Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เตรียมให้พร้อมก่อนเรียนราม



เรียนรามได้มากกว่าที่คิด

สวัสดีครับ เพื่อนพ้องน้องพี่ ที่กำลังตัดสินใจจะเข้าเป็น ลูกสาว ลูกชาย คนใหม่ของพ่อขุน ในฐานะรุ่นพี่
ขอแนะนำน้องๆให้ทำความเข้าใจ ศัพท์แสงต่างๆ ในรั้วพ่อขุนของเรา และรายละเอียดต่างๆให้เข้าใจดังนี้ครับ

การเรียนที่รามคำแหง จะมีนักศึกษาอยู่ 2 ประเภทครับ


  1. นักศึกษาภาคปกติ หมายถึงนักศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.6 ) มาแล้ว
  2. นักศึกษา Pre-Degree หรือ Non-Degree หมายถึงนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับ ม.ปลายมา แต่ สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 มาแล้ว
ทั้งสองประเภทนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


  • นักศึกษาทั้ง 2 ประเภท ได้เรียนในห้องเรียน และมีสิทธิในการลงทะเบียนเรียน-สอบ-สอบซ่อม เก็บสะสมคะแนน ( หน่วยกิต )เหมือนกันทุกอย่าง

ข้อแตกต่างคือ

  • นักศึกษา ปกติ จะได้รับการชำระค่าหน่วยการเรียนหรือหน่วยกิตที่ถูกกว่า คือ หน่วยกิตละ 25 บาทและเมื่อสอบได้ครบกระบวนวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร จะได้เข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตร

  • นักศึกษา ปรีดีกรี ( Pre-Degree ) จะจ่ายค่าหน่วยกิตที่แพงกว่า คือ 50 บาท/หน่วยกิต 
  • เนื่องจากระบบปรีดีกรีนี้ ทาง ม.รามได้เปิดหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้โอกาส กับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับ ม.ต้น ได้มีสิทธิในการเข้าเรียนก่อนจบการศึกษาระดับ ม.ปลาย

  • กล่าวคือ เมื่อจบ ม.3 แล้ว สามารถนำวุฒิ ม.3 ไปสมัครเรียนรามได้ ในระบบ ปรีดีกรีนี้ สามรถลงทะเบียนเรียนได้เหมือนนักศึกษาภาคปกติทุกอย่าง และสะสมหน่วยการเรียนที่สอบผ่านไปแล้วไว้ได้ ควบคู่กับการเรียน ม.6 ไปด้วย ( เรียน 2 ทาง ) คือเรียน ม.6 ควบคู่กับเรียน ป.ตรี ที่รามไปพร้อมกัน

  • วิธีนี้จะทำให้น้องๆที่เข้าเรียนระบบนี้จบการศึกษาได้เร็วกว่า และรับปริญญาบัตรได้เร็วกว่า คนที่ต้องรอให้จบ ม.6 ก่อน

  • ต่อเมื่อนักศึกษา ได้สำเร็จการศึกษาในระดับ มัธยมปีที่ 6  ( ม.6 ) แล้ว ให้นักศึกษา ไปลาออกจากระบบ ปรีดีกรี และนำวุฒิ ม.6 ไปสมัครใหม่เพื่อเป็นนักศึกษาภาคปกติ

  • ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ภายในวันเดียวกัน คือเมื่อ น้องๆได้วุฒิ ม.6 มาแล้วหรือสำเนารับรองการจบการศึกษา ที่มีวัน เดือนปี ถูกต้อง ให้น้องๆไปลาออก ที่อาคาร ส.ว.ป.ชั้น 2 ( ให้ไปลาออกในช่วงที่ ม.ราม กำลังเปิดรับนักศึกษาใหม่ ) เช่น ม.รามรับนักศึกษาใหม่ในช่วง วันที่ 3-6 พฤศจิกายน ก็ให้น้องเตรียมเอกสารในการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ให้พร้อม
  • จากนั้นไปลาออกจาก ปรีดีกรี ที่อาคาร ส.ว.ป.ชั้น2 และนำเอกสารการลาออกจากนักศึกษาปรีดีกรีนี้ ไปเป็นเอกสารยืนยันการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ในวันนั้นเลย
น้องๆก็จะได้เป็นนักศึกษารามภาคปกติเต็มตัว และเสียค่าหน่วยกิตที่ปกติตามเดิมคือ 25 บาท/หน่วย

  • ส่วนหน่วยการเรียนที่น้องสะสมมาได้ตั้งแต่เรียน ปรีดีกรี ก็ให้นำไปโอนเข้าไปสู่ภาคปกติ ได้ทั้งหมด เช่นน้องเรียนสะสมหน่วยกิตมาได้ 120หน่วยกิต ก่อนลาออก และสมัครเรียนเข้า ม.6 ก็นำไปเทียบโอนในวันสมัครนี้เลย หรือ หลังจากสมัครก็ได้ ทั้ง 120หน่วยกิตที่น้องสอบผ่านได้ เสียค่าเทียบโอน หน่วยกิตละ 50 บาทเท่าที่เราเรียนมาตอนเป็นปรีดีกรี

  • เมื่อน้องเทียบโอนเสร็จ เกรด ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ และน้องสามารถลงทะเบียนเรียนต่อในกระบวนวิชาที่เหลือได้เลย เช่น นิติศาสตร์ จบที่ 144 หน่วยกิต 
ตอนเรียนปรีดีกรี น้องสอบได้แล้ว 120 หน่วยกิต เหลืออีก 24 หน่วยกิต น้องสามารถลงทะเบียนเรียนทั้งหมด 24 หน่วยกิต และกาหัวว่าขอจบการศึกษาได้เลย

  • นี่คือประโยชน์ของปรีดีกรี ที่น้องสามารถจบได้ก่อน ถ้าน้องเรียนเก่งมีความตั้งใจน้องสามารถ จบได้ในเวลา 2 ปีครึ่ง โดยลงทะเบียนเรียนภาคปกติ 4 ภาค และภาคฤดูร้อน 2 ภาค ก็จบแล้ว ใน 2 ปีครึ่ง โดยที่น้องยังไม่จบ ม.6 ด้วยซ้ำ น้องก้รอจบ ม.6 แล้วไปลาออกจากปรีดีกรี สมัครใหม่เป็นภาคปกติเทียบโอน ก็เข้ารับปริญญาได้เลย 

  • ในขณะที่เพื่อนน้องไม่ได้เรียก็เพิ่งจะไปหาที่เรียนส่วน้องอายุ 18 เท่ากันรับ ป.ตรี แล้ว แลำกำลังเข้าทำงาน หรือกำลังเรียน ป.โท เห็นหรือยังว่า ระบบนี้เป็นการเปิดโอกาสอย่างมหาศาลที่เราต้องรีบคว้า งานมันมีน้อย จบก่อนทำงานก่อน เรียนโทก่อน ก้าวหน้ากว่ากันเยอะครับ

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. ใบสมัครและใบขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ( ม.ร.2 )กรอกชื่อ ติดรูปให้เรียบร้อย รูปถ่ายขนาด 2นิ้วเท่านั้น ทากาวและติดที่กรอบ
  2. ใบสำเนาวุฒิการศึกษา 2 ฉบับ ( ม.6 สำหรับภาคปกติ ม.3 สำหรับปรีดีกรี )
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อ สกุล ผู้สมัคร 2 ฉบับ
  4. สำเนาบัตรประชาชน 3 ฉบับ
  5. ใบรับรองแพทย์ 1ฉบับ  (ไปรับที่รามได้ )
  6. แบบฟอร์มขอเปิดบัญชีธนาคารทหารไทย (เพื่อน้องจะได้ใช้บัตร ธนาคารเป็นทั้งบัตรนักศึกษาและบัตร เอทีเอ็ม เปิดบัญชี 100 บาท
  7. คู่มือแนะนำการกรอกและให้ใช้ดินสอ 2บี ขึ้นไประบาย ระเบียนประวัตินี้ให้ครบและถูกต้อง ( ม.ร.25 )และแผ่นสีเขียวที่มาพร้อม ชุดใบสมัครที่น้องซื้อตอนแรก ( ถ้าน้องไปสมัครที่รามจะมีรุ่นพีคอยแนะนำตามจุดต่างๆสามารถถามพี่เราได้
  8. ใบสมัครสมาชิกข่าวราม  (เพื่อเป็นช่องทางแจ้งข่าวการเรียนการสอนการสอบในแต่ละภาคการศึกษาให้น้องได้รับรู้ )
  • หมายเหตุ ตอนซื้อใบสมัคร ให้น้องบอกเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สมัครแบบปรีดีกรี หรือ ภาคปกติ เพราะใบสมัครจะเป็นคนละแบบกัน อย่าลืมนะครับ

ศัพท์แสงที่น้องควรเรียนรู้


เช่น PS110  M0830-1110 BNB801 M20 OCT.2013 B หรือ A

ความหมายคือ

  •  PS เป็นรหัสวิชา ของคณะรัฐศาสตร์ 110 คือชั้นปีนักศึกษา ปี 1และเป็นระหัสวิชาใช้ลงทะเบียนเรียน PS110 ชื่อวิชาคือ การเมืองการปกครองไทย เป็นต้น

  • M0830-1110  หมายถึง เรียนในวันจันทร์ ( M=Monday ) เวลาเรียน 08:30-11:10 น.
  • BNB801  หมายถึง อาคารเรียน  BNB  ( BangNa Build  ) 801 คือห้องเรียน ของอาคารเรียนนี้ อยู่ที่รามฯ2
  • M20 OCT.2013B  หมายถึงวันสอบของวิชานี้ คือถ้าน้องเลือกลงทะเบียนเรียนวิชานี้ น้องจะสอบในวันจันทร์ ที่ 20 เดือนตุลาคม 2013 ส่วนB สอบคาบบ่าย Aหมายถึงสอบคาบเช้า ส่วนเวลาที่ชัดเจนทางรามจะแจ้งในตารางสอบส่วนบุคคลอีกครั้งก่อนสอบ 1 สัปดาห์ น้องต้องไปรับตารางสอบนะครับเพราะจะระบุเวลา ที่นั่งสอบเลขที่สอบในนั้นซึ่งเราต้องใช้กรอกในใบคำตอบของเรา

รวมความทั้งหมดมีดังนี้

วิชา PS110 เรียนเวลา 8.30-11.10 น.ที่ห้อง 801 อาคาร BNBและสอบในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2013 คาบบ่าย

  • ถ้าน้องเจอในตัวอื่นๆ ก็เหมือนกันครับจำแบบนี้ไปได้เลย เปลี่ยนเฉพาะ รหัสวิชา เวลาเรียนเวลาสอบ คาบเช้าหรือบ่ายเท่านั้นเอง
  • เมื่อน้องรู้อย่างนี้ก็จะจัดการบริหารเวลาของตัวเองได้ว่า วิชาไหน เรียน วันเวลาไหน สอบเวลาไหน
  • ก็ทำให้เราเลือกลงทะเบียนไม่ซ้ำกันกับที่สอบอยู่ ม.6 หรือลงซ้ำกับวิชาอื่น

  • ปกติถ้าน้องลงทะเบียนเรียนถูกจะไม่สอบเวลาตรงกันหรือใกล้กันครับ
  • ดังนั้นน้องต้องลงทะเบียนให้ถูกต้องในคู่มือ ตามสาขาและคณะที่น้องเลือกเรียน

  • และนักศึกษา ปี 1 ต้องลงทะเบียนเรียนในรหัส 1 ขึ้นต้นเท่านั้นครับ เทอมแรกกับเทอม 2 จะเป็นการเรียนปูพื้นฐานวิชาทั่วไปของแทบทุกคณะมาเรียนในปี1 ดูคู่มือให้เข้าใจครับ

  • ปี 1.ต้องเรียนที่รามฯ2 เท่านั้นครับ จำไว้เลย รามฯ2 คือบ้านหลังแรกของเราลูกพ่อขุนทุกคน ที่นี่บรรยากาศดีเหมาะแก่การเรียนไม่วุ่นวายเหมือนราม ฯ1
ส่วนเวลาสอบจะสอบทั้งราม 1และราม 2

อาคารเรียนที่รามฯ2 จะมีดังนี้ครับ 
  • BNB 1-11 ( BNB มี 11 อาคาร )
  •  KTB (อาคารคนที)
  • PBB ( อาคารพระบาง)
  • PRB ทั้งหมดนี้อยู่ที่ราม 2 ครับ

นอกเหนือจากนี้ราม 1 ทั้งหมด

  • เช่น ส.ว.ป. อาคารนี้น้องต้องจำเพราะเราจะใชบ่อยติดต่อ เช็คเกรด สมัคร ลาออก ทุกอย่างอยู่ที่อาคารนี้
VPB,KLB,VKB,SBB PMB,ROB,RTB,SCBSCO,SK,SSB,STB,SWB,TB,TCB,ฯลฯ พวกนี้อยู่รามฯ1 ทั้งหมด

  • พอน้องลงทะเบียนเรียนในวิชาพื้นฐาน รหัส 1 ผ่านหมด น้องก็จะลงทะเบียนเรียน รหัส 2 เช่น PA220 พวกนี้เรียกว่า รหัส 2 เป็นของนักศึกษาปี 2 ใช้ลงทะเบียนเรียน รหัส 3 รหัส 4 ไปเรื่อยจนจบหลักสูตร
  • อย่าลงทะเบียนข้ามคณะนอกหลักสูตรนะครับ ดูว่าเราสมัครลงคณะอะไร สาขาอะไร เพราะแต่ละคณะจะมีสาขาแตกออกไปน้องต้องตัดสินใจให้ดีให้เหมาะกับเรา
  • ส่วนน้องนักศึกษาปรีดีกรี จะยังไม่มีรหัสคณะครับ รหัสจะเป็น 0 แต่ให้เราเลือกลงกระบวนวิชาที่เป็นโครงสร้างของสายนั้นทั้งหมด

เช่นเราเลือกเรียน คณะรัฐศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์ ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ภาควิชาหรือ 3แผน ( Plan) การเรียน

  • แผน A คือ ภาควิชาการปกครอง รหัสวิชาเรียนบังคับของเราคือ PS แผนนี้จบไปก็ไปสอบสายปกครองครับเริ่มจาก ปลัดอำเภอแผนนี้เป็นแผนใหญ่หนักไปทาง การจัดรูปออกแบบโครงสร้างการปกครอง ทฤษฎีการปกครอง เป็นหลักเลย ยากสุดในสายรัฐศาสตร์ ถ้าไหวเรียนเลยครับ ถ้าไม่ไหวเลือกแผนอื่นจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง ข้อสอบสายนี้ เป็นอัตนัย มากโดยเฉพาะวิชาแกน วิชาบังคับเป็นอัตนัยครับ
  • แผน B คือ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พวกนี้จบไปก็ไปสอบทางการฑูตครับ รหัส PSเช่นกันแต่เนื้อหาหนักไปทางการฑูตครับ แผนนี้เรียนแล้วจะเก่งภาษาครับ
  • แผน C คือ การบริหารรัฐกิจ รหัส PAสายนี้เมื่อจบ ส่วนใหญ่ถ้าทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามบริษัทห้างร้านก็จะเป็นนักรัฐศาสตร์สายนี้ครับ เพราะเขาเรียนการจัดรูปองค์กร การบริหารงานส่วนบุคคลเป็นหลัก 

  • ส่วนใหญ่น้องๆที่สมัครรัฐศาสตร์ใหม่ๆมักเลือกแผน A แต่พอถึงปี 2 ย้ายไปแผน C กันหมดเพราะเริ่มเจอข้อสอบอัตนัย ตัวแรกเลยที่น้องจะเจอคือ การปกครองส่วนภูมิภาค PS205 วิชานี้รับน้อง แผน A เป็นด่านแรกเลย สู้นะครับคนอื่นจบได้เราก็จบได้
  • เมื่อเราเลือกคณะและเลือกสายแล้วก็ให้เลือกวิชาในกระบวนโครงสร้างของสายนั้นๆให้ถูกต้องลงทะเบียนครับ
คณะที่เปิดสอนที่ ม.ราม

  1. คณะนิติศาสตร์  รหัสประจำคณะ 0100
  2. คณะบริหารธุรกิจ เปิดสอน 10 สาขา  รหัส 02...
  3. คณะมนุษยศาตร์  เปิดสอน 12 สาขาภาควิชา รหัสคณะ 03..
  4. คณะศึกษาศาสตร์   21 สาขา จิตวิทยา 5 สาขา และสาขาวิชาภูมิศาสตร์อีก 3สาขาวิชา ทั้งหมดรวมอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ รหัสคณะ 04..
  5. คณะวิทยาศาสตร์  เปิดสอน 14 สาขาวิชา รหัสคณะ 05..
  6. คณะรัฐศาสตร์  เปิดสอน 3 สาขา (แผน A,B,C ) รหัสคณะ 0601 ทั้ง 3 แผน และเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกแผนคือ สาขาบริหารงานยุติธรรม รหัสสาขา 0602
  7. คณะเศรษฐศาสตร์  รหัสคณะ 0700 ทุกสาขา
  8. เทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อสารบูรณาการ รหัสสาขาวิชา 5406 และสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รหัสสาขา 5407
  9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดสอน 4 สาขา คือ นาฎศิลป์ไทย/ดนตรีไทย/ดนตรีไทยสมัยนิยม วิชาเอกลูกกรุง/ดนตรีไทยสมัยนิยม วิชาเอก ลูกทุ่ง รหัสสาขา 55..
  10. Pre-Degree เรียนก่อนที่จะจบ ม.6 เพื่อเก็บสะสมหน่วยกิต และนำไปเทียบโอนเมื่อจบ ม.6 ตามที่ได้อธิบายไปแล้วแต่ข้างต้น ยังไม่มีรหัสคณะ ใช้ 9000 เหมือนกันทั้งหมด จนกว่าจะจบ ม.6 และลาออกจากปรีดีกรี และสมัครใหม่เป็นนักศึกษาภาคปกติ ตามคณะที่เราเลือกเรียนไว้แล้วตอนปรีดีกรี ก็จะ บ่งเลขคณะ เป็นไปตามนั้น เช่นตอนปรีดีกรี เลือกเรียนรัฐศาสตร์ เมื่อจบ ม.6 และลาออกจากปรีดีกรีแล้วนำวุฒิ ม.6 มาสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เข้าคณะรัฐศาสตร์เหมือนที่เรียนปรีดีกรี เลขรหัสคณะก็จะเป็น 0601 หรือ 0602 ตามที่เราเลือกไว้แล้วสมัยเรียนปรีดีกรี


ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเมื่อแรกสมัครเรียน ปริญญาตรี มีดังนี้
    1. ค่าลงทะเบียนเรียนเป็นรายหน่วยกิตๆละ                      25 บาท หนึ่งภาคเรียนลงได้ 24 หน่วยกิต ก็ใช้ 24 x 25 =... หรือเราจะลงทะเบียนเรียนน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่จบช้าครับ พี่ก้องแนะนำรีบเรียนรีบจบ อย่าอยู่รอเป็นปู่-ย่า ที่รามเลยครับ
    2. ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา                                            160  บาท
    3. ค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นนักศึกษา                              500  บาท
    4. ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา                                           300  บาท
    5. ค่าสมาชิกหนังสือพิมพ์ข่าวราม/ภาคเรียน                   100 บาท
    6. ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย                                                      300 บาท
    7. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต จาก ม.ราม                  50 บาททุกกรณี
                    ค่าเทียบโอนอนุปริญญาจากสถาบันอื่น หน่วยกิตละ  100 บาท

  • รวมเบ็ดเสร็จ สำหรับผู้ลงทะเบียนเต็ม  24 หน่วยกิต  จ่ายทั้งหมด   1,960 บาท
  • ที่เหลือลดหลั่นไปตามที่น้องลงทะเบียนเรียนว่ากี่หน่วยกิต
  • ยกเว้นปรีดีกรี ตัวคูณต้องเป็น 50 บาทนะครับ เพราะน้องได้โอกาสเรียนก่อนเขาจบก่อนเขา

ส่วนการเรียนที่ราม

  • เรามีห้องเรียนใหญ่โตโอ่อ่า ทั้งประจำคณะและเรียนรวม มีจอวงจรปิดถ่ายทอดไปทุกอาคารทุกห้องเรียนขณะที่อาจารย์บรรยาย
  • มีห้องสมุดให้ค้นคว้า ทันสมัย
  • มีศูนย์ปฎิการคอมพิวเตอร์ เรียนหนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่อง
  • มีเรียนทาง Electronics เลือกเวลาเรียนและเวลาสอบด้วยตัวเราเอง
  • มีอาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา
  • มีเรียน รด.
  • มีห้องทดลองและปฏิบัติการที่ทันสมัย
  • เพราะรามเราคือมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา ที่คนเรียนสามารถเลือกหาได้ตามความถนัดของตนเอง เรามีทุกอย่างที่มหาวิทยาลัยปิดมี
  • และเรามีอีกหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยปิดไม่มี
  • เรียนวันจันทร์ถึงศุกร์ ( ปกติ)
  • มีบรรยากาศความเป็นพี่น้องที่แสนอบอุ่น
  • มีกลุ่มกิจกรรมให้น้องเลือกได้มากมายตามชอบ
  • มีตำราเรียนที่แสนถูก
  • ค่าเรียนที่แสนถูก
  • มีกองทุนให้กู้ยืม
  • มีระบบให้ยืมเทปบรรยายที่เราไม่ได้เข้าเรียนไปเปิดดูที่บ้านได้ด้วย
  • ไม่มีคุณภาพจริงไม่มีสิทธิ์สวมครุยวิทยฐานะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ถ้าคุณแน่ใจมีความมุ่งมั่น รามคำแหงให้โอกาสคุณทุกคนทุกเพศ ทุกวัย พิสูจน์ตัวเอง

  • พี่น้องของเราออกไปรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพทั้งหน่วยงานทางปกครองของรัฐ ศาล และหน่วยงานเอกชน ภายใต้คำขวัญ เปลวเทียนให้แสงรามคำแหงให้ทาง

ขอให้น้องโชคดีและประสบความสำเร็จทุกคน

กังวาล ทองเนตร ( พี่ก้อง ) รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คอมพิวเตอร์-กราฟฟิคดีไซน์-มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การอ่านเวลาแบบฝรั่ง




คำศัพท์สำคัญที่ใช้เกี่ยวกับเวลา

  1. Morning                         (มอร์นิ่ง )              หมายถึง    เวลาเช้า
  2. Before noon                   ( บีฟอร์นูน )              "            ก่อนเที่ยง
  3. noon                                ( นูน )                        "             เวลาเที่ยง
  4. afternoon                        ( อัฟเทอะนูน )          "            เวลาบ่าย
  5. evening                           ( อีฟนิ่ง )                   "            เวลาเย็น
  6. night                                ( ไนท์ )                      "            เวลาค่ำ/กลางคืน
  7. hour                                 ( อาวร์ )                     "            ชั่วโมง
  8. minute                              ( มินิท )                     "            นาที
  9. second                              ( เซคคั่น )                 "           วินาที
  10. quarter                              ( ควอเทอะ )             "          15 นาที
  11. half                                    ( ฮาล์ฟ )                  "           30 นาที / ครึ่ง
  12. half an hour          ( ฮาล์ฟ แอนด์ อาวร์ )         "            ครึ่งชั่วโมง
  13. half past                    ( ฮาล์ฟ พาสท์   )             "           ผ่านครึ่งชั่วโมง
  14. Time                                   ( ไทม์ )                    "           เวลา
  15. O'clock                               ( โอคลอค )             "            น. (นาฬิกา )
  16. after                                       ( อัฟเทอะ )          "            ผ่าน/หลัง ความหมายเดียวกับ past   

  • a.m. ( เอ เอ็ม ) ย่อมาจากคำเต็มคือ ante meridiem   ( แอนทิ มิริดเดียม )
  •  หมายถึงช่วงเวลาก่อน เที่ยง เป็นต้นไป
  • p.m. ( พี เอ็ม ) ย่อมาจากคำเต็มคือ  post meridiem    ( โพสท์ มิริดเดียม ) 
  • หมายถึงช่วงเวลา หลังเที่ยงเป็นต้นไป



ตัวอย่างการอ่านเวลารูปที่ 1
It's seven o'clock  ( 7.00 น. )
( อิท เซเวน โอคลอค ) = เวลา 7 นาฬิกา ]





It' s a quarter  after seven.  
( อิท อะ ควอร์เตอร์ อัฟเทอะเซเวน) 7.15 น.
หรือ It's seven fifteen.


It's twenty minute after seven 

( อิท ทเวนตี้ มินิท อัฟเทอะ เซเวน  ) 7.20 น



It's half seven. ( อิท ฮาล์ฟ เซเวน ) 7.30 น
หรือ It's seven thirty
หมายถึงผ่าน 7 โมงไปแล้วครึ่งชั่วโมง


It's twenty-five minute to eight  

(อิท ทเวนตี้-ไฟว์ มินิท ทู เอท ) = อีก 25 นาที จะถึง 8 โมง


  • ข้อสังเกตคือ เมื่อเข็มยาวหรือเข็มนาที อยู่ในฝั่งด้านขวาของหน้าปัทม์นาฬิกา 
  • คือจาก 12-6 เราจะใช้ คำว่า after หรือ  past
  • แต่เมื่อเข็มนาทีผ่านเลข 6 ไป เราจะใช้คำว่า   to ( ทู ) = ถึง
  • และจะอ่านเวลาส่วนที่เหลือ ว่าเหลือเท่าไหร่จะถึง ชั่วโมงต่อไป

                                                         

It's a quarter to eight  

( อิท อะ ควอร์เตอร์ ทู เอท ) อีก 15 นาทีจะถึง 8 โมง

หรือ It's fifteen minute to eight




It's a quarter after eight 

(อิท อะควอร์เทอะ อัฟเทอะ เอท ) 8.15

  • ข้อสังเกตุ เมื่อเข็มนาที มาถึงเลข 3 ซึ่งเป็นตำแหน่ง 1 ส่วน 4 ของ 60 นาที หรือ 15 นาที
  • จะใช้คำว่า ควอร์เทอะ และตามหลังด้วย อัฟเทอะ เสมอ
  • เมื่อเข็มยาวถึงเลข 6 ซึ่งเป็น เศษ 1 ส่วน 2 ของ 60 นาที ใช้คำว่า ฮาล์ฟ half
  • เมื่อเข็มยาว ไปถึงเลข 9 ก็จะใช้ คำว่า ควอร์เทอะอีก quarter แต่ตามด้วย ทู ( to) 


  • จำไว้ครับ ซ้าย ทู ( to)
  • ขวาใช้ พาส ( past )
เมื่อเข้าใจแล้ว

ลองฝึกดูเวลา กับรูปภาพที่เหลือครับ










































กังวาล ทองเนตร

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีก๊อปปี้ภาพวางลงในซีเลคชั่นอย่างง่าย


รูปที่1

การก๊อปปี้ภาพลงในซีเลคชั่น เพื่อสร้างความแปลกใหม่หลีกหนีความจำเจให้กับภาพเราทำได้ง่ายๆตามขั้นตอนที่จะอธิบายดังนี้


ขั้นตอนที่ 1

เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop CS3 เป็นอย่างน้อย (โปรแกรม PS)

ขั้นตอนที่ 2

เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการจะนำไปวางในซีเลคชั่นขึ้นมาก่อน ตามรูปที่ 1

ขั้นตอนที่3

กดคีย์ Ctrl + A จะเห็น ซีเลคชั่นขึ้นมาที่วินโดว์ภาพ

ขั้นตอนที่ 4

กดคีย์ Ctrl +C  ( ปล่อยค้างขั้นตอนนี้เอาไว้ ) ห้ามทำอะไรกับไฟล์ภาพแรก

รูปที่2

ขั้นตอนที่5

เปิดไฟล์ภาพ เฟรม ที่เราสร้างไว้ หรือเตรียมไว้ขึ้นมา ตามรูปที่ 2

ขั้นตอนที่ 6 

สร้างซีเลคชั่นลงที่บริเวณที่เราต้องการนำภาพลงมาวาง ลงในเฟรม ตามรูป ที่ 3 จะเห็นซีเลคชั่นขึ้นมาตามรูป

รูปที่3

ขั้นตอนที่ 7

คลิกเลือกชุดคำสั่ง Edit >Paste Into เพื่อวางภาพลงไปในซีเลคชั่นที่เราเลือกเอาไว้ จะได้ภาพตามรูปที่ 4

รูปที่4

เสร็จขั้นตอน
 ปรับโหมดสีให้เลเยอร์



ปรับสี ปรับอารมณ์ให้กับภาพตามต้องการ
หรือจะเลือกภาพอื่นๆมาทำเฟรมได้ตามใจชอบ
หรือเราจะสร้างขึ้นมาเองได้ทั้งหมดโดยใช้โปรแกรม PSนี้ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง







  • เฉพาะ เวิร์คช็อปนี้ ปกติผมสอน เวิร์คช็อปละ 500 ต่อคน ใช้เวลาในการสอนไม่เกิน 20นาที ก็ทำได้แล้ว
  • ใครทำไม่ได้ในเวลานี้ก้ถือว่าล้มเหลว ส่วนการปรับแต่งหรือการสร้างเฟรมเพื่อมาใช้งาน ก็ต้องเรียนรู้กันต่อไป



  • **คนที่รักในงานโฟโตช็อป จะต้องเป็นคนที่รักในการสะสมภาพต่างๆที่เรามองดูแล้วน่าจะนำมาใช้ดัดแปลงในงานของเราได้ ต้องมีจินตนาการด้วย ***

กังวาล  ทองเนตร