Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อริสโตเติล( ArisTotle)



อริสโตเติล ( Aristotle) 


อริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมือง สตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน (Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย

ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้นคือ เพลโต ใน กรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้นทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช

อริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิราชื่อไลเซียม (Lyceum) 


อ้างอิง >>> วิกิพิเดีย



ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย





  • อริสโตเติ้ลเป็นศิษย์เอกของเพลโต แม้จะเป็นศิษย์อาจารย์กัน แต่อริสโตเติลเป็นผู้ที่มีแนวทางแตกฉานชัดเจนกว่าอาจารย์และหลายอย่างสวนทางกับอาจารย์จนอาจารย์ของเขาอย่างเพลโต ต้องให้การยอมรับ 

  • อริสโตเติ้ล ถูกยอมรับให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ และอีกหลายสาขาวิชา อริสโตเติ้ล เป็นผู้บัญญัติ คำว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือมนุษย์เกิดมาอยู่เพียงลำพังไม่ได้แรกเกิดมาต้องมีผู้ดูแลเลี้ยงดูถึงจะมีชีวิตรอดและเติบโตมาได้เมื่อโตแล้วยังต้องการความรักความอบอุ่น ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้วัฒนธรรม อารยะธรรมต่างๆรวมถึงการทำมาหากินล้วนต้องพึ่งพากันและกันทั้งสิ้น 

  • อริสโตเติ้ล เชื่อว่า มนุษย์ในโลกนี้เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน บางคนตัวสูงบางคนตัวเตี้ย บางคนพิการ บางคนแข็งแรงกรำยำ บางคนสมองดีบางคนสมองไม่ดีเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ อริสโตเติ้ล เชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านั้นมีความเท่าเทียมกันได้คือ กฎหมาย อริสโตเติ้ลเชื่อในหลักกฎหมายมากกว่าตัวบุคคล ( Rule of law ) ต่างจากเพลโตผู้อาจารย์ที่เชื่อในหลักตัวบุคคล (Rule of men ) 
ธรรมชาติของคนและรัฐ
  • อริสโตเติลกล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการมีรัฐ มิได้เป็นเพียงเพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่เพื่อให้มีชีวิตที่ดี ให้พลเมืองได้พบปะซื้อขายแลกเปลี่ยน และการป้องกันภัย
  • อริสโตเติลกล่าวอีกว่า ถ้าการอยู่ร่วมกันเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ ทาสและสัตว์ก็ตั้งเมืองขึ้นได้ แต่ที่ทำไม่ได้คือหาความสุขร่วมกันไม่ได้ ไม่รู้จักรับไม่รู้จักให้ โดยอริสโตเติลยอมรับว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันด้าน สติปัญญา ร่างกาย และความแตกต่างเหล่านี้จะนำไปสู่ความแตกต่างของฐานะทางสังคมด้วย แต่เขาเชื่อว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นธรรมชาติเป็นผู้กำหนดมา สิ่งเหล่านั้นจึงไม่ใช่ความอยุติธรรมแต่อย่างใด
พลเมือง
  • ตามทัศนะของอริสโตเติล พลเมืองคือ ผู้ทรงสิทธิแห่งการมีส่วนร่วมในการปกครองของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ 
  • คุณสมบัติของพลเมืองคือ มีความสามารถที่พร้อมจะปกครอง และถูกปกครอง พวกแรงงานอาศัยสติปัญญาผู้อื่นในการดำรงชีพ เช่น ทาส ไม่ควรได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมือง
รัฐคือ
  • สถาบันที่ประกอบด้วยพลเมืองจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจให้ จัดระเบียบการบริหารรัฐกิจ และมีอำนาจสูงกว่าพลเมืองอื่น 
  • รัฐที่ดีคือ เป็นรัฐที่มีอาณาบริเวณไม่กว้าง หรือเล็กเกินไป โดยเขากล่าวว่า ถ้าใหญ่เกินไป จะกลายเป็น อาณาจักร ซึ่งจะเป็นอุปสรรค แก่การป้องกัน และบังคับใช้กฎหมาย 
  • แต่ถ้าเล็กเกินไป จะขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า ประโยชน์จากการที่มีรัฐไม่ใหญ่มากนักคือ ประชาชนในรัฐสามารถรู้จักกันได้ และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างทั่วถึง 
ครอบครัวที่อยู่ในรัฐ
  • อริสโตเติลบอกว่าอายุที่ควรแต่งงานคือ ผู้ชายอายุ 37 ปี ส่วนหญิง 18 ปี เขาให้เหตุผลว่า ผู้ชายในวัยนี้มีความพร้อมแล้วเกือบทุกอย่าง เช่น จบการศึกษาแล้ว มีหน้าที่การงานทำแล้ว มีวุฒิภาวะแล้ว เป็นวัยที่เหมาะสมแก่การสร้างครอบครัว ทำครอบครัวให้อบอุ่น สมบูรณ์ได้ 
ภูมิประเทศ
  • อริสโตเติลกล่าวว่า ภูมิประเทศที่ดี ต้องมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ การพาณิชย์ และควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขา มีทางติดต่อกับทะเล ซึ่งจะได้เป็นปราการป้องกันตนเองจากด่านธรรมชาตินี้ด้วย และสามารถทำให้สร้างกองทัพเรือได้ และยังเอื้อต่อการพาณิชย์ 
  • แต่ต้องจำกัดเรื่องสิทธิของพ่อค้าวาณิช ไม่ให้มีส่วนในกิจกรรมทางปกครองรัฐ 
เขากล่าวว่าสังคมใดก็ตามมีองค์ประกอบที่ควรเพ่งเล็งอยู่ 2 ประการ คือ
  1. คุณภาพ
  2.  ปริมาณ 
  • คุณภาพได้แก่ คณาธิปไตย ให้ความสำคัญแก่ชาติกำเนิด ฐานะทรัพย์สินและการศึกษา
  • ปริมาณ ได้แก่ ลักษณะของประชาธิปไตย คือให้คนจำนวนมากปกครอง ถ้ารูปการปกครองเป็นไปทางใดทางหนึ่งอย่างเดียว จะทำให้รัฐนั้นมีจุดหมายปลายทางที่ไม่ดี เช่น 
ถ้าเป็นคณาธิปไตย อย่างเดียวโอกาสจะเป็นของคนมั่งมีเท่านั้น ที่มีโอกาสปกครอง คนกลุ่มนี้ก็จะปกครองรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เพราะคนรวยไม่ชอบกฎข้อบังคับ รู้จักแต่การใช้อำนาจ บังคับจิตใจ ถูกครอบงำไปด้วยความคิดเกี่ยวกับทรัพย์ 
ตรงกันข้าม ถ้ารัฐนั้นกำหนดให้คนจนเป็นคนปกครองอย่างเดียว มีสิทธิปกครองแบบประชาธิปไตย ผลเสียก็คือ พวกนี้เต็มไปด้วยความริษยา ความร่ำรวยของคนส่วนน้อย และพร้อมที่จะเป็นพลังให้ นักการเมืองฉกฉวยโอกาส เข้ามาพร้อมกับต่างๆ เช่น การแบ่งปัน การกระจายทรัพย์สินภายในรัฐ ซึ่งสิ่งนี้อาจนำพาไปสู่การ ปฏิวัติ โดยพวกนักการเมืองจะผลักดันการปกครองเข้าสู่ การเป็น ทุชนาธิปไตย ( Tyranny) เขากล่าวว่า จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะรักษาเสถียรภาพของดุล แห่งคณาธิปไตยกับประชาธิปไตยให้คงอยู่ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป ทางใดทางหนึ่ง

รูปแบบการปกครอง 

  • รัฐที่ดีที่สุด แม้ว่าปราศจากความสมบูรณ์และคนนั้นก็อาจประพฤติดีที่สุดได้ แม้ว่าเขาอยู่ในรัฐที่เลว เขาย้ำว่าเครื่องมือที่จะใช้วัดความดี หรือความเลวคือ ความยุติธรรมของรัฐ 
  • อริสโตเติ้ลกล่าวว่ากฎหมายคือสิ่งที่จำเป็นและขาดเสียไม่ได้ในการอยู่ร่วมกัน และสิ่งที่ประเสริฐสุดในบรรยากาศของการเมืองคือความยุติธรรม ความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนเท่าเทียมกัน 
  • มนุษย์ เมื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ เป็นเลิศดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย และถ้าหากเขาถูกแยกออกจากกฎหมายและความยุติธรรม เขาก็จะกลายเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด 
  • ผู้ที่เป็นคนดีไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองที่ดีด้วย การเป็นพลเมือง ขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ ความดีของพลเมือง ไม่สามารถที่จะเป็นเช่นเดียวกับ ของคนดีได้ในทุกเรื่อง 
  • เขาเชื่อว่า รัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่มีชนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นสูงรูปแบบการปกครองที่เขานิยมเขาเรียกว่า มัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือประชาธิปไตยสายกลางโดยเอาข้อดีของคณาธิปไตย มาบวกกับข้อดีของประชาธิปไตยมารวมกันระหว่างคณาธิปไตย                   ( Oligarchy ) กับประชาธิปไตย ( Democracy ) Moderated Democracy 

ความยุติธรรม

  • อริสโตเติลกล่าวว่า สิ่งประเสริฐในบรรยาการการเมืองคือ ความยุติธรรม 

ความยุติธรรมเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 2 ประเภทคือ

  1. สิ่งที่กำหนดให้ 
  2. บุคคลซึ่งถูกกำหนดให้ 
  • ความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นเมื่อทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ได้รับสิ่งที่กำหนดให้ในแบบเดียวกัน 
  • ในทางกลับกัน สิ่งที่ไม่ถูกต้องและอยุติธรรม หากว่าคนสองคนมีคุณสมบัติเท่ากันเพียงประการเดียวแต่ได้รับส่วนแบ่งหรือสิ่งที่กำหนดให้ มากกว่าทุกๆสิ่ง 
  • ความยุติธรรมคือการแบ่งปันส่วน กล่าวคือมนุษย์อาจถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ต่างกันได้ แล้วแต่คุณค่าของแต่ละคน 
  • การที่คนหนึ่งเป็นผู้ปกครองเพราะเขามีคุณสมบัติของผู้ปกครอง แต่อีกคนเป็นช่างฝีมือไม่มีคุณสมบัติของผู้ปกครอง แต่มีความเชี่ยวชาญทางศิลปะ เหล่านี้ถือว่าไม่ใช่ความ อยุติธรรมแต่อย่างใด แต่เป็นความยุติธรรมในการจัดสรรปันส่วนอย่างหนึ่ง 


ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคทางกฎหมาย


  • ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติ โดยทัดเทียมกัน ถึงแม้มีฐานะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เสมอกัน กฎหมายทุกฉบับต้องบังคับต่อคนในสังคมทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ 
รัฐในอดมคติของอริสโตเติล
  • อริสโตเติลกล่าวว่า รัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่สร้างเสริม ให้ชีวิตที่ดีกับพลเมือง ความสุขของประชาชนในรัฐ คือความสุขของรัฐ 
  • รูปแบบการปกครองที่ดีคือ ทำให้ทุกคนในรัฐ ไม่ว่ายากดีมีจนอย่างไรก็ตามมีความสุข 
อริสโตเติ้ลกล่าวอีกว่าคนที่มีความสุขได้ต้องมีโอกาสเป็นเจ้าของสิ่งดี 3 อย่าง คือ
  1. สิ่งดีภายนอก หมายถึงการเป็นเจ้าของวัตถุ ( External goods) 
  2. สิ่งดีแห่งร่างกาย หมายถึงมีสุขภาพที่ดี ( goods of the body ) 
  3. สิ่งดีภายใน หมายถึงการรู้จุดหมายแห่งชีวิต ( goods of the soul ) 
ปรัชญาการศึกษา
  • อริสโตเติ้ลเสนอให้ทุกคนต้องได้รับการศึกษาและเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องจัดการศึกษาโดยมีจุดประสงค์สร้างพลเมืองที่ดีมีความรู้ 
ระยะแรกของการศึกษา
  • ต้องฝึกให้เด็กมีสุขภาพพลานามัยที่ดี เคยชินกับการเป็นผู้ที่มีนิสัยดี วิชาที่ควรนำมาศึกษาในระยะนี้คือ วรรณคดี การประพันธ์ จิตรกรรม และดนตรี 
  • อริสโตเติ้ลได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่าปกครองโดยคนหมู่มากแต่เขาระบุอีกว่าปกครองโดยคนจน โดยเขาเน้นทัศนะในเรื่องนี้ว่า 
  • เราไม่ควรเรียกนครรัฐที่มีคนรวยเพียง สามพันคนปกครองคนจน สามร้อยคนว่าเป็นรัฐประชาธิปไตย 
  • และการปกครองโดยคนจนแม้จำนวนน้อยต่อคนรวยจำนวนมากว่าเป็นคณาธิปไตย 

สรุปคือเขาให้ความสำคัญกับคนจนมากกว่าคนรวย โดยย้ำว่าแม้คนรวยจะมีมากกว่าคนจนปกครองรัฐนั้นก็ไม่ควรเรียกว่าประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้ามรัฐที่มีคนจนเพียงน้อยนิดแต่มีอำนาจปกครองรัฐก็ไม่ควรเรียกรัฐนั้นว่าเป็นคณาธิปไตย อริสโตเติ้ลยังเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์มหาราช กษัตริย์นักรบ แห่งมาซิโดเนีย อีกด้วย พระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์รบพุ่งไปค่อนโลกเมื่อรบชนะก็จะนำรัฐธรรมนูญปกครองของประเทศนั้นมาให้อาจารย์คืออริสโตเติ้ลได้ศึกษา มีมากถึง 158 ฉบับซึ่งทำให้อริสโตเติ้ลแบ่งแยกรูปแบบการปกครองในยุคนั้นได้อย่างชัดเจนที่สุด

ผลงานที่สร้างชื่อให้เขาคือหนังสือเรื่อง >> THE POLITICS ( การเมือง )
เปิดสำนักศึกษาชื่อ ไลเซียม ( Lyceum )

  • ข้อมูลจากหนังสือ The Politic ( การเมือง )




อริสโตเติลเป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา
อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์ดาราศาสตร์วิทยาเอ็มบริโอภูมิศาสตร์ธรณีวิทยาอุตุนิยมวิทยาฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์เศรษฐศาสตร์จริยศาสตร์การปกครองอภิปรัชญา,การเมืองจิตวิทยาวาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก 


กังวาล ทองเนตร เรียบเรียง ( รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น