Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รัฐประศาสนศาสตร์คืออะไร



วูดโรว์ วิลสัน



รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ ( Public Administration  PA.) 

รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักและวิธีการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้โดยมุงแสวงหาวิธีการที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้รัดกุม และมีประสิทธิภาพ

มีความหมายอยู่ 2ฐานะคือ

  1. นฐานะที่เป็นสาขาวิทยาการศึกษา ( Discipline study ) เรียกว่าวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ
  2. ในฐานะที่เป็นกิจกรรม ( Activity) หรือบริหารงานสาธารณะ หรือกิจกรรมบริหารงานสาธารณะ

วิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ ที่เป็นแบบแผน แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

  1. ยุคแรก เกิดขึ้นก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่มีการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์กันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากสมัย อดีตประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน โดยเขาได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียง ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 เรื่อง The Study of Administration วิลสัน ชี้ให้เห็นงานในหน้าที่ฝ่ายบริหาร คือ กระทรวง ทบวง กรม จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือนโยบายซึ่งออกโดยฝ่ายการเมือง ซึ่งแนวคิดของ วิลสัน เป็นการศึกษาการบริหารงานของรัฐบาล โดยแยกออกจากการเมือง จึงถือได้ว่า แนวคิดของ วิลสัน เป็นจุดเริ่มต้น ของการแยกการเมือง ออกจากการบริหาร จึงถือได้ว่า วิลสัน เป็นผู้เสนอเค้าโครงความคิด หรือ กรอบความคิด ( Paradigm) ทำให้เกิดกรอบการศึกษาการแยกการบริหารออกจากการเมืองกันอย่างแพร่หลายในอเมริกา และเป็นที่มาให้นักวิชาการรุ่นหลังได้เสนองานเขียนให้แยกการเมืองออกจากการบริหาร
  2. ยุคที่สอง คือยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเรียกว่ายุคพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในพฤติกรรมศาสตร์ มีนักวิชาการ 5 คน คือ Chester Bernard ,Herbert Simon ,Robert A. Dahl ,Dwight Waldo และ Norton Longซึ่งเป็นยุคที่ดึงแนวคิดของนักวิชาการก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้มาสนใจพฤติกรรมศาสตร์ ยุคนี้ Chester Bernard ได้เขียนหนังสือ Functions of the Execusive. เบอร์นาร์ด ชี้ให้เห็นว่า การบริหารเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่ต้องได้รับความร่วมมือ และการจะมีอำนาจนั้นขึ้นอยู่กับการยินยอมของผู้ใต้บังคับบัญชา หน้าที่ของนักบริหารจะต้องสนใจ ทั้งระบบ ซึ่งนับว่าแนวคิดของเบอร์นาร์ด ได้ฉีกแนวแตกต่างไปจากนักพฤติกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ Herbert Simon นักวิชาการร่วมยุค ยังได้เสนอแนวคิดของเขาว่า หน้าที่ของนักบริหาร คือ การตัดสินใจ การวินิจฉัยสั่งการเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงซึ่งสามารถศึกษาได้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และ Robert Dahl ได้เสนอให้เปลี่ยนรัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนแนวทางใหม่ ดาห์ล ชี้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นวิทยาศาตร์ และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเทศ
  3. ยุคที่สาม หรือยุคร่วมสมัยเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1968 ในยุคนี้มีการจัดประชุมสัมนารัฐประศาสนศาสตร์ ที่ทะเลสาบ มินโนบรู๊ค ( Minnobrook) โดยมหาวิทยา ซีราคิวส์ ( Syracuse) ประเทศอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิชารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ หรือเรียกว่า ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์       แนวทางการประชุม พอสรุปได้ว่า
  • นักบริหาร เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานทั้งสองอย่าง คือ กำหนดนโยบาย และบริหารนโยบาย ดังนั้นเรื่องนโยบายและการบริหาร จึงควรเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน นักบริหารควรได้รับการมอบหมาย ทั้งเรื่องการจัดการที่ดี และดูแลความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งถือว่า เป็น ค่านิยม วัตถุประสงค์ หรือเหตุผลร่วมกันของรัฐประศาสนศาสตร์
  • รัฐประศาสนศาสตร์ ให้ความสนใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง คือ จะต้องแสวงหาหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบาย และโครงสร้างต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเป็นธรรมในสังคมมุ่งเสริมวัตถุประสงค์รัฐประศาสนศาสตร์ แนวใหม่คือ
  1. การจัดการที่ดี
  2. มีประสิทธิภาพ
  3. ประหยัด
  4. มีความเป็นธรรมในสังคม
  • รัฐประศาสนศาสตร์จะต้อง ศึกษาทดลอง หรือสนับสนุนรูปแบบของการจัดองค์การราชการ เช่น การกระจายอำนาจ การมอบอำนาจ โครงการ สัญญาการฝึกอบรมความรู้
  • รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ต้องแสวงหาแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
  • มุ่งสนใจไปที่ตัวปัญหาและพิจารณาทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้ในการเผชิญปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม  เป็นต้น
  • เน้นในส่วนที่เป็นราชการมากกว่าบริหารทั่วไปในการแก้ปัญหา
สรุป


  • รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมกระบวนการบริหาร แนวนโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ วิทยาการจัดการ ถือเป็น สังคมศาสตร์ประยุกต์
  • มีแนวทางการศึกษาที่ยึดหลักวิชาชีพ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ การบริหารงานสาธารณะ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และความเป็นธรรมในสังคม




Woodrow Wilson




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สร้างรันเวย์3-4กระทบใครบ้าง


 ภาพการประชุมที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์อินคำ

จากการที่บริษัทท่าอากาศยานไทย ( ทอท. )ได้สร้างสนามบินสุวรรณภูมิตามมติ ครม.เมื่อวันที่7พฤษภาคม 2534 ในเฟส 1-2และมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ.2543
แต่การก่อสร้างจริงแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

โดยมี 2 รันเวย์ คือ
  •  ฝั่งตะวันตก ที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝั่งกิ่งแก้ว มีความยาวรันเวย์ 3,700 เมตร
  • ฝั่งตะวันออก ที่ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี มีความยาวรันเวย์ 4,000 เมตร ( 4 กิโลเมตร ) ซึ่งรองรับอากาศยานขึ้นลงได้สูงสุด 76 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง
  • เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน )ครั้งที่ 6/2555 มีมติเห็นชอบให้มีการก่อสร้างทางวิ่ง หรือ รันเวย์ ช่องที่ 3-4 หรือเฟส 3,4  ซึ่งเป็นแผนพัฒนาระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2556-2561 ขึ้น
  • ซึ่งตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้กำหนด ประเภทสิ่งปลูกสร้าง ขนาด และวิธีการปฏิบัติ ซึ่งโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2553
  • ซึ่งเฟสที่ 3-4 มีความยาวรันเวย์ ช่องทางละ 4 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่าที่กำหนด ให้สิ่งก่อสร้าง 3,000 เมตรเข้าข่ายมีผลกระทบอย่างรุนแรง
จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่อยู่ในแนวเส้นเสียงได้แก่

1.จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 
  • อำเภอเมืองสมุทรปราการ ได้แก่ตำบล เทพารักษ์ , แพรกษา , แพรกษาใหม่
  • อำเภอบางพลี ได้แก่ ตำบลบางพลีใหญ่ ,บางปลา,บางแก้ว , ราชาเทวะ , หนองปรือ ,บางโฉลง
  • อำเภอบางเสาธง ได้แก่ ตำบล ศรีษะจรเข้น้อย ,  ศรีษะจรเข้ใหญ่ , บางเสาธง
2. กรุงเทพมหานคร ได้แก่

  • เขตลาดกระบัง ประกอบด้วย แขวงลาดกระบัง,คลองสามประเวศ ,คลองสองต้นนุ่น , ทับยาว, ลำปลาทิว ,
  • เขตประเวศ ได้แก่ แขวง ประเวศ, และแขวงดอกไม้
  • เขตมีนบุรี ได้แก่ แขวงแสนแสบ
  • เขตหนองจอก ได้แก่ แขวงลำต้อยติ่ง แขวงลำผักชี
รวม 3 อำเภอ 4 เขต 12 ตำบล 10แขวง

  • และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ศึกษาที่อยู่ภายในระยะห่างจากแนวขอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทิศ ตะวันออก ตะวันตก 5 กิโลเมตร และทิศเหนือทิศใต้ 10 กิโลเมตร
ซึ่งตามตารางความเสี่ยงโอกาสของการเกิดผลกระทบสูงถึง 12( มาก )

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556 ชาวบ้านที่อยู่ในแนวเส้นเสียง จึงได้รวมตัวกัน เข้าร่วมประชุม และคัดค้านการสร้างรันเวย์ที่ 3-4 ที่โรงแรมแกรนด์อินคำ ห้องแกรนด์บอลรูม เวลา 8.30-12.30 น.

โดยตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ ทอท.
  1. จ่ายค่าชดเชย เฟส 1-2 ให้แล้วเสร็จ ก่อน
  2. จ่ายค่าชดเชยก่อนการก่อสร้าง เฟส 3-4 ให้ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบก่อน




 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรวมพลังกันคัดค้านเพื่อเรียกร้องให้ ทอท.จ่ายค่าชดเชย



  • ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลจาก ทอท. <<<     คลิก     >>>



1.1 ความเป็นมาและความจำเป็นของโครงการ


  • โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดขึ้นเนื่องจากการขยายขีดความสามารถของ ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) มีข้อจำกัด กล่าวคือ พื้นที่ของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ถูกล้อมรอบด้วยกองทัพอากาศและถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการพัฒนาระบบทางวิ่ง ทางขับ การเพิ่มหลุมจอดอากาศยาน และการขยายอาคารผู้โดยสาร ในขณะที่ปริมาณการจราจรทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่สองขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการขนส่งทางอากาศ เพื่อคงศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค

  • โดยวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 32 ตารางกิโลเมตร (กว้าง 4 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร) หรือประมาณ 20,000 ไร่ โดยให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบ และมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท. ในขณะนั้น) เป็นผู้ลงทุนในโครงการ มีกำหนดระยะเปิดใช้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2543 แต่การก่อสร้างจริงเกิดความล่าช้า ทำให้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” เปิดให้บริการได้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเมื่อแรกเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท. ได้ย้ายสายการบินภายในประเทศและสายการบินระหว่างประเทศที่ให้บริการแบบประจำ (Scheduled Flights) ทั้งหมดไปไว้ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนท่าอากาศยานกรุงเทพเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็น ท่าอากาศยานดอนเมือง และให้บริการเฉพาะเที่ยวบินแบบไม่ประจำ (Non Scheduled Flights) เที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flights) และการบินทั่วไป (General Aviation)

  • ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีทางวิ่งจำนวน 2 เส้น คือ ทางวิ่งเส้นที่ 1 ทางด้านทิศตะวันออก มีความยาว 4,000 เมตร และทางวิ่งเส้นที่ 2 ทางด้านทิศตะวันตก มีความยาว 3,700 เมตร ทางวิ่งทั้งสองสามารถรองรับอากาศยานขึ้น-ลงได้สูงสุด 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง จากสถิติการขึ้น-ลงของอากาศยานในปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีจำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงสูงสุด 52-59 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ซึ่งยังไม่เต็มขีดความสามารถในการรองรับของทางวิ่ง อย่างไรก็ตาม จำนวนเที่ยวบินที่ทำการบินขึ้น-ลง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการคาดการณ์จำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงคับคั่งตามการเติบโตปกติ พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีจำนวนเที่ยวบินในชั่วโมงคับคั่ง มากกว่า 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ดังนั้น เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ตามแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 จึงมีโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 (แผนการพัฒนาระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2556-2560) ขึ้น



1.2 แหล่งเงินทุน

  • โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 จะใช้แหล่งเงินทุนของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)1.3 ที่ตั้งและองค์ประกอบของโครงการ

  • โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัจจุบัน ประกอบด้วย ทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก จะมีความยาว 4,000 เมตร ความกว้าง 60 เมตร และทางวิ่งเส้นที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จะมีความยาว 4,000 เมตร ความกว้าง 60 เมตร ดังรูปที่ 1




ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แบ่งแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกเป็น 5 ระยะ เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มขีดความสามารถจะประกอบด้วย ทางวิ่ง 4 เส้น สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 120 ล้านคนต่อปี และมีหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 224 หลุมจอด




1.4 แนวทางการดำเนินโครงการ


แผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกำหนดก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2562 ส่วนทางวิ่งเส้นที่ 4 มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566 ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และ 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1.5 ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการในปัจจุบัน
1.5.1 ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม



  • ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
  • ระบบปิดล้อมและระบบระบายน้ำภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย
  • คันกั้นน้ำรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อป้องกันน้ำจากพื้นที่ข้างเคียงไหลเข้ามาท่วมในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ โดยสร้างเป็นคันดินอยู่ภายในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ มีความยาว 23.5 กิโลเมตร ความสูง +3.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมีความกว้าง 3 เมตร
  • ระบบระบายน้ำภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ ให้ไหลมารวมกันในคลองและบ่อเก็บน้ำ ก่อนสูบระบายออกไปนอกท่าอากาศยานฯ ในเวลาที่เหมาะสม
  • สถานีสูบน้ำ จำนวน 2 แห่ง เพื่อสูบระบายน้ำฝนภายในท่าอากาศยานออกสู่ภายนอก โดยสถานีฝั่งตะวันตกจะสูบน้ำลงคลองลาดกระบัง และสถานีฝั่งตะวันออกจะสูบน้ำลงคลองหนองงูเห่า
  • ระบบระบายน้ำภายนอกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก่ คลองหนองงูเห่า คลองลาดกระบัง คลองขุดใหม่ทางด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานฯ คลองเทวะตรง และยังมีคลองบางขวางเล็ก คลองบางขวางใหญ่ คลองบางโฉลง คลองบางพลี และอื่นๆ ซึ่งจะไหลออกสู่ทะเลต่อไป