Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สร้างรันเวย์3-4กระทบใครบ้าง


 ภาพการประชุมที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์อินคำ

จากการที่บริษัทท่าอากาศยานไทย ( ทอท. )ได้สร้างสนามบินสุวรรณภูมิตามมติ ครม.เมื่อวันที่7พฤษภาคม 2534 ในเฟส 1-2และมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ.2543
แต่การก่อสร้างจริงแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

โดยมี 2 รันเวย์ คือ
  •  ฝั่งตะวันตก ที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝั่งกิ่งแก้ว มีความยาวรันเวย์ 3,700 เมตร
  • ฝั่งตะวันออก ที่ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี มีความยาวรันเวย์ 4,000 เมตร ( 4 กิโลเมตร ) ซึ่งรองรับอากาศยานขึ้นลงได้สูงสุด 76 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง
  • เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน )ครั้งที่ 6/2555 มีมติเห็นชอบให้มีการก่อสร้างทางวิ่ง หรือ รันเวย์ ช่องที่ 3-4 หรือเฟส 3,4  ซึ่งเป็นแผนพัฒนาระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2556-2561 ขึ้น
  • ซึ่งตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้กำหนด ประเภทสิ่งปลูกสร้าง ขนาด และวิธีการปฏิบัติ ซึ่งโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2553
  • ซึ่งเฟสที่ 3-4 มีความยาวรันเวย์ ช่องทางละ 4 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่าที่กำหนด ให้สิ่งก่อสร้าง 3,000 เมตรเข้าข่ายมีผลกระทบอย่างรุนแรง
จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่อยู่ในแนวเส้นเสียงได้แก่

1.จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 
  • อำเภอเมืองสมุทรปราการ ได้แก่ตำบล เทพารักษ์ , แพรกษา , แพรกษาใหม่
  • อำเภอบางพลี ได้แก่ ตำบลบางพลีใหญ่ ,บางปลา,บางแก้ว , ราชาเทวะ , หนองปรือ ,บางโฉลง
  • อำเภอบางเสาธง ได้แก่ ตำบล ศรีษะจรเข้น้อย ,  ศรีษะจรเข้ใหญ่ , บางเสาธง
2. กรุงเทพมหานคร ได้แก่

  • เขตลาดกระบัง ประกอบด้วย แขวงลาดกระบัง,คลองสามประเวศ ,คลองสองต้นนุ่น , ทับยาว, ลำปลาทิว ,
  • เขตประเวศ ได้แก่ แขวง ประเวศ, และแขวงดอกไม้
  • เขตมีนบุรี ได้แก่ แขวงแสนแสบ
  • เขตหนองจอก ได้แก่ แขวงลำต้อยติ่ง แขวงลำผักชี
รวม 3 อำเภอ 4 เขต 12 ตำบล 10แขวง

  • และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ศึกษาที่อยู่ภายในระยะห่างจากแนวขอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทิศ ตะวันออก ตะวันตก 5 กิโลเมตร และทิศเหนือทิศใต้ 10 กิโลเมตร
ซึ่งตามตารางความเสี่ยงโอกาสของการเกิดผลกระทบสูงถึง 12( มาก )

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556 ชาวบ้านที่อยู่ในแนวเส้นเสียง จึงได้รวมตัวกัน เข้าร่วมประชุม และคัดค้านการสร้างรันเวย์ที่ 3-4 ที่โรงแรมแกรนด์อินคำ ห้องแกรนด์บอลรูม เวลา 8.30-12.30 น.

โดยตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ ทอท.
  1. จ่ายค่าชดเชย เฟส 1-2 ให้แล้วเสร็จ ก่อน
  2. จ่ายค่าชดเชยก่อนการก่อสร้าง เฟส 3-4 ให้ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบก่อน




 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรวมพลังกันคัดค้านเพื่อเรียกร้องให้ ทอท.จ่ายค่าชดเชย



  • ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลจาก ทอท. <<<     คลิก     >>>



1.1 ความเป็นมาและความจำเป็นของโครงการ


  • โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดขึ้นเนื่องจากการขยายขีดความสามารถของ ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) มีข้อจำกัด กล่าวคือ พื้นที่ของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ถูกล้อมรอบด้วยกองทัพอากาศและถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการพัฒนาระบบทางวิ่ง ทางขับ การเพิ่มหลุมจอดอากาศยาน และการขยายอาคารผู้โดยสาร ในขณะที่ปริมาณการจราจรทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่สองขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการขนส่งทางอากาศ เพื่อคงศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค

  • โดยวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 32 ตารางกิโลเมตร (กว้าง 4 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร) หรือประมาณ 20,000 ไร่ โดยให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบ และมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท. ในขณะนั้น) เป็นผู้ลงทุนในโครงการ มีกำหนดระยะเปิดใช้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2543 แต่การก่อสร้างจริงเกิดความล่าช้า ทำให้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” เปิดให้บริการได้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเมื่อแรกเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท. ได้ย้ายสายการบินภายในประเทศและสายการบินระหว่างประเทศที่ให้บริการแบบประจำ (Scheduled Flights) ทั้งหมดไปไว้ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนท่าอากาศยานกรุงเทพเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็น ท่าอากาศยานดอนเมือง และให้บริการเฉพาะเที่ยวบินแบบไม่ประจำ (Non Scheduled Flights) เที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flights) และการบินทั่วไป (General Aviation)

  • ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีทางวิ่งจำนวน 2 เส้น คือ ทางวิ่งเส้นที่ 1 ทางด้านทิศตะวันออก มีความยาว 4,000 เมตร และทางวิ่งเส้นที่ 2 ทางด้านทิศตะวันตก มีความยาว 3,700 เมตร ทางวิ่งทั้งสองสามารถรองรับอากาศยานขึ้น-ลงได้สูงสุด 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง จากสถิติการขึ้น-ลงของอากาศยานในปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีจำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงสูงสุด 52-59 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ซึ่งยังไม่เต็มขีดความสามารถในการรองรับของทางวิ่ง อย่างไรก็ตาม จำนวนเที่ยวบินที่ทำการบินขึ้น-ลง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการคาดการณ์จำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงคับคั่งตามการเติบโตปกติ พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีจำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงคับคั่ง มากกว่า 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ดังนั้น เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ตามแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 จึงมีโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 (แผนการพัฒนาระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2556-2560) ขึ้น



1.2 แหล่งเงินทุน

  • โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 จะใช้แหล่งเงินทุนของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)1.3 ที่ตั้งและองค์ประกอบของโครงการ

  • โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัจจุบัน ประกอบด้วย ทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก จะมีความยาว 4,000 เมตร ความกว้าง 60 เมตร และทางวิ่งเส้นที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จะมีความยาว 4,000 เมตร ความกว้าง 60 เมตร ดังรูปที่ 1




ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แบ่งแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกเป็น 5 ระยะ เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มขีดความสามารถจะประกอบด้วย ทางวิ่ง 4 เส้น สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 120 ล้านคนต่อปี และมีหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 224 หลุมจอด




1.4 แนวทางการดำเนินโครงการ


แผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกำหนดก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2562 ส่วนทางวิ่งเส้นที่ 4 มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566 ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1.5 ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการในปัจจุบัน
1.5.1 ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม



  • ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
  • ระบบปิดล้อมและระบบระบายน้ำภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย
  • คันกั้นน้ำรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อป้องกันน้ำจากพื้นที่ข้างเคียงไหลเข้ามาท่วมในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ โดยสร้างเป็นคันดินอยู่ภายในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ มีความยาว 23.5 กิโลเมตร ความสูง +3.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมีความกว้าง 3 เมตร
  • ระบบระบายน้ำภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ ให้ไหลมารวมกันในคลองและบ่อเก็บน้ำ ก่อนสูบระบายออกไปนอกท่าอากาศยานฯ ในเวลาที่เหมาะสม
  • สถานีสูบน้ำ จำนวน 2 แห่ง เพื่อสูบระบายน้ำฝนภายในท่าอากาศยานออกสู่ภายนอก โดยสถานีฝั่งตะวันตกจะสูบน้ำลงคลองลาดกระบัง และสถานีฝั่งตะวันออกจะสูบน้ำลงคลองหนองงูเห่า
  • ระบบระบายน้ำภายนอกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก่ คลองหนองงูเห่า คลองลาดกระบัง คลองขุดใหม่ทางด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานฯ คลองเทวะตรง และยังมีคลองบางขวางเล็ก คลองบางขวางใหญ่ คลองบางโฉลง คลองบางพลี และอื่นๆ ซึ่งจะไหลออกสู่ทะเลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น