต้องอาศัยอำนาจมาเป็นเครื่องมือ โดยฮอบส์ได้แยกอำนาจนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. อำนาจตามธรรมชาติ   ( Natural power ) เขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นความแข็งแรง ความรอบคอบ ศิลปะ วาทะศิลป์ ความโอบอ้อมอารี ความมีสง่า เป็นต้น
  2. อำนาจที่เป็นเครื่องมือ ( Instrumental power) เป็นอำนาจที่ได้มาจากการยอมรับของผู้อื่นและโชคชะตา
  • กฎธรรมชาติ ( Natural law ) หรือที่เขาเรียกว่ากฎหมายของธรรมชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น หากแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น
ฮอบส์กล่าวถึงกฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์ไว้ ดังนี้
  1. มนุษย์ถูกห้ามไม่ให้ทำอันตรายต่อชีวิตตนเอง เพราะมนุษย์จะทำทุกอย่างโดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวติตนเองให้อยู่รอดปลอดภัย สิ่งที่มนุษย์กลัวคือการสูญเสียชีวิต
  2. มนุษย์กำหนดให้แสวงหาสันติภาพ ตราบที่ยังมีความหวังจะได้สันติภาพ
  3. ทุกคนต้องมุ่งต่อสันติภาพเพื่อป้องกันตัวเอง
ฮอบส์ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ทะเลาะวิวาทหรือขัดแย้งกัน 3 ประการดังนี้
  1. การแข่งขัน จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความต้องการในสิ่งเดียวกันแต่ของสิ่งนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ
  2. ความกลัว หรือไม่มั่นใจในตัวเอง ( Diffidence ) ภาวะนี้ออบส์กล่าวว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาแล้ว แต่ยังกลัวว่าคนอื่นจะมาแย่งชิงเอาไป
  3. ความอยากได้อยากเด่น ( Glory ) เป็นความต้องการของมนุษย์ที่มีความอยากได้ อยากดี อยากเด่น อยากมีชื่อเสียง อยากมีเกียรติยศ อยากมีหน้ามีตาในหมู่มิตรสหายและสังคม
การก่อตั้งรัฐฐาธิปัตย์

ฮอบส์มองว่า การจะป้องกันคนทั้งหลายมิให้ถูกรุกรานจากภายนอก มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือก่อตั้งอำนาจร่วม ( Common power ) และยังเป็นการป้องกันคนทำอันตรายต่อกันด้วย

อำนาจร่วม ( Common power ) 

ตามความหมายของฮอบส์ กล่าวว่า เป็นการมอบอำนาจและกำลังคนทั้งหมดให้กับคนๆหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งเป็นการลดเจตจำนงของคนทั้งหลายโดยรวมเสียงที่หลากหลายของคนให้เข้าเป็น เจตจำนงเดียวกัน คือการแต่งตั้งคนๆหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งเพื่อมาแบกรับภาระของคนทั้งหลาย การกระทำเช่นนี้ ฮอบส์เรียกว่า จักรภพ ( commonwealth ) หรือภาษาลาตินเรียกว่า ซีวิตัส ( Civitas ) 
ฮอบส์ย้ำตรงนี้ว่า บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่คู่สัญญา หากแต่เป็นบุคคลที่ 3 ( Third party ) ดังนั้น

รัฐฐาธิปัตย์จึงมีอยู่ 2 สถานะคือ
  1. เป็นบุคคลคนธรรมดา ( Natural person )
  2. เป็นบุคคลสมมุติ           ( Artificial person )
การใช้อำนาจของรัฐฐาธิปัตย์

  • ฮอบส์บอกว่า ต้องครอบคลุมกิจการปกครองทั้งหมด โดยอำนาจของรัฐฐาธิปัตย์จะแบ่งแยกมิได้แต่เพื่อผลประโยชน์ในการควบคุมองค์อธิปัตย์จะมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้

การเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์

  • องค์อธิปัตย์ไม่ใช่คู่สัญญาจึงอยู่ในฐานะบุคคลที่ 3 อยู่นอกเหนือสัญญา การทำสัญญาเป็นเรื่องของประชาชนตกลงกันเอง องค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใดต้องรับผิดชอบต่อสัญญา 
  • ประชาชนไม่มีสิทธิหรืออำนาจใดๆที่จะเรียกเอาอำนาจคืนจากองค์อธิปัตย์มาเป็นของตนเองหรือมอบให้ใครได้อีก
  • การเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์ เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องไม่พึงกระทำ เพราะเมื่อทำลายองค์อธิปัตย์ ก็หมายถึงประชาชนจะกลับไปสู่ยุคสภาวะธรรมชาติที่จะเต็มไปด้วยอันตรายอีกครั้ง
ความยุติธรรม
  • ตามทัศนะของฮอบส์ ความยุติธรรม หรือไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีข้อตกลง หรือสัญญากันแล้วเท่านั้น โดยผลของการทำสัญญาประชาคม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอำนาจร่วม เมื่อมีอำนาจร่วมก็จะมีกฎหมาย
  • กฎหมายคือคำสั่งหรือเจตนารมณ์ขององค์อธิปัตย์นั่นเอง
 Thomas Hobbes


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ติดตามอ่านหนังสืออิเลคทรอนิส์ Leviathan ได้ที่ >>  http://www.barnesandnoble.com/sample/read/9781416573609

อ้างอิง >>> www.carloslmarco.com
            >>>  www.telegraph.co.uk
           >>>   en.wikipedia.org   

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กลุ่มโซฟิสต์คืออะไร


กลุ่มโซฟิสต์ ( Sophists)

กลุ่มโซฟิสต์ ( Sophists) เป็นกลุ่มนักปรัชญาการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในยุคกรีกตอนต้น ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบด้วยคนมีฐานะทางสังคมค่อนข้างดี กลุ่มนี้ประกอบอาชีพโดยการรับจ้างสอน ( ครู -ทนาย ) เป็นกลุ่มปรัชญาต่างชาติ อยู่ในยุคเดียวกับ โสเครตีส  มีผู้นำกลุ่มคนสำคัญๆได้แก่

  • โพรทากอร์ส ( Protagoras )
  • จอเจียส          (  Gorgias ) อาชีพเดิมเขาเป็นฑูต
  • โพรดิคูส          (  Prodicus)
  • ฮิปเปียส           ( Hippias )
  • ธราซิมาคัส      ( Trasymachus ) เป็นต้น
กลุ่มโซฟิสต์ ไม่ใช่ชนชาวกรีก หากแต่เป็นชาวต่างด้าว ที่เข้ามาอาศัยทำมาหากินในกรุงเอเธนส์ ซึ่งพวกชาตินิยมในกรีก จะไม่ไว้วางใจพวกโซฟิสต์มากนัก

หลักสำคัญที่กลุ่มโซฟิสต์ใช้ในการสอน

  • หลักการสอนของกลุ่มโซฟิสต์ คือ โซเฟีย ( Sophia ) หมายถึงความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความชำนาญ
  • กลุ่มโซฟิสต์ มีความเชื่อในลัทธิปัจเจกชนค่อนข้างสูง โดยพวกเขาเชื่อว่า คนเป็นเครื่องมือวัดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ความยุติธรรม
  • โซฟิสต์เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องของปัจเจกชนที่จะยึดถือสำหรับตน โดยธราสิมาคัสสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า หลักสำคัญของความยุติธรรมคือ ผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า
  • โซฟิสต์โจมตีกฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการปกครองนครรัฐกรีก ว่ามีความบิดเบือนไปจากธรรมชาติ ซึ่งพวกเขายกตัวอย่างว่า นครรัฐต่างๆของกรีกเองยังมีความแตกต่างกันทางกฎหมาย ซึ่งหาใช่กฎหมายที่แท้จริงของธรรมชาติไม่
  • กฎหมายที่มีอยู่อาจเป็นเพียง ข้อตกลงในระหว่างกลุ่มผู้ที่แข็งแรงกว่า เพื่อที่จะใช้กดขี่ผู้ที่อ่อนแอกว่า
  • อำนาจคือสิ่งที่สร้างความชอบธรรม ดังนั้นกฎหมายซึ่งมีรากฐานมาจากอำนาจ จึงเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับผู้ที่แข็งแรงเท่านั้น โซฟิสต์แนะนำให้คนหันไปหาธรรมชาติ
ความรู้

  • กลุ่มโซฟิสต์มองว่า มีความเป็นอัตนัย ขึ้นอยู่กับปัจเจกชน จะคิด จะตีความ ( พูดง่ายๆก็คือแล้วแต่มึงจะคิด ) จะเห็นได้ชัดเจนว่าคำสอนของกลุ่มโซฟิสต์ ขัดแย้งกับคำสอนของ โสเครตีสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งโสเครตีส สอนให้คนแสวงหาความจริง ความจริงคืออะไร และโสเครตีสมองว่า ความรู้เป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นแบบ ปรนัย หมายถึงความจริงมีหนึ่งเดียว และมีอยู่แล้ว ไม่ใช่การตีความตามใจตัวเอง แบบโซฟิสต์

  • แนวคิดของนักปรัชญาของพวกกลุ่มนี้ ไม่เหมือนแนวคิดพวกกรีกโบราณที่เน้นไปในแนวทางของพวกสสารนิยม ที่เน้นศึกษาธรรมชาติ แม้ว่าแนวคิดของสองกลุ่มนี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสสารนิยมและจิตนิยมแต่ก็โน้มเอียงไปทางจิตนิยม โดยพวกโซฟิสท์มองว่า แนวความคิดเป็นเหตุให้คนเรากระทำสิ่งต่างๆ โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งมโนภาพหรือจินตนาการของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่เองโดยปราศจากมนุษย์ คือไม่เชื่อความจริงในวัตถุนั้นเอง ในขณะที่พวกกลุ่ม สตออิก มองว่า ความรู้ได้มาด้วยผัสสะ และความรู้สึกทางผัสสะ (Sense Impression) ก็สร้างความจริงขึ้นมา โดยพวกเขามองว่า วิญญาณ (Soul) เป็นที่ตั้ง แห่งกระบวนการทางความรู้สึกโดยทั่วไป และให้คำสอนตาม เฮราคริตุส ที่ว่าไฟเป็นธาตุแท้ดั้งเดิมที่สุด ทำให้พวกนี้มองว่า ธรรมชาติเป็นสสาร เป็นเอกภาพที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
  • โดยสรุปแล้วกลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มปรัชญาต่างชาติที่สอนแนวทางความรู้ของกลุ่มตนที่ผิดแผกแหวกแนวไปกว่า ความรู้ดั้งเดิมของกรีกโบราณ หรือแม้แต่โสเครตีสเอง ซึ่งกลุ่มชาวกรีกที่มีลักษณะเป็นชาตินิยมจะไม่ยอมรับคำสอนของ กลุ่มโซฟิสต์ ซึ่งโดยทั่วไปมองว่า กลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มที่ให้ความมืดดำทางปัญญาแก่ชาวกรีก เป็นกลุ่มคนที่สอนให้คนละทิ้งคุณธรรม และให้คนหันไปใช้สำบัดสำนวน อวดอ้างโวหาร แข่งกัน สอนให้คนตีสองหน้ากะล่อน ปลิ้นปล้อน กลุ่มโซฟิสต์จึงถูกมองว่าเป็นกลุ่มนำความมืดทางปัญญามาสู่กรีก แต่ก็มีชาวกรีกไม่น้อยที่ศรัทธาในคำสอนของโซฟิสต์

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


บล็อกเพื่อนบ้าน >>> Patvc74 >>> Tontawanpundow