Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รัฐประศาสนศาสตร์คืออะไร



วูดโรว์ วิลสัน



รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ ( Public Administration  PA.) 

รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักและวิธีการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้โดยมุงแสวงหาวิธีการที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้รัดกุม และมีประสิทธิภาพ

มีความหมายอยู่ 2ฐานะคือ

  1. นฐานะที่เป็นสาขาวิทยาการศึกษา ( Discipline study ) เรียกว่าวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ
  2. ในฐานะที่เป็นกิจกรรม ( Activity) หรือบริหารงานสาธารณะ หรือกิจกรรมบริหารงานสาธารณะ

วิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ ที่เป็นแบบแผน แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

  1. ยุคแรก เกิดขึ้นก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่มีการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์กันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากสมัย อดีตประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน โดยเขาได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียง ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 เรื่อง The Study of Administration วิลสัน ชี้ให้เห็นงานในหน้าที่ฝ่ายบริหาร คือ กระทรวง ทบวง กรม จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือนโยบายซึ่งออกโดยฝ่ายการเมือง ซึ่งแนวคิดของ วิลสัน เป็นการศึกษาการบริหารงานของรัฐบาล โดยแยกออกจากการเมือง จึงถือได้ว่า แนวคิดของ วิลสัน เป็นจุดเริ่มต้น ของการแยกการเมือง ออกจากการบริหาร จึงถือได้ว่า วิลสัน เป็นผู้เสนอเค้าโครงความคิด หรือ กรอบความคิด ( Paradigm) ทำให้เกิดกรอบการศึกษาการแยกการบริหารออกจากการเมืองกันอย่างแพร่หลายในอเมริกา และเป็นที่มาให้นักวิชาการรุ่นหลังได้เสนองานเขียนให้แยกการเมืองออกจากการบริหาร
  2. ยุคที่สอง คือยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเรียกว่ายุคพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในพฤติกรรมศาสตร์ มีนักวิชาการ 5 คน คือ Chester Bernard ,Herbert Simon ,Robert A. Dahl ,Dwight Waldo และ Norton Longซึ่งเป็นยุคที่ดึงแนวคิดของนักวิชาการก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้มาสนใจพฤติกรรมศาสตร์ ยุคนี้ Chester Bernard ได้เขียนหนังสือ Functions of the Execusive. เบอร์นาร์ด ชี้ให้เห็นว่า การบริหารเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่ต้องได้รับความร่วมมือ และการจะมีอำนาจนั้นขึ้นอยู่กับการยินยอมของผู้ใต้บังคับบัญชา หน้าที่ของนักบริหารจะต้องสนใจ ทั้งระบบ ซึ่งนับว่าแนวคิดของเบอร์นาร์ด ได้ฉีกแนวแตกต่างไปจากนักพฤติกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ Herbert Simon นักวิชาการร่วมยุค ยังได้เสนอแนวคิดของเขาว่า หน้าที่ของนักบริหาร คือ การตัดสินใจ การวินิจฉัยสั่งการเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงซึ่งสามารถศึกษาได้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และ Robert Dahl ได้เสนอให้เปลี่ยนรัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนแนวทางใหม่ ดาห์ล ชี้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นวิทยาศาตร์ และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเทศ
  3. ยุคที่สาม หรือยุคร่วมสมัยเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1968 ในยุคนี้มีการจัดประชุมสัมนารัฐประศาสนศาสตร์ ที่ทะเลสาบ มินโนบรู๊ค ( Minnobrook) โดยมหาวิทยา ซีราคิวส์ ( Syracuse) ประเทศอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิชารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ หรือเรียกว่า ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์       แนวทางการประชุม พอสรุปได้ว่า
  • นักบริหาร เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานทั้งสองอย่าง คือ กำหนดนโยบาย และบริหารนโยบาย ดังนั้นเรื่องนโยบายและการบริหาร จึงควรเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน นักบริหารควรได้รับการมอบหมาย ทั้งเรื่องการจัดการที่ดี และดูแลความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งถือว่า เป็น ค่านิยม วัตถุประสงค์ หรือเหตุผลร่วมกันของรัฐประศาสนศาสตร์
  • รัฐประศาสนศาสตร์ ให้ความสนใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง คือ จะต้องแสวงหาหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบาย และโครงสร้างต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเป็นธรรมในสังคมมุ่งเสริมวัตถุประสงค์รัฐประศาสนศาสตร์ แนวใหม่คือ
  1. การจัดการที่ดี
  2. มีประสิทธิภาพ
  3. ประหยัด
  4. มีความเป็นธรรมในสังคม
  • รัฐประศาสนศาสตร์จะต้อง ศึกษาทดลอง หรือสนับสนุนรูปแบบของการจัดองค์การราชการ เช่น การกระจายอำนาจ การมอบอำนาจ โครงการ สัญญาการฝึกอบรมความรู้
  • รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ต้องแสวงหาแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
  • มุ่งสนใจไปที่ตัวปัญหาและพิจารณาทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้ในการเผชิญปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม  เป็นต้น
  • เน้นในส่วนที่เป็นราชการมากกว่าบริหารทั่วไปในการแก้ปัญหา
สรุป


  • รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมกระบวนการบริหาร แนวนโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ วิทยาการจัดการ ถือเป็น สังคมศาสตร์ประยุกต์
  • มีแนวทางการศึกษาที่ยึดหลักวิชาชีพ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ การบริหารงานสาธารณะ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และความเป็นธรรมในสังคม




Woodrow Wilson




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น