Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ตาบอดสีเกิดจากอะไร


โครงสร้างดวงตา

 ดวงตาคือ อวัยวะในการมองเห็น ซึ่งมีความสำคัญมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าการมองเห็นของเราบกพร่องไป จะส่งผลมากมายต่อการใช้ชีวิต ไม่น้อยไปกว่า การเสียอวัยวะส่วนอื่น


  • การมองเห็นของเรา จะเกิดขึ้นเมื่อ มีแสงผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอก และกระทบกรอบลูกตา ที่มีลักษณะโปร่งใสเรียกว่า คอร์เนีย ( Cornea )
  • ม่านตาจะทำหน้าที่ปรับให้แสงมีความเหมาะสมกับเลนส์ตา หรือแก้วตา  จากนั้นจะปรับภาพไปตกที่ผนังด้านหลังของลูกตา คือ เรตินา ( retina ) เรตินา เป็นเยื่อตาชั้นในของลูกตา และเป็นจุดเริ่มต้นการมองเห็น โดยเฉพาะที่โฟเวีย ( fovea ) จะเป็นจุดที่มีการมองเห็นชัดเจนที่สุด



โดยปกติ ที่ผนังของ เรตินา จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิดคือ


  1. รอดส์ ( Rods)
  2. โคนส์    ( Cones )

รอดส์ ( Rods ) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และมีความไวต่อ แสง ขาว - ดำ  ดังนั้น รอดส์ จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงในเวลากลางคืน มีความไวต่อแสงคลื่นสั้นมากกว่าคลื่นแสงยาว โดยปกติ รอดส์ จะรวมตัวกันรอบนอกของเรตินา และเป็นจุดที่ทำให้เกิดการตาบอดสีได้ด้วย

โคนส์    ( Cones) มีลักษณะเป็นแท่งที่สั้นกว่า รอดส์ และโคนส์ จะมีความไวต่อแสงที่เป็น สี ดังนั้นโคนส์ จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน มีลักษณะเป็นรูปกรวย ช่วยรับภาพสีได้ดี
โคนส์จะอยู่บริเวณ โฟเวีย ( fovea)

คนที่ตาบอดสี จะไม่มีโคนส์ ที่เรตินา เลย เราสามารถตรวจสอบตัวเราเองได้ เช่น เวลาเราอยู่กลางแจ้ง แดดจ้า โคนส์จะมีความไวต่อแสงมาก เมื่อเราเดินเข้าไปในห้องมืด เช่น โรงภาพยนต์ ช่วงแรกๆ เราจะมองไม่เห็นและแยกแยะไม่ได้ สาเหตุมาจาก โคนส์ยังทำหน้าที่ อยู่ ใช้เวลา ประมาณ 2-3 นาที เรตินาจะปรับตัวต่อความมืด เวลานี้เอง ที่ รอดส์ จะเข้ามาทำหน้าที่ ช่วยให้เราสามารถมองเห็นในความมืด แต่ก็ไม่ดีนัก

  • ดังนั้น อาการตาบอดสี จึงเป็นความบกพร่อง ที่ เรตินา ในส่วนของเซลล์ โคนส์ ( ขาดโคนส์ ) 
  • ผู้ที่มีลักษณะดังกล่าว จึงไม่สามารถมองเห็นสีที่ถูกต้องได้ เนื่องจากเซลล์ รับสี (โคนส์ ) บกพร่อง นั่นเอง














สีที่คนตาบอดสีมองเห็น


กังวาล ทองเนตร

อ้างอิง >>>  haamor.com  <<< >>> http://th.wikipedia.org <<< >>>

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น