Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

วุฒิสภาในประเทศต้นแบบประชาธิปไตย

 



  •  ในประเทศที่เป็นแม่แบบหรือต้นแบบประชาธิปไตย วุฒิสภาของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร ผมจะให้ข้อมูล พอสังขป เพื่อให้เปรียบเทียบ เริ่มจาก
1.อังกฤษ จะมีสภาสูงที่ไม่เรียกว่าวุฒิสภาแต่เรียกว่าสภาขุนนาง House of Lord มีสมาชิกจำนวน 1200 คน 
มาจากการสืบเชื้อสายและเป็นสมาชิกสภาติดต่อกันจนกว่าจะตาย และให้ทายาทสืบต่อได้อีก แต่หากประสงค์จะลงเล่นการเมืองก็ให้สละ ตำแหน่งนี้ทิ้งไป หมายถึงถ้าสละแล้วการสืบเชื้อสายจะหมดสิทธิทันที ดังนั้นพวกที่มาจากสืบเชื้อสายจึงไม่มายุ่งเกี่ยวการเมืองเพื่อรักษาสถานภาพฐานันดรขุนนางของตนเองไว้
สมาชิกอีกส่วนมาจากตัวแทนปรระเทศในเครือต่างๆทั้งเวลล์ สก๊อต (ไปหาอ่านที่มาได้ผมเขียนไว้หลายเว็บหลายที่ )
แต่โดยหลักการแล้วสภาขุนนางนี้จะไม่ทำงานหรือแทบจะไม่มีการเปิดประชุม ออกความเห็นทางการเมืองใดๆเลย จนได้รับฉายาว่าเป็นสภาที่มีสภาชิกมากที่สุดและขี้เกียจที่สุด
2. อเมริกา จะมีวุฒิสภา เรียกชื่อว่า สภาซีเนท Senate เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ที่ระบุให้วุฒิสภา เป็นตัวแทนแห่งรัฐ โดยมีตัวเลขสมาชิกสภาตายตัว คือรัฐละ 2 คน ไม่อิงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง อเมริกามี 50 รัฐ วุฒิสภาเป็นตัวแทนแต่ละรัฐจึงมีรวม 100 คน มีอำนาจอนุมัติสนธิสัญญา และให้ความเห็นกรณีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งเจ้าหน้า บุคคลต่างๆและกลั่นกรองกฎหมาย

3.ฝรั่งเศส วุฒิสภาฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จากตัวแทนสภาท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยงานทางปกครองท้องถิ่น คือถ้า อธิบายแบบไทยๆก็คือ ตัวแทนสภา อบต.อบจ.เทศบาล รวมถึงตัวแทนข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่น ทั้งหมด 150,000คนเป็นคนเลือกวุฒิสภา
  • ผมมองว่านี่เป็นความฉลาดของคนออกกฎ รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส เพราะเขาให้ท้องถิ่นเป็นนายวุฒิสภา แน่นอนว่าเวลามีกฎหมายที่กระทบท้องถิ่น วุฒิสภาพวกนี้จะโดดเข้ามาปกป้อง หรือกรณีที่ท้องถิ่นได้ประโยชน์ วุฒิสภาเหล่านี้ก็จะรีบฉวยประโยชน์ให้ท้องถิ่นเช่นกัน
คือเป็นการบริหารการเมืองที่ลงตัวและน่าทึ่งที่สุดตามทัศนะผม คือ มีวุฒิสภาก็ได้ แต่มาจากท้องถิ่นเลือกนะ เพื่อจะให้วุฒิสภาทำงานสนองตอบต่อท้องถิ่นที่เลือกตัวเองมาเป็นวุฒิสภา

นี่คือต้นแบบประชาธิไตยทั้ง 3 รูปแบบว่ามีวุฒิสภากันอย่างไร

  • ส่วนที่ไทย เดิมที่เดียวตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1-2 ประเทศไทยใช้ระบบสภาเดี่ยว คือไม่มีวุฒิสภา จนมารัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 (2489 ) หรือว่ากันว่าเป็นฉบับปรีดี เกิดสภาที่สองขึ้นมา เรียกชื่อว่า พฤฒสภา (ผมมิได้พิมพ์ผิดนะ ) อ่านว่า พึด-สะ-พาพฤฒสภานี้มาจาก 2 ทางคือการเลือกตั้งทางอ้อม และแบบลับ หมายถึงให้ส.ส.ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดนึง ชื่อว่าองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ให้คณะนี้เลือกผู้ที่จะเข้ามเป็นสมาชิก พฤฒสภา
ต่อมาเกิดรัฐประหาร โดยจอมพลผินและประกาศใช้รัฐธรรมนูฐฉบับ ที่ 4หรือฉบับ 2490 ฉายาใต้ตุ่ม มีการเปลี่ยนชื่อจาก พฤฒสภา มาเป็นวุฒิสภาจนวันนี้ และใช้ระบบ 2 สภาเรื่อยมา

กังวาล ทองเตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง





วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

ราชวงศ์ใดครองราชนานที่สุดและน้อยที่สุด



สมัยสุโขทัย 



  • ราชวงศ์พระร่วงคือราชวงศ์แรกของไทย มีกษัตริย์ 9 พระองค์ ปกครอง เวลา 120 ปี


1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ 30 ปี 

2. พ่อขุนบาลเมือง ครองราชย์ 1 ปี 

3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 19 ปี 

4. พระยาเลอไท 25 ปี 

5. พระยางั่วนำถม 24 ปี 

6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไท ) 21 ปี 

7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 ( ลือไท ) 31 ปี (เริ่มปกครองภายใต้สมัยอยุธยา )

8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท ) 19 ปี 

9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล ) 19 ปี 

  • ครองราชย์ จาก พ.ศ. 1792- พ.ศ. 1981 รวม 120 ปี และเหลื่อมทับกับสมัยอยุธยา อยู่ 69  ปี


สมัยอยุธยา เริ่มจาก 


  • ราชวงศ์ อู่ทอง ปกครอง 2 สมัย สมัยที่ 1 ปกครอง 20 ปี จาก พ.ศ.1893-1913 มีกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ

1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) ครองราชย์ 20 ปี 

2. สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่1 ไม่ถึง ปี ก็โดน ชิงอำนาจ เปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ 


  • ราชวงศ์สุพรรณภูมิเข้าปกครอง 2 ครั้งครั้งแรก 18 ปี มีกษัตริย์ปกครองในครั้งแรก 2พระองค์คือ

1. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว ) ครองราชย์ 18 ปี 

2. สมเด็จพระเจ้าทองลั่น (เจ้าทองจันท์ ) ครองราชย์ 7 วัน 


  • สมัยที่ 1 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ปกครอง 18 ปี จาก พ.ศ. 1913-1931 แล้วถูกราชวงศ์อู่ทองชิงอำนาจกลับมาอีกครั้ง

ราชวงศ์อู่ทอง สมัยที่ 2 ครองราชย์ 21 ปี จาก พ.ศ.1931-1938 มีกษัตริย์ 2 องค์ คือ


1. สมเด็จพระราเมศวร สมัยที่ 2 ครองราชย์ 7 ปี 

2. สมเด็จพระราม ราชาธิราช ครองราชย์ 14 ปี 


  • รวมราชวงศ์อู่ทองครองราชย์ 2 ครั้ง 41 ปี มีกษัตริย์ 3 องค์  โดยสมเด็จพระราเมศวรครองราช 2 สมัย สมัยแรกไม่ถึงปี และ 7 ปีในสมัยที่ 2 และสิ้นสุดราชวงศ์ ***


ราชวงศ์ สุพรรณภูมิ สมัยที่ 2 กลับมาใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ครั้งที่2 ครองราชย์ 160 ปี 


1.สมเด็จพระอินราชาธิราช ( พระนครินทราธิราช ) ครองราชย์ 15 ปี 

2. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา ) - 24 ปี 

3.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ - 40 ปี 

4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 - 3 ปี 

5.สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 (พระเชษฐาธิราช ) - 38 ปี 

6.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร ) - 4 ปี 

7. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร -- 4 เดือน 

8. สมเด็จพระไชยราชาธิราช - 13 ปี 

9. สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า ) - 2 ปี 

10.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ - 20 ปี 

11. สมเด็จพระมหินทราธิราช - 1 ปี ( เสียกรุงครั้งที่ 1) 


  • *** ราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครอง 2 สมัย รวม 178 ปี เสียกรุงครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ***


ราชวงศ์สุโขทัย ปกครอง 61 ปี มีกษัตริย์ 7 พระองค์ดังนี้ 


1.พระมหาธรรมราชาธิราช ครองราชย์ 21 ปี 

2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( กู้กรุงครั้งที่ 1 ) 15 ปี 

3. สมเด็จพระเอกาทศรถ 5 ปี 

4.สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ไม่ถึงปี 

5. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 17 ปี 

6. สมเด็จพระเชษฐาธิราช 1 ปี 

7. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ 36 (วัน ) 


  • *** ราชวงศ์สุโขทัยปกครองจาก พ.ศ. 2112-2172 รวม 61 ปี สิ้นสุดราชวงศ์ ***


ราชวงศ์ปราสาททอง ปกครอง 58 ปี มีกษัตริย์ 4 พระองค์ 

1. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ 27 ปี 

2. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย 2 (วัน ) 

3. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา 3 ( เดือน ) 

4. สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช 32 ปี 

  • ** ราชวงศ์ปราสาททองครองราชย์ จาก พ.ศ.2172-2231 รวม 58 ปี สิ้นสุดราชวงศ์ **


ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ปกครอง 79 ปี มีกษัตริย์ 6 พระองค์ดังนี้ 

1. สมเด็จพระเพทราชา ครองราชย์ 15 ปี ( องค์นี้มีการจัดการปกครองในสมัยพระองค์ด้วย จะนำมาเล่าให้ทราบโอกาสต่อไป ) 

2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ครองราชย์ 5 ปี 

3.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ( พระเจ้าท้ายสระ ) 24 ปี 

4 . สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 26 ปี 

5. สมเด็จพระเจ้า อุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด ) 2 (เดือน ) 

6. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์ ) 9 ปี ( เสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ 2310 ) 

  • ** ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ปกครองจาก พ.ศ. 2231- พ.ศ.2310 สิ้นสุดราชวงศ์ **


สมัยกรุงธนบุรี ไม่มีชื่อราชวงศ์ 


1. พระเจ้าตากสินมหาราช (กู้ชาติ ครั้งที่ 2 ) ปกครองจาก พ.ศ.2310- 2325 รวม 15 ปี 



สมัยรัตนโกสินทร์ จาก 2325- ปัจจุบัน 


1.พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครองราชย์ 27 ปี 

2.พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย - 15 ปี 

3. พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 ปี 

4.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 18 ปี 

5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - 42 ปี 

6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว - 15 ปี 

7. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 9 ปี 

8. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล - 12 ปี 

9. พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จาก พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน 

10.พระบาทสมเด็จพระมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • นับถึงแค่ปี พ.ศ.2563 ครองราช 238 ปี

  • ** หมายเหตุุ ทั้งหมดนี้ยังไม่นับ ราชวงศ์ มังราย และราชวงศ์ ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน ) ของล้านนา **



กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง




ราชวงศ์ที่ครองราชนานที่สุด

 



ราชวงศ์ไทยราชวงศ์ใดที่ครองราชย์ได้ยาวนานที่สุด


  • นับแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา
ราชวงศ์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดและไล่ลงไปจากมากสุดหาน้อยสุดดังนี้

  1. ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงส์ที่ครองราชยาวนานที่สุด จากปี พ.ศ.2325 นับถึงปัจจุบัน 2563 รวม238 ปี
  2. ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักสุโขทัย เป็นอันดับ 2 จาก พ.ศ.1792-1981 รวม 189 ปี 
  3. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 178ปี ปกครอง 2ครั้ง ครั้งแรกปกครอง 18 ปี คือจาก พ.ศ.1913-1931 แล้วถูกโค่นล้มโดยราชวงศ์ อู่ทอง จากนั้นกลับมาชิงอำนาจคืน จากราชวงศ์อู่ทอง และปกครองยาวนานถึง 160 ปี จาก พ.ศ.1952-2112 รวมสองสมัยเป็น 178 ปี
  4. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 79 ปี จากปี พ.ศ.2231-2310 ปี
  5. ราชวงศ์สุโขทัย ปกครอง 61 ปี จากปี พ.ศ.2112-2172 มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  6. ราชวศ์ปราสาททอง ปกครอง 58 ปี จาก พ.ศ.2172-2231 มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  7. ราชวงศ์อู่ทอง ปกครอง สองครั้ง ครั้งแรก 20ปี จาก พ.ศ.1893-1913มีกษัตริย์ 2 พระองค์ และสมัยที่สอง ปกครอง 21 ปี จากปี พ.ศ.1931-1952 สิริรวม 41 ปี
  8. สมัยกรุงธนบุรี (ไม่มีชื่อราชวงศ์) ปกครอง 15ปี จาก พ.ศ.2310-2325 สิ้นสุดราชวงศ์
ราชวงศ์ที่มีกษัตริย์จำนวนมากที่สุดตามลำดับมากไปน้อยได้แก่

  1. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ทั้งสิ้น 13พระองค์
  2. ราชวงศ์จักรี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น นับถึงปัจจุบัน (2563 ) 10พระองค์
  3. ราชวงศ์พระร่วง มีทั้งสิ้น 9 พระองค์
  4. ราชวงศ์สุโขทัยมีทั้งสิ้น 7 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวงมีทั้งสิ้น 6 พระองค์
  6. ราชวงศ์ปราสาททองมีทั้งสิ้น 4 พระองค์
  7. ราชวงศ์อู่ทอง มีทั้งสิ้น 3 พระองค์
  8. สมัยกรุงธนบุรี มี 1 พระองค์
ส่วนราชวงศ์ที่ปกครองสั้นที่สุด คือสมัยธนบุรี (ไม่มีชื่อราชวงศ์ )โดยพระเจ้าตากสินมหาราช ปกครองจาก 2310-2325 รวม 15 ปี

กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง




วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ที่มารัฐธรรมนูญไทย20ฉบับ

 





นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร ตราบจนปัจจุบัน กันยายน พ.ศ.2563 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยผมได้จำแนกแยกย่อยที่มาของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ออกให้เห็นทั้งหมด ดังนี้


มาจาก ส.ส.ร. หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6ฉบับดังนี้



1. แม้จะยังไม่เรียกว่า ส.ส.ร คือใช้คำว่า กรรมการยกร่าง มี9คนก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่2ใช้แทนฉบับที่1ของคณะราษฎร

2. ส.ส.ร.ชุดที่2
ซึ่งครั้งนี้เรียกชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก จำนวน40คน มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่5เพื่อใช้แทนฉบับที่4 (2490,ใต้ตุ่ม)

3. ส.ส.ร.ชุดที่3
 จำนวน240คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่8เพื่อใช้แทนฉบับที่7(2502)ที่มาจากยึดอำนาจโดยสฤษดิ์

4.ส.ส.ร.ชุดที่4
จำนวน99คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่16(2540)

5. ส.ส.ร.ชุดที่5 
แต่งตั้งโดย คมช.จำนวน100คนมาร่างฉบับที่18

6. ส.ส.ร.ชุดที่6
แต่งตั้งโดย คสช.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่20 (ฉบับปัจจุบัน)



รัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มี 6 ฉบับ

  • ฉบับที่ 2ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
  • ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  • ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  • ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  • ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • ฉบับที่ 20รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


มาจากวิธีการอื่นๆ 4 ฉบับดังนี้

  • มาจาก ส.ส.หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภา อนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับ ที่ 3
ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (สมัยนี้ ผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท )

  • มาจากสมัชชาแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการยกร่าง 24 คน ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีและสภาอนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับคือฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

  • มาจาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ตั้งกรรมการยกร่างและอนุมัติ 2ฉบับคือ
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534



มาจากคณะยึดอำนาจและคณะรัฐประหารโดยตรง และคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ฉบับดังนี้
  • ฉบับที่ 1พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาจากคณะราษฎร
  • ฉบับที่ 4 (ใต้ตุ่ม )รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2490มาจากคณะรัฐประหารนำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ (บิดาพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ )
  • ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 มาจากจอมพล ป.(นายกฯ ) เสนอให้สภาอนุมัติ
  • ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาจากคณะยึดอำนาจที่ใช้ชื่อว่า คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
  • ฉบับที่ 9 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาจาก คณะปฏิวัติโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
  • ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มาจากคณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้
  • ฉบับที่ 12รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มาจากการยึดอำนาจซ้ำ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
  • ฉบับที่ 14 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
  • ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2549 มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง (คมช.) นำโดย พล.อ สนธิ บุญยรัตกลิน
  • ฉบับที่ 19รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ

เรากำลังจะเดินไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ชุดที่7 เพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่21เพื่อจะได้ฉีกทิ้งเพื่อที่จะได้ตั้ง ส.ส.ร ชุดที่8+++++ไปอีกจนเมื่อไหร่
นี่คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญConstitutionalism.แข่งกันร่างแข่งกันฉีกอยู่ร่ำไปอย่างนั้นหรือ ???


กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง






วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

เลือกหุ้น Laggard อย่างไรให้มีกำไร



หุ้นแลกการ์ดคืออะไร

นักลงทุนหลายคนมักจะได้ยินว่า เวลาตลาดผันผวน (หมายถึงเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงอย่างรวดเร็วในวันเดียว ไม่มีทิศทางชัดเจน ) ให้หาหุ้นแลกการ็ดเล่น (Laggard) 
ปัญหาคือ หลายคนไม่เข้าใจคำว่า แลกการ์ด คือไปตีความตาม ความหมายในภาษาอังกฤษ ผลลัพธ์ก็มักผิด


เพราะถ้าตีความตามภาษาก็คือ ช้า ล้าหลัง เต่า ประมาณนั้น
ก็ลองคิดเอง ถ้าคุณเล่นหุ้นทุนก็น้อย อยากปั้นพอร์ทลงทุนให้โต คุณจะใส่ทุนเข้าไปในหุ้นเต่า ช้าล้าหลังทำไม


ดังนั้นภาษาหุ้นหลายๆคำไม่ได้แปลแบบตรงๆตามภาษา เช่น
upside ,sentiment อะไรเทือกนี้ มันไม่ได้หมายความว่า หุ้นกลับหัว หรือหุ้นมีความรู้สึก 


หุ้นบ้าอะไรกลับหัว กลับหัวก็เอาขาชี้ฟ้านะสิ นั่นเจ๊ง
หรือหุ้นมีความรู้สึก หมายถึงแค่สัมผัสเธอก็เคลิ้ม อย่างนั้นหรือ ไม่ใช่นะครับ ศัพท์บางคำใช้เฉพาะกลุ่มรู้เฉพาะกลุ่ม คล้ายศัพท์การเมือง อำมาตย์ ที่ความหมายมากกว่าอำมาตย์ ปลาวาฬ ที่ไม่ใช่ปลาวาฬ อาจเป็นปลาบึกก็ได้ คือรู้กันในกลุ่ม
พอขยายหลุดรอดออกมานอกวง คนเลยตีความผิดไปจากเดิม


  • กรณีจะยกคำว่า แลกการ์ดมาอธิบายพอให้เข้าใจ
  • คำว่า Laggard ในความหมายนักลงทุนคือ หุ้นที่ มีผลประกอบการออกมาดี แต่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองกับตลาด 


เช่น หุ้น A ในคิว 3 มี มาจิ้น 30% มีกำไรสุทธิ หมื่นล้าน อัตราการเติบโต 15% (สมมุตินะ )


  • แต่ราคาหุ้นอยู่ที่ 1.50 บาท หรือกี่บาทชั่งแม่งมัน แต่มันไม่ไป ซึ่งมันน่าจะวิ่งไปตามกำไรหมื่นล้าน อาจจะ 3-5 บาท แต่มันไม่ไป คือไม่ตอบสนอง กำไร 


หุ้นแบบนี้มีนักวิเคราะห์หลายคนมองว่า มันมีโอกาสที่จะไป เมื่อราคาไม่ไปก็เก็บไว้ คือเก็บ 1.50/หุ้น เพราะคาดว่ามันจะไป 3-5 บาท/หุ้นก็รวยไป นี่คือความหมายที่ใช้กันส่วนใหญ่ในตลาด


  • แต่คนที่ไม่เข้าใจไปตีความผิดคือ Laggard คือหุ้นที่ตลาดเขียวแม่งก็ไม่เขียว แดงมึงก็ไม่แดง จับเอาแค่นี้โดยไม่สนผลประกอบการ เลยตีความเองว่า ชัวร์กูเจอแล้วหุ้น Laggard ขายไร่ขายนาซื้อแม่งโลด สุดท้าย เจ๊งเพราะถือ 10 ปีแม่งก็ไม่ขยับราคา แถมปันผลก็ไม่ได้อีก ก็จอด


ดังนั้นคำว่า Laggard จึงหมายถึงหุ้นที่มีคุณสมบัติตามที่ผมยกมาแต่ข้างต้น แต่ผมจะเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อกรองให้ละเอียด คือ ดูตัวเลข เหล่านี้ประกอบด้วยคือค่าของ


  • P/E
  • ROA
  • ROE
  • DEB
  • EPS
  • %YIELD

  • ค่าพวกนี้มันสำคัญเพราะมันจะบอกว่าหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพง คำว่าถูกแพงคนไม่เคยเล่นหุ้นจะไม่เข้าใจ ถูกแพงไม่ได้ดูที่ราคาหุ้นเป็นหลัก แต่ดูตัวเลขเหล่านี้ประกอบกัน อาทิ หุ้น ราคา 0.50 บาท ถ้าเราคิดแบบตาเห็นคือถูกมาก แต่พอเราไปดูพีอี สูง ถึง500 เท่า ในขณะที่ ยิลด์กับ อีพีเอส ต่ำ อย่างนี้คือแพงมหาศาล ซื้อไปก็เจ๊ง




  • ตรงกันข้ามมีหุ้นอีกตัวราคา 400บาท แต่พีอี 7 เท่า พีบีวี2.5แต่ยีลด์ 11.80% อีพีเอส 20% หุ้นตัวนี้ ราคาถูก เพราะซื้อแล้วมีอนาคตมีผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ (เป็นตัวเลขสมมุติให้เห็นภาพ )


  • ดังนั้น Laggard ถ้าเติมตัวเลขที่ผมเพิ่มเข้าด้วยหรืออย่างแย่ก็เพิ่ม ยีลดืเข้าไป ให้ยีลด์สัก 5% ก็พอแล้ว ถือได้ หวังว่าจะไม่งง นี่ล่ะหุ้นไม่ยากและก็ไม่ง่าย แต่ไม่ใช่ที่ที่ใคร เดินถือเงินพร้อมกับหัวโล่งๆ เข้าไปแล้วรวยอย่างแน่นอน


คำฝากจากคนลงทุน

หุ้นคือมายาภาพ ที่ถูกสร้าง
กระดานหุ้นคือมายาภาพที่ถูกสร้าง
หุ้นมีขึ้นลง
หุ้นก็ถูกสร้างให้ขึ้นลงได้เช่นกัน

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนอะไรเลยมีความเสี่ยงกว่า
ควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจและไม่ประมาท