ทฤษฎีดินแดนหัวใจ
ทฤษฎีดินแดนหัวใจ เป็นหนึ่งในทฤษฏี ภูมิรัฐศาสตร์ ( Geopolitics ) ซึ่งมีด้วยกัน 3 ทฤษฎีคือ
- ทฤษฎีดินแดนหัวใจ ( Heartland Theory) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ส่วนกลางของอาณาบริเวณยุโรปกับเอเชีย เรียกว่า Eurasian Land mass บริเวณนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะพื้นที่ไม่ติดทะเลทำให้ศักยภาพทางทะเลของมหาอำนาจทางทะเลไม่อาจรุกล้ำเข้าไปได้ บริเวณดังกล่าวได้แก่ ประเทศเยอรมนี กับ ไซบีเรียกลาง เป็นต้น
- ทฤษฎีบริเวณขอบนอก ( Rimland Theory) ซึ่งแม็คคินเดอร์ได้เขียนบทความไว้ในปี 1904 กล่าวว่า บริเวณขอบนอกของยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเซียใต้ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของอเมริกา
- ทฤษฎีอำนาจทางทะเล ( Sea Power) ถือว่าอำนาจทางทะเล สำคัญต่อการเป็นมหาอำนาจของโลก ผู้ริเริ่มทฤษฎีนี้ พลเรือเอก Alfred Thayer Mahan
Alfred Thayer Mahan 1840-1914
ภูมิรัฐศาสตร์ ( Geopolitics )
- ผู้ริเริ่มวิชาภูมิรัฐศาสตร์ เป็นคนแรกคือ รูดอล์ฟ เชลเลน ชาวสวีเดน ( Kjellen )
- ต่อมานักภูมิศาสตร์ การเมือง ชาวอังกฤษชื่อ แฮลฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1816-1947 เป็นผู้นำมาพัฒนาต่อยอด
- มีการมองว่า รัฐ-ชาติเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือหรือยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลแต่ละคน และมีการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้ที่จะเป็นฝ่ายชนะจะต้องมี อำนาจในการควบคุม อาณาบริเวณหรือพื้นที่ ของโลก
- ตามแนวคิดเชิงภูมิรัฐศาสตร์ การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ กฎ ( Laws) ซึ่งได้มาจากการศึกษาภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ และนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนทางทหารด้วย
- มีนักวิชาการบางคน ตั้งฉายาให้ ภูมิรัฐศาสตร์ว่า เป็นเสมือน บุตรทางปัญญานอกกฎหมายของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองกับรัฐศาสตร์
- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ >>> http://en.wikipedia.org/wiki/The_Geographical_Pivot_of_History
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
หั ว ใ จ ติ ด ร ะ เ บิ ด เ ว ล า ..บึ ม บึ ม
ตอบลบขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับคุณคิม
ลบตอนนี้กำลังจะรบกันแล้ว
ลบ