Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดกลุ่มเพื่อการสื่อสาร



การจัดกลุ่มในการสื่อสาร


  • การสื่อสารแบบกลุ่มย่อยเป็นการสื่อสารด้วยการพูดประเภทหนึ่ง ที่ผู้พูดในฐานะผู้ส่งสารจะเปลี่ยนฐานะเป็นผู้ฟัง หรือผู้รับสาร และผู้ที่เคยเป็นผู้ฟังก็จะเปลี่ยนไปเป็นผู้พูด สลับกันตลอกเวลา เพื่อทราบปฏิกริยาของกันและกัน 
  • โดยในการจัดกลุ่มนี้ ในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก 6-10 คน หรืออาจขยายได้เป็น 3-15คน ก็ได้

การจัดกลุ่มดังกล่าวนี้จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภท

  1. กลุ่มติว
  2. กลุ่มมอบหมายงาน
  3. กลุ่มระดมความคิด
  4. กลุ่มวิเคราะห์แบบโสเครติส
  5. กลุ่มแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์
  6. กลุ่มอภิปรายเสรี
กลุ่มติว ( Tutorial Group) 

เป็นกลุ่มที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอนและการฝึกอบรม ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกของกลุ่ม ได้ซักถามข้อข้องใจจากครู วิทยากร อาจารย์ ได้ โดยที่ไม่มีกาสอนหรือบรรยายเนื้อหาเพิ่มเติม

กลุ่มมอบหมายงาน ( Task Group ) 

เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ทำงาน กิจกรรม หรือโครงการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ประสานและควบคุมการทำงานให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์
  • สมาชิกของกลุ่มต้องแสดงความคิดเห็น และร่วมมือกันทำงาน
  • ประธานกลุ่ม มีหน้าที่มอบงานให้สมาชิกทำเป็นกลุ่ม แนะนำให้สมาชิกรู้จักการสังเกตอย่างใกล้ชิด ประเมินผล และให้คำวิจารณ์ผลงานของสมาชิกอย่างไม่มีอคติ

กลุ่มระดมความคิด ( Brainstorming  Group)

เป็นกลุ่มที่จัดขึ้นเพื่อให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา หรือหาคำตอบ ในปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ลุล่วงไปด้วยดี

  • การแสดงความคิดเห็นของสมาชิกต้องไม่วิจารณ์หรือโต้แย้งแก้ไข ข้อความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่น
  • ส่วนประธานควรมีบทบาทในการกระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เมื่อครบทุกคนแล้วจึงค่อยสรุปคำตอบ ที่จะนำไปแก้ปัญหาดำเนินงานต่อไป

กลุ่มวิเคราะห์แบบโสเครติส ( Socrates Analysis Group )

เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีประธานเป็นผู้ช่วยเหลือทางอ้อม เพื่อให้สมาชิกได้ค้นหาคำตอบด้วยตัวเองโดยการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นหลักการที่โสเครติส นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณใช้สอนลูกศิษย์มาแล้วอย่างได้ผล

โดยกลุ่มลักษณะนี้
  • สมาชิกจะได้มีโอกาสแก้ปัญหาหรือสร้างวิธีการทำงานด้วยตนเองโดยอภิปรายกับประธานและสมาชิกด้วยกัน เพื่อพัฒนาความคิด
  • ส่วนประธาน มีหน้าที่เสนอปัญหาและเป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มเท่านั้นและร่วมอภิปรายได้ด้วย

กลุ่มแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ ( Problem Solving or Hueristic Group)

เป็นกลุ่มที่ให้สมาชิกแก้ปัญหาโดยใช้ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ทุกคนจะแก้ปัญหาเดียวกัน แล้วนำผลที่ได้มารายงาน และอภิปรายร่วมกัน
  • สมาชิกจะได้รับมอบหมายงานแล้วนำไปดำเนินการตามขั้นตอนโดยอภิปรายกับสมาชิกอื่นเพียงเล็กน้อย และช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูล สรุปวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง แล้วนำมาอภิปรายผลกับประธานและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆ
  • ประธาน มีหน้าที่คอยช่วยเหลือให้การแก้ปัญหาบรรลุผล ตอบคำถามของสมาชิกสั้นๆ โดยไม่ให้ข้อมูลถ้าสมาชิกไม่ถาม ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้สมาชิกคิด

กลุ่มอภิปรายเสรี ( Discursive Group)

เป็นกลุ่มที่เปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี และอภิปรายสนับสนุนหรือโต้แย้งความคิดเห็นของคนอื่นได้ เพื่อให้ได้ข้อสรุป หรือคำตอบในการแก้ปัญหาหรือการดำเนินงาน
  • สมาชิก แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ซักถามโต้แย้ง สนับสนุนซึ่งกันและกัน แล้วจึงช่วยกันหาข้อสรุป
  • ประธาน ดูแลการอสดงความคิดเห็นให้เป็นไปได้ด้วยดี และเฝ้าสังเกตปฏิกริยาของสมาชิกแต่ละคนไปพร้อมกัน เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างสร้างสรร
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชากการปกครอง
-การสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ขอขอบคุณ อาจารย์  รศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 
ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น