Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สายอากาศและสายนำสัญญาน




สายอากาศ ( Antena )


  • สายอากาศ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาน ทั้งภาพและเสียง เข้าไปยังภาครับของเรา ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์ ก็ตาม

  • แต่ในประเทศไทยมักจะเรียกสายอากาศว่า เสาอากาศ ซึ่งผิด เรียกให้ถูกต้องต้องเรียกว่าสายอากาศ
  • สายอากาศที่ดีจะต้องสามารถรับสัญญาณที่ต้องการได้แรงที่สุด
  • มีอัตราการขยายสูง หรือที่เรียกว่า GAIN  จะต้องไม่รับสัญญานแปลกปลอมหรือสัญญานสะท้อนกลับ และต้องมีอิมพิแดนซ์เหมาะสมกับสายนำสัญญาน หรือ ฟีดเดอร์  เพื่อถ่ายทอดไปยังเครื่องรับได้อย่างเต็มที่


  • สัญญานที่รับเข้ามาผ่านสายอากาสจะมีขนาดเล็กมาก มีค่าเป็นไมโครโวลท์เท่านั้นเอง หากเครื่องรับอยู่ใกล้เครื่องส่งสัญญานก็จะแรง และเช่นกันเมื่อเครื่องรับอยู่ห่างไกลสัญญานก็จะลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน


  • สายอากาศที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภทดังนี้

1.สายอากาศ แบบ ยากิ ( YAGI ) หรือที่คนไทยเรียกว่าก้างปลา ประกอบด้วย ส่วนหน้าของแผง เรียกว่ารีเฟลคเตอร์ทำหน้าที่รับสัญญานสะท้อนกลับให้เข้าไปยัง โฟลเดทไดโปล ถัดจากส่วนหน้ามา เรียกว่า โฟลเดทไดโปล คือซี่ที่ สอง ต่อจาก รีเฟลคเตอร์ ส่วนที่สามอยู่ท้ายสุดของแผงเรียกว่า ไดเร็คเตอร์

สายอากาศแบบ  ยากิ  ( YAGI )




2. สายอากาศแบบ วี ( V ) หรือเรามักได้ยินว่าเสาแบบหนวดกุ้ง
สายอากาศแบบ วี ( V )


3. สายอากาศแบบเทเลสโคปิด ( Telescopic ) คือสายอากาศที่ดึงยืดออกและหดตัวลงมาได้ คล้ายกับแบบ วี แต่มี สายเดียว




สายอากาศแบ เทเลสโคปิค ( Telescopic)



  • การที่รับสัญญาน ให้ได้ดีจะต้องประกอบกันด้วย วัสดุที่นำมาทำสายอากาศ  สายนำสัญญาน รวมถึง อิมพิแดนซ์ของเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และ สายอากาศ สายนำสัญญานต้องเท่ากันพอดีด้วยจึงจะส่งผลให้การรับสัญญานเป็นไปด้วยดี





การตั้งเสาเพื่อติดตั้งสายอากาศให้เหมาะกับเครื่องส่งที่สถานีส่งมามีดังนี้

  • รัศมี 0-50 กิโลเมตร  เสาของสายอากาศควรสูงเกินสิ่งกีดขวาง
  • รัศมี 50-65 กิโลเมตร ควรตั้งเสา สายอากาศให้สูง  12 เมตร
  • รัศมี 65-75 กิโลเมตร  ควรตั้งเสาของสายอากาศให้สูง  24 เมตร
  • รัศมี 75 กิโลเมตรขึ้นไป ควรตั้งเสาสายอากาศให้สูง  30 เมตรขึ้นไป


ทั้งหมดนี้ต้องพิจารณา สภาพแวดล้อมรอบข้างด้วย   เช่น  สิ่งกีดขวางต่างๆ    อาทิ ภูเขา ต้นไม้ ตึก เป็นต้น







ภาพแสดงกาเดินทางและการหักเหของคลื่น ผ่านชั้นบรรยากาศในระดับต่างๆของโลก













สายอากาศแบบยากิ หรือที่บ้านเราเรียกแบบก้างปลา


ฟีดเดอร์ ( Feeder ) หรือสายนำสัญญาน

  • ฟีดเดอร์ หรือสายนำสัญญาน ทำหน้าที่รับสัญญาน จากสายอากาศเข้าไปยังเครื่องรับ ฟีดเดอร์ที่ดี จะต้องทำให้มีการสูญเสียของสัญญานให้น้อยที่สุด และจะต้องไม่รับสัญญานรบกวนจากภายนอกด้วย


  • การสูญเสียในฟิดเดอร์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเหล่านี้

  1. คุณภาพของสายที่มีราคาถูก ไม่มีมาตรฐานจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดจะมีการสูญเสียสัญญานมาก
  2. แบบของสายฟีดเดอร์ เช่น RG-59  สูญเสียมากกว่า RG-140
  3. อิมพิแดนซ์ของสายอากาศและเครื่องรับไม่เท่ากันก็จะมีการสูญเสียมากเช่นกัน
  4. ความยาวของฟีดเดอร์ ถ้าสายยาวมากการสูญเสียก็จะมีมากเช่นเดียวกัน
  5. ความถี่ของสัญญาน ถ้าความถี่ยิ่งสูงการสูญเสียยิ่งมีมากตามไปด้วย
  6. การต่อสาย นำสัญญาน หลายเส้นเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดการสูญเสีย หรือ สายสั้นไม่ถึงเครื่องใช้วิธีต่อสายก็ไม่สมควรกระทำ ควรจะใช้สายเส้นเดียวโดยไร้รอยต่อ เพื่อลดการสูญเสียของสัญญาน

ฟิดเดอร์ หรือสายนำสัญญาน มีอยู่ 2 ประเภทคือ
  1. สายโคแอคเชี่ยล (  Coaxial ) เป็นสายนำสัญญานที่มีอิมพิแดนซ์ 75 โอห์ม คุณภาพและมาตรฐานแตกต่างกันตามราคา รวมถึงวัสดุที่นำมาผลิตด้วย โดยทั่วไปสายโคแอคเชี่ยลจะมีแกนนำสัญญานอยู่ภายในสุด และมีฉนวนหุ้มอีกชั้น ถัดออกมาจะมีสายทองแดงเส้นฝอยถักคลุมรอบ หรือ กระดาษฟอยด์ ก็มีตามราคา  ส่วนที่เป็นสายหุ้มนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ ชีลด์ หรือ ดักกรองสัญญานรบกวนจากภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนสายแกนที่นำสัญญานตัวจริงได้ และยังป้องกันไม่ให้ สัญญานภายในแกนสาย หลุดออกไปภายนอกได้ เกิดการสูญเสียภายในสายขึ้น  ดังนั้นสาย โคแอคเชี่ยนจึงเป็นสายที่มีคุณภาพสูง




สายนำสัญญานแบบโคแอกเชี่ยลแบบต่างๆ




  2.สายนำสัญญานแบบทวีนลีด ( Twin Lead ) ทวีน หรือแฝด เป็นสายนำสัญญานแบบสายคู่ ตัวนำสัญญานจะเป็นโลหะ ฝอย ไม่ใช่แกนเดียวเหมือนอย่าง แบบโคแอคเชี่ยน สายแบบนี้ มีค่าอิมพิแดนซ์สูง 300 โอห์ม นั่นหมายถึง มีแรงต้านทานภายในสายสูงมาก ทำให้นำสัญญานได้ไม่ดี มีการสูญเสียภายในสายสูง ป้องกันการรบกวนจากสัญญานภายนอกไม่ได้ มีราคาถูกกว่าสายแบบโคแอคเชี่ยล






สายแบบทวีนลีด


บาลัน ( Balun )

  • บาลันคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ อิมพิแดนซ์แมทชิ่ง มีชื่อเรียกตามลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน แต่มันก็คือตัวเดียวกันคือ บาลัน เช่น  สปลิตเตอร์ คัปเปอร์ มิกเซอร์ คอมไบเนอร์ ซึ่งจะเรียกตามการต่อใช้งานแต่ละชนิด ไม่ต้องการแรงไฟ มีส่วนที่เป็น เอ้าท์ พุท และ อินพุท เพื่อต่อสายนำสัญญาน เข้าและออก






บาลัน Balun


  • นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างอื่นอีกมากมายที่นำมาต่อใช้งาน เช่น 


  • แอทเท็นนูเอเตอร์ ATTENUATOR เป็นอุปกรณ์ที่ใช้นำมาต่อเพื่อลดความแรงของสัญญาน กรณีที่เครื่องรับอยู่ใกล้กับสถานีส่งสัญญาน ทำให้มีสัญญานแรงเกินไปจนเกิดการเพี้ยนผิดรูปของสัญญาน ก็จะนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาต่อใช้เพื่อลดทอนความแรงของสัญญานลง


กังวาล  ทองเนตร

ช่างอิเลคทรอนิคส์ สาขาช่างวิทยุ ช่างโทรทัศน์ขาวดำ โรงเรียนแสงทองอิเลคทรอนิคส์ ช่างโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์คอมแพ็คดิสก์ โรงเรียนช่างเทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น ) รัฐศาสตร์ การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง -การสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์ - คอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์-มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ATTENUATORS 





สายใยแก้วนำแสงอ้อปติคอล



อุปกรณ์ต่อเชื่อม




โครงสร้างของสายนำสัญญานแบบโคแอกเชี่ยน



สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง หรือสายอ๊อปติคอล




























6 ความคิดเห็น:

  1. ขอชื่อชนิดสายอากาศตามรูปหน่อยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สายอากาศ หมายความรวมถึง ตั้งแต่ แผงรับสัญญาณ สายนำสัญญาณ บาลัน ทั้งหมดนี้เรียกว่า สายอากาศ หรือ Antenna ครับ ส่วนสายนำสัญญาณ ก็จะมี สายแบนแบบ 300 โอห์ม เรียกว่าสายแบบทวีนลีด สายกลม มีแกนกลาง มีสายชีลด์เป็นเส้นลวดฝอย หรือแผ่นฟอยล์ เรียกว่า สายโคแอกเชี่ยล เป็นสาย ความต้านทาน 75 โอห์ม คุณภาพจะดีกว่า ทวีนลีด และยังมีสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ก็จะมีคุณภาพสูงกว่า โคแอกเชี่ยล ไปอีกครับ

      ลบ
  2. วิทยุสมัคเล่นควรอ่านมากๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณที่ติดตามครับ

      ลบ
    2. มีไฟล์ไหมครับ ขอไปทำรายงานหน่อยครับ

      ลบ