Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

คลิปเสียงประกาศคำสั่งยึดอำนาจของ รสช.เมื่อ 23/2/2534



พล.ต.จำลอง    ศรีเมือง  ถูกจับกุมในเหตุการณ์ เมื่อพฤษภาทมิฬ 2535



 จอมพล ผิน ชุณหวัณ บิดาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ที่ยึดอำนาจเมื่อปี 2490 และนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม (ฉบับที่ 4 ) ที่สถาปนาอภิรัฐมนตรีขึ้นมา



พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรี ที่ถูกยึดอำนาจ โดยคณะ รสช.


พล.อ.สุนทร  คงสมพงษ์ หัวหน้า คณะ รสช.ที่ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย







ชุดนี้ความยาว 21.16นาทีโดยประมาณ
ประกาศคำสั่ง รสช.เหตุผลในการยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ การแต่งตั้งบุคคล
ในขณะยึดอำนาจผมกำลังอยู่บนรถส่งของและกำลัง ซาวด์อะเบ้าท์ที่มีเครื่องอัดในตัว เทปม้วนที่อัดเป็นการแสดงสดของ สายัณห์ สัญญา พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น ผมหาซื้อเทปเปล่าไม่ทันผมจึงใช้เทปสายัณห์ม้วนนี้อัดทับลงไป เหตุการณ์นี้มันทำให้ผมเสียของรักไปม้วนนึง
ใครต้องการก๊อปปี้ตามมารยาทควรขออนุญาตผมให้ถูกต้องก่อนนะครับ ตามวิสัยปัญญาชน
อย่าเป็นพวกเกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลแต่กินน้ำแกงครับ

                                     
ชุดนี้เป็นคำสั่งฉบับที่ 4 เป็นต้นไป

คลิปเสียงนี้ผมได้บันทึกไว้ด้วยคลาสเส็ตเทป และได้แปลงไฟล์มาเป็น mp3 คุณภาพเสียงก็ตามเวลา แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย 

กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ลองดูได้ครับอย่างน้อยก็ได้ค่าเน็ตค่าไฟ ไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าคอมทั้งวัน
ไหนๆเราก็เปิดคอมอยู่แล้ว ไม่ต้องทำหรือขายอะไรเลยจริงๆ
วิธีหาเงินโดยไม่ต้องออกแรงและลงทุนสมัครเลยผ่านลิงค์นี้        คลิกที่นี่
ดุูรายละเอียดก่อนได้ที่นี่  >>  คลิกอ่านรายละเอียด



วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ฝ่ายซ้ายฝ่ายขวาคืออะไร



ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวามีที่มาอย่างไร



  • คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ที่มักพูดกันมีที่มาจากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ราว ค.ศ. 1790) หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ในรูปแบบสาธารณรัฐ และมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน
  • ซึ่งที่มาก็มาจากการเรียกกลุ่มที่นั่งฝั่งซ้ายมือของประธานสภา และฝั่งขวามือของประธานสภา ซึ่งทั้งสองฝั่งจะมีความคิดสวนทางกัน ฝ่ายซ้ายจะมีแนวคิดเสรีโอบอุ้มคนจน ส่วนฝ่ายขวา จะเป็นพวกหนุนเจ้าและพยายามที่จะเปลี่ยนฝรั่งเศสให้กลับไปเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้ง
  • โดยภายในห้องประชุมสมัชชา กลุ่มตัวแทนกรรมกร ชาวไร่ชาวนา ถูกจัดให้นั่งทางด้านซ้ายของท่านประธานสมัชชา (Left-wing) โดยข้อเสนอแนะของตัวแทนของคนยากจน หรือที่เรียกในสมัยนั้นว่า ไพร่กระฎุมพี ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายซ้าย
  • ขณะที่ตัวแทนของขุนนาง ทหาร นักบวช และคนร่ำรวย หรือพวกศักดินา นั่งทางด้านขวา (Right-wing) โดยข้อเสนอของกลุ่มคนเหล่านี้ ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายขวา
ต่อมาจนถึงยุคการปฏิวัติรัสเซียและจีน มีการตีความ ไพร่กระฎุมพี เปลี่ยนเป็นชนชั้นกรรมาชีพ และศักดินา เปลี่ยนเป็นนายทุน ทำให้อธิบายได้ว่า รัสเซียและจีน กลายเป็น ฝ่ายซ้าย คือฝ่ายที่คนจนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และค่ายประชาธิปไตย เป็น ฝ่ายขวา คือฝ่ายที่คนรวยเป็นใหญ่ในแผ่นดิน




จุดเริ่มต้นคู่ ซ้าย - ขวา คู่ที่ 1


  • ที่มาของซ้ายขวาที่เป็นต้นแบบจริงๆคือฝรั่งเศส ดังที่กล่าวไปแล้วแต่ข้างต้น

จะเห็นได้ชัดเจนว่าฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของฝรั่งเศสนี้ เป็นคู่ที่มีแนวทางตรงกันข้ามอย่างชัดเจน
  • และซ้ายของฝรั่งเศสนี้ก็เป็นซ้ายฝ่ายประชาธิปไตย นิยมแนวคิดแบบเสรีนิยม จัดรูปแบบรัฐให้เป็นแบบ
  • สาธารณะรัฐ ( Republic ) มีสภา มีตัวแทนประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย
  • ในขณะที่ฝ่ายขวา ก็จะเป็นพวก ขุนนาง นักบวช ทหาร เศรษฐี และชนชั้นนำ กลุ่มนี้ก็มีแนวทางที่ชัดเจนเช่นกันว่า ต้องการที่จะให้ฝรั่งเศสกลับไปปกครองในรูปแบบ ราชาธิปไตยอีกครั้ง แทนแบบสาธารณะรัฐ ที่กำลังเป็นอยู่ และรูปแบบของประเทศเป็นแบบราชอาณาจักร ( Kingdom )
  • การต่อสู้ของคนทั้งสองกลุ่มนี้มีการ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และมีการเปลี่ยนการปกครอง จากสาธารณะรัฐไปเป็น ราชาธิปไตย และ ระบบจักรวรรดิ์ และสาธารณะรัฐ สลับไปมาอยู่หลายปี ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว



  • ดังนั้น ซ้าย-ขวา ของฝรั่งเศส เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองของคนภายในฝรั่งเศสเองทั้ง ซ้าย - ขวา



คู่ซ้าย -ขวา  คู่ที่ 2


  • เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย และจีน สิ้นสุดลง เนื่องจาก รัสเซียและจีน ได้หยิบยก กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ปฏิวัติ เมื่อปฏวัติสำเร็จ จึงมีผู้ตีความ การเมืองของรัสเซียและจีนว่า เป็นการเมืองที่ปกครองโดยคนจนหรือชนชั้นกรรมาชีพ ( ไพร่ ) ซึ่งซ้ายในความหมายของคู่ที่ 2 นี้มีเนื้อหาแตกต่างจากซ้ายต้นแบบของฝรั่งเศส เพราะ ซ้ายของจีนกับรัสเซีย เป็นแบบคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ตามลัทธิคอมมิวนิสต์ ของ คาร์ล มาร์กซ์ และปรับมาใช้โดย เลนิน จึงเรียกรวมกันว่า มาร์กซ์-เลนิน ในขณะที่ซ้ายฝรั่งเศสคือประชาธิปไตยแบบสาธารณะรัฐ นี่คือความแตกต่าง
  • ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่งคือฝั่ง สหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกมองว่า ใช้ระบบทุนนิยม และคนรวยเป็นผู้ปกครองประเทศ ฝั่งอเมริกา จึงถูก นำมาประกบคู่กับ ซีกโลกค่ายคอมมิวนิสต์คือโซเวียตรัสเซีย และ จีน ที่ถูกจัดให้เป็นซ้าย ดังนั้น สหรัฐอเมริกา เมื่อนำมาเปรียบเทียบประกบคู่จึงถูกกันให้เป็นฝ่ายขวา
  • แต่คำว่าขวาในที่นี้ก็ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกับขวาของฝรั่งเศส เพราะการเมืองในอเมริกาไม่ได้แตกแยกจากกรณีนี้ เมื่อครั้งสงครามการเมืองก็เกิดจากรัฐฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ เรื่องการค้าทาส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน
  • แต่อเมริกาถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ดังนั้นอเมริกาจึงเป็นฝ่ายขวา แต่เป็นขวาแบบประชาธิปไตย รูปแบบรัฐเดิมทีเดียวอเมริกาเป็นแบบสมาพันธรัฐ และได้เปลี่ยนมาเป็น สหพันธรัฐ

  • ดังนั้นในความหมาย ซ้ายขวาของคู่นี้ จึงเป็นเรื่องของการเมืองโลกระหว่างสองค่ายมหาอำนาจของโลก อย่างโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ และ สหรัฐอเมริกาที่เป็นโลกค่ายเสรี 




ส่วนคู่ที่3 กัมพูชาผมเรียกมันว่าคู่พิกล
พราะมันผิดรูปแบบ ไม่ชัดเจนในรูปแบบ แต่เขาก็เรียกตัวเองว่าฝ่าย ซ้าย ฝ่ายขวาเช่นกัน และมันเป็นอีกหน้าหนึ่งของการเมืองโลก ผมจึงได้นำมาอธิบายไว้ตรงนี้ด้วย


  1. ฝ่ายขวาของกัมพูชา นำโดย นายพล ลอนนอล ( Lon Nol ) และนายพลเจ้าสิริมาตะ เป็นแกนนำฝ่ายขวาจัดกลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมหรือเอียงไปทางค่ายของอเมริกาในระยะต้นขวานี้ก็ต้องการให้มีระบบกษัตริย์ด้วย
  2. ฝ่ายซ้ายนำโดย นาย เขียว สัมพัน ( Khieu Samphan)  และนาย เอียง สารี ( Ieng Sary) กลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมไปค่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือรัสเซียและจีน
  • ฝ่ายขวาต้องการให้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นแบบทุนนิยมตามอย่างอเมริกา
  • ส่วนฝ่ายซ้ายกลับเสนอให้ยึดกิจการต่างๆให้ตกเป็นของรัฐตามแนวทางมาร์กซ์ซิสต์
  • แต่ที่แปลกก็คือ ซ้ายแบบเขมร ยังคงให้มีระบบกษัตริย์อยู่ นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่ามันพิกลผิดรูปผิดแบบแผน
  • แต่เมื่อเราวิเคราะห์ลงไปให้ลึกจะเห็นว่ากษัตริย์สีหนุมีแนวคิดเอียงมาทางรัสเซียและจีนชัดเจน ดังนั้นคงไม่ผิดถ้าผมจะเรียกว่า ตัวเจ้ากลับเป็นซ้ายเสียเองตามแบบ จีนรัสเซีย ต้องการให้กัมพูชาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมตามฝ่ายซ้ายเสนอ แต่แก้ปัญหาชาติไม่ได้ จนเจ้านโรดมสีหนุ ยอมให้นายพล ลอนนอล และเจ้าสิริมาตะเข้ามาคุมอำนาจในรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่เจ้าสีหนุก็ไม่พอใจรัฐบาลของ ลอนนอล เช่นกัน จนในที่สุดฝ่ายขวาของ ลอนนอลได้โค่น ระบบกษัตริย์คือเจ้าสีหนุลง นำไปสู่สงครามกลางเมืองแตกเป็นเขมร สามฝ่าย เขมรสี่ฝ่าย เขมรแดงในเวลาต่อมา




ส่วน คู่ต่อมาคือไทย คู่นี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากกัมพูชาเท่าใดนัก

  • กล่าวคือฝ่ายที่เรียกตัวเองหรือถูกเรียกว่าซ้าย เรียกตัวเองว่าสหายทั้งหลาย ส่วนใหญ่นิยมแบบมาร์กซ์ซิสต์ตามอย่างรัสเซียและจีน ต้องการจัดรูปแบบรัฐเป็นสาธารณะรัฐ และสังคมนิยม ไม่นิยมอเมริกาและทุนนิยม แต่กลับมีบางส่วนที่นิยมอเมริกา
  • ดังนั้นซ้ายของไทยอาจสรุปได้ว่าเป็นซ้ายแบบโลกคอมมิวนิสต์
  • ส่วนขวาของไทยกลับไม่ใช่คู่ของมันคืออเมริกา แต่กลับเป็นขวาแบบฝรั่งเศสคือขวาตกขอบสุดโต่งเช่นกัน
  • จะเห็นได้ว่ามันเป็นการจับคู่ขัดแย้งที่ผิดคู่มารวมไว้ในการเมืองไทยจึงทำให้หลายคนสับสนว่า ซ้าย-ขวาในไทยมันต่างจากซ้ายขวาของฝรั่งเศส และอเมริกาอย่างไร ตามที่ผมได้อธิบายไว้แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ผมจึงสรุปได้ว่าคำว่าซ้ายขวามันมี 2 รูปแบบครึ่ง

ซ้าย 2 รูปแบบครึ่ง

  1. ซ้ายต้นแบบตามอย่างฝรั่งเศสผมใช้สีขาวแทนรูปแบบนี้ซึ่งเป็นซ้ายประชาธิปไตยแบบสาธรณะรัฐ
  2. ซ้ายตามอย่างรัสเซียและจีน เป็นซ้ายแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตามแนว มาร์กซ์ -เลนิน
  3. ซ้ายครึ่งเดียวตามแบบฉบับเขมร มีแนวคิดเอียงซ้ายตามโลกคอมมิวนิสต์ แต่เนื้อในกลับมีศักดินาซึ่งขัดหลักทฤษฎีตามต้นฉบับของ คาร์ล มาร์กซ์
ขวา มี 2 รูปแบบครึ่ง
  1. ขวาตามต้นแบบฝรั่งเศสคืออนุรักษ์นิยมสุดขั้วต้องการให้ประเทศคงรูปแบบราชอาณาจักร
  2. ขวาแบบสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า กรณีอเมริกาที่เป็นขวาเพราะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ของรัสเซียและจีน ซึ่งตัวอเมริกาเองไม่ได้เรียกตัวเขาเองว่าขวาเหมือนที่อื่นแต่ข้างต้น ดังนั้นขวาตามความหมายของอเมริกาจึงเป็นขวาแบบ ประชาธิปไตย ต่างจากขวาฝรั่งเศสสุดขั้วเช่นกัน
  3. ขวาแบบกัมพูชา แม้นิยมขวาแบบเดียวกับอเมริกา แต่ระยะต้นก็ยังให้มีการปกครองประเทศในรูปแบบราชอาณาจักรอยู่ จึ่งเป็นขวาไม่เต็มรูปแบบตามอย่างอเมริกานั่นเอง
จึงสรุปได้ว่า

  • ซ้ายมี 2 ความหมายคือ
  1. ซ้ายประชาธิปไตย  (ฝรั่งเศส )
  2. ซ้ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (จีนรัสเซีย )
  • ขวามี 2 ความหมายคือ
  1. ขวาสุดขอบคืออนุรักษ์นิยม  (ฝรั่งเศส )
  2. ขวาโลกเสรีค่ายอเมริกา ตามที่ผมได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด
คราวนี้ท่านก็จงตรวจสอบอุมการณ์ของตัวท่านเองว่า ท่านซ้ายแบบไหน หรือขวาแบบไหนตามที่อธิบายแต่ข้างต้น

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง ศศ.บ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เรแนสซองส์ Renaissance คืออะไร



ผลงานของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี่

  • รอแนสซองส์ ( Renaissance) หมายถึงยุคของการฟื้นฟู หรือการเกิดใหม่ ทั้งด้านศิลปวิทยาการของยุโรป
  • กล่าวคือเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง ทำให้ศิลปวัฒนธรรมและความรู้ต่างๆในยุครุ่งเรืองของยุโรปถูกทำลายลงไปด้วย
  • เมื่อยุคมืดของยุโรปสิ้นสุดลงก็มีบรรดาเศรษฐีได้คิดรวบรวมและอุปถัมภ์ศิลปินขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี
  • โดยนักวิชาการหลายคนเห็นว่า เรแนสซองส์ เป็นยิ่งกว่าการเกิดใหม่ เพราะเป็นทั้งการเชื่อมต่อยุคสมัยคือยุคกลางกับยุคสมัยใหม่เข้าด้วยกัน

ขบวนการเรแนสซองส์ได้เริ่มขึ้นที่อิตาลีก่อนประมาณ ค.ศ.1400

มีพ่อค้าชาวเวนิส เป็นเจ้าของกองเรือขนาดใหญ่มากถึง 300 ลำ และเรือที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 ตันอีก 3,000 ลำ เรือสำเภาอีก 45 ลำ มีฝีพาย 28,000 นาย ใช้ช่างไม้ต่อเรืออีก 6,000 นาย กองเรือของเขาออกค้าขายตามเมืองสำคัญ เช่น ฟลอเรนส์ เจนัว ปิซ่า และโรม
  • และต่อมาเริ่มมีผู้คนสนใจเศษซากของความยิ่งใหญ่ในอดีต เหล่าบรรดา ขุนนางและพ่อค้าจึงหันมาสะสมของเก่าและสนับสนุนโครงการและเผยแพร่ความเจริญสมัยยุคคลาสสิคโบราณ
  • โดยตระกูล เมดิชี่ 
  • ได้ส่งเสริมศิลปินประจำถิ่นและจัดตั้งโครงการสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้น
และมีศิลปินที่ร่วมทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ได้แก่

แบร์โทลโด  ไมเคิล แองเจโล  ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ เป็นต้น
และ แวโรซีโอ ลอเรนโซ เดอ เมดิชี่ เป็นทั้ง กวี และคีตกวี จึงทำให้เหล่าศิลปินนิยมชมชอบเขาด้วย เพราะพวกเขาต้องการความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง เรียกว่า ธรรมเนียมปัจเจกชนนิยม แต่ก็มีศิลปินส่วนหนึ่งที่รับจ้างให้กับพวกขุนนางและโบสถ์คริสต์

  • ซึ่งในยุคสมัยนี้การยึดถือลัทธิวีรคติ เริ่มเสื่อมลง และสิ่งที่กำลังจะมาแทนคือ อุดมคติสุภาพชน
  • ลัทธิวีรคติ >>> คลิกอ่านที่นี่

( Very perfect gentlemen ) หรือความนิยมวางมาดวางท่าทีให้เหมาะสม ซึ่งแนวคิดนี้มีอยู่ในหนังสือ สุภาพชน ( IL Cortigiano ) เขียนโดย บาลดาสซาร์ คาสตีญลีโอน เมื่อ ค.ศ. 1478-1529 จนได้รับความนิยม 
  • บางส่วนของหนังสือ เช่น ผู้ที่กำเนิดในตระกูลขุนนาง ต้องมีมารยาทสุภาพเรียบร้อยทั้งกายใจ มีมาตรฐานและรสนิยม ขุนนางจะเติบโตขึ้นมากับ การฝึกอาวุธ กีฬา เต้นรำอย่างสง่างาม และการดนตรี รวมไปถึงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาลาติน วรรณคดี ศิลปะต่างๆ

  • และยังระบุอีกว่าสตรีจำเป็นต่อสภาพแวดล้อมที่จะทำให้คนเป็นสุภาพบุรุษได้ เพราะสตรีทำให้เราเกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ไม่ว่าบุรุษนั้นจะมีสันดานหยาบช้าเพียงใดเมื่ออยู่ต่อหน้าสตรีเพศแล้วก็จะทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสุภาพบุรุษขึ้นมาได้
  • เขายังกล่าวอีกว่า สตรีจึงควรจะฝึกฝนตัวเองให้พร้อมแก่บุรุษ เช่นการวางตัว การแต่งกาย กริยาท่าที ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสนทนากับบุรุษได้อย่างเสมอกัน
  • สตรีจำเป็นต้องเรียนหนังสือ วรรณคดี ศิลปกรรม การบ้านการเมือง และรู้หลายภาษาอีกด้วย ฯลฯ
  • ศิลปินมากมายแข่งขันกันผลิตผลงาน รวมถึง ไมเคิล แองเจโล และ ดาร์วินชี่ด้วย ทั้งสองอยู่ที่ฟลอเรนส์และต่างมีความเชี่ยวชาญ ในการสื่อแนวคิดผ่านออกมาทางภาพได้จนเป็นที่ประจักษ์
  • จนทั้งสองกลายเป็นคู่แข่งกันในเวลาต่อมา

งานที่สำคัญของ ดาร์วินชี่ เช่น Virgin of the Rock,The Last supper ,The MONA Lisa เป็นต้น


Virgin of the Rock

  • ส่วนแองเจโล เขาเชี่ยวชาญงานที่เป็นรูปตัวคน งานที่เลื่องชื่อของเขาคือ ภาพวาดในโบสถ์ชืองานว่า

The Sistine Chapel ซึ่งมีรูปคนแทรกอยู่มากมายถึง 350 รูป แทบทุกช่องว่าที่เขาสามารถวาดมันลงไปได้  


 The Sistine Chapel ของแองเจโล

 The Sistine Chapel

 The Sistine Chapel

The Sistine Chapel


  • สมัยเรแนสซองส์มีความเจริญถึง 200 ปี จึงเสื่อมลงเมื่อประมาณ ค.ศ.1550 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งคือสงคราม โดยฝรั่งเศสได้บุกยึดอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1494 และได้นำคนภายนอกเข้ามายังอิตาลีและได้ทำลายดินแดนี้ให้ราบลงอีกครั้ง
  • รวมไปถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเพราะเศรษฐกิจของอิตาลียุคนี้จะเป็นแบบผูกขาดโดยชนชั้นกลางที่ค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกและการค้ากับโลกตะวันออก สิ้นสุดลง
  • เรแนสซองส์อาจสรุปได้ว่า เป็นขบวนการของพวกขุนนางที่มีความเชื่อว่าชนชั้นของตนมีวัฒนธรรมที่สั่งสมมานาน เป็นเรื่องของลัทธิที่มนุษย์นิยมในตัวมนุษย์ว่าเป็นสิ่งพิเศษ 
  • และนิยมสะสมศิลปินและผลงานไว้ในสังกัดของตนเอง เพื่อประดับบารมี รสนิยม ค่านิยมในยุคนั้นๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เรแนสซองส์ เป็นยุคทองของศิลปินด้วยเช่นกันที่จะได้สร้างผลงานฝากไว้ให้กับโลกสืบมาจนวันนี้



ภาพด้านล่างทั้งหมดเป็นผลงานของ ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่

 ช่วงชีวิตหนึ่งเขาได้แอบผ่าศพและวาดภาพทุกอณูที่เขาได้เห็นไว้ จนถูกกล่าวว่าเขาเป็นบ้า แต่ผลงานของเขากลับเป็นประโยชน์กับนักศึกษาแพทย์ในเวลาต่อมา


 ดาร์วินชี่


 แบบร่างอาวุธในจินตนาการที่ดาร์วินชี่ออกแบบร่างไว้



St.John the Baptist เชื่อกันว่านี่เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของดาร์วินชี่

 The Mona Lisa


 โครงสร้างทางกายภาค ซึ่งต่อมาได้ถูกนำเข้าไปในการศึกษา


อ้างอิงจาก
Thank you friend blog >>[12 ] 3 ] 4 ] 5 ] 6 ] 7 ] 8 ] 9 ] 10 ] 11 ] 12 ]








วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

รายชื่อข้าหลวงอังกฤษที่ไปปกครองอินเดีย



                  
Robert Clive ค.ศ. 1757-1760

รายชื่อข้าหลวงของอังกฤษที่เข้ามาปกครองอินเดียสมัยที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียมีดังนี้

ตำแหน่งข้าหลวงมี 6 คน ( The Governors of Bengal )

  1. โรเบิร์ต ไคลฟ์      ( Robert Clive 1757-1760 )
  2. โฮเวลล์                  ( Holwell 1760-1760 )
  3. แวนซิททาร์ต        ( Vansittart  1760-1765 )
  4. โรเบิร์ต ไคลฟ์       ( Robert Clive 1765-1767) ครั้งที่ 2
  5. เวอร์เรลสต์            ( Verelst 1769-1772 )
  6. คาร์เทียร์                (  Cartier  1769-1772 )
  7. วอร์เรน  เฮสติงส์    (  Warren Hastings  1772-1774 )
ข้าหลวงมีอำนาจหน้าที่

ประสานงานระหว่าบริษัทอินเดียตะวันออกกับรัฐบาลอังกฤษ ตลอดจนให้ความคุ้มครองคนอังกฤษในอินเดีย

ตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ ( The Governors General )
  1. วอร์เรน เฮสติงส์                   ( Warren hasting  1774-1785)
  2. แมคเฟอร์สัน                         ( Macpherson  1785-1786)
  3. ลอร์ด คอร์นวอลลิส             ( Lord Cornwallis 1786-1793)
  4. เซอร์ จอห์น ชอร์                  ( Sir John Shore 1793-1798)
  5. ลอร์ด  เวลเลสลีย์                 ( Lord Wellesly 1798-1805)
  6. ลอร์ด คอร์นวอลลิส             ( Lord Cornwallis 1805-1806)
  7. เซอร์ จอร์จ บาร์โลว์             ( Sir George  Barlow 1806-1807 )
  8. ลอร์ด มินโต                          ( Lord Minto 1807-1813 )
  9. มาร์ควิส  เฮสติงส์                  ( Marquis Hasting  1813-1823)
  10. จอห์น  อาดัม                         ( John Adam   1823-1823)
  11. ลอร์ด อามเฮิร์สต์                   ( Lord Amherst  1823-1828 )
  12. ลอร์ด วิเลี่ยม  เบนทิงค์          ( Lord William Bentinck  1828-1835 )   
  13. ชาร์ลส เมทคอลฟ์                 ( Charles Metcalfe  1835-1837)
  14. ลอร์ด อาร์คแลนด์                 ( Lord Arcland  1837-1842)
  15. ลอร์ด เอลเลนโบเราจ์            ( Lord Ellenborough  1842- 1844)
  16. ลอร์ด ฮาร์ดดิงส์                     ( Lord Harding 1844- 1847)
  17. ลอร์ด ดัลฮูซี                           ( Lord Dalhousie  1847- 1856)
  18. ลอร์ด แคนนิ่ง                          ( Lord Canning 1856 -1858)     

ข้าหลวงใหญ่มีอำนาจหน้าที่ สร้างอำนาจจักรวรรดิ์นิยมในอินเดีย เสนอร่างกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆไปยังรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้กษัตริย์อังกฤษลงพระนามประกาศใช้

ตำแหน่งอุปราช ( Viceroys )
  1. ลอร์ด แคนนิ่ง                                              ( Lord Canning  1858-1862)
  2. ลอร์ด เอลจิน                                              ( Lord Elgin  1862 -1863)
  3. โรเบิร์ต นาเปียร์ และวิลเลี่ยม เดนิสัน          (  Robert Napier and William Demison 1863-1864 )
  4. ลอร์ด ลอร์เรนซ์                                           ( Lord Lawrence  1864-1869 )
  5. ลอร์ด เมโย                                                  ( Lord Mayo       1869-1872 )
  6. ลอร์ด นอร์ธบรูค                                           ( Lord Northbrook  1872- 1876 )
  7. ลอร์ด ลิตตัน                                                 ( Lord  Lytton  1876-1880)
  8. ลอร์ด ริปปอน                                                ( Lord Ripon  1880-1884  )
  9. ลอร์ด ดัฟเฟอรีน                                            ( Lord Dufferine  1884-1888 )
  10. ลอร์ด แลนส์โดวน์                                          ( Lord Landsdowne  1888-1894)
  11. ลอร์ด เอลจิน                                                  ( Lord Elgin    1894-1899 )
  12. ลอร์ด คูร์ซอน                                                 ( Lord Curzon  1899-1905 )
  13. ลอร์ด มินโต                                                    ( Lord minto 1905-1910 )
  14. ลอร์ด ฮาร์ดดิงส์                                              ( Lord  Harding  1910-1916)
  15. ลอร์ด เชล์มสพอร์ต                                         ( Lord  Chelmsford 1916-1921 )
  16. ลอร์ด รีดดิง                                                     ( Lord Reading  1921-1926 )
  17. ลอร์ด เออร์วิน                                                 ( Lord Irwin 1926-1931)
  18. ลอร์ด วิลลิงดอน                                             ( Lord Willingdon  1931-1936)
  19. ลอร์ด ลินลิธโกว์                                              ( Lord  Linlithgow 1936-1944 )
  20. ลอร์ด วาเวลล์                                                   ( Lord Wavell   1944-1947 )
  21. ลอร์ด เมาท์แบทเทน                                        ( Lord Mounbatten  1947  มอบเอกราชคืนกลับสู่อินเดีย ) 


ตำแหน่งอุปราชมีหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนกษัตริย์อังกฤษ โดยมีอำนาจเสมือนดั่งเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ
Lord Mounbatten 










กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


อ่านเพิ่มเติมที่ >>>[ 1 ] [ 2 ]

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรฮิบรูว์ The Hebrew Kingdom



Our Lady of the Miracle - An Apparition Beloved by Hebrew Catholics


อาณาจักรฮิบรูว์ ( The Hebrew Kingdom )


  • ฮิบรูว์ หรือ ยิวเป็นเผ่า เซมิติก ที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส และตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนคานาน ( ปาเลสไตน์ )


  • ตลอดเวลาชาวฮิบรูว์ ต้องเผชิญจากภัยคุกคามจากพวก ฟิลิสไตน์ ( Philistine) และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนกลุ่มนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ ซามูเอล และ ซอล ประมาณ 1,025 ปี ก่อนคริสตกาล
  • และชาวฮิบรู ได้ล้มล้างการปกครองของพวก ฟิลิสไตน์ลงได้ในที่สุด ในสมัยของ กษัตริย์ เดวิด ( David ) ประมาณปี 1013 -973 ก่อนคริสตศักราช


 และได้มีการสถาปนาอาณาจักร ฮิบรูว์ ขึ้น

  • มีเมืองหลวงอยู่ที่ เยรูซาเล็ม และเป็นศูนย์กลางทางศาสนา สังคม การเมือง และฮิบรูว์ มาเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้า โซโลมอน โดยพระองค์ปกครอง โดยให้ความยุติธรรมและเท่าเทียม มีเศรษฐกิจก้าวหน้ามีการขยายเขตการค้าเข้าไปยังอียิปต์ และฟินิเชีย


  • ต่อมาเมื่อพระเจ้าโซโลมอนสิ้นพระชนม์ ได้เกิดกบฎขึ้นในราชอาณาจักร ทำให้ ฮิบรูว์ แตกออกเป็น 2 ส่วนได้แก่


  1. อิสราเอล อยู่ทางตอนเหนือ มีเมืองหลวงชื่อ  ซามาเรีย
  2. จูดาห์  อยู่ทางตอนใต้ มีเมืองหลวงชื่อ เยรูซาเล็ม


เงินของชาวฮิบรูว์

ทั้งสองอาณาจักรสามารถดำรงอยู่ได้นานถึง 200 ปี หลังจากนั้นทั้งสองอาณาจักรถูกรุกราน ก่อนศตวรรษที่ 6 อิสราเอล ต้องตกเป็นของ แอสซีเรีย

  • และต่อมาพระเจ้าเนบูดัดเนซซาร์ แห่ง แคลเดีย ได้ส่งกองกำลัง เข้าทำลายยูรูซาเล็มลงได้อีก และได้กวาดต้อนไพร่พล ชาวยิว ไปไว้ที่ บาบิโลน เป็นเหตุการณ์คุมขังที่ลือชื่อในประวัติศาสตร์ ที่เรียกว่า การคุมขังที่บาบิโลเนีย ( Babylonian Captivity )
  • ต่อมาเป็นยุคที่เปอร์เซีย ( อิหร่าน ) มีอำนาจ พระเจ้าไซรัส แห่งเปอร์เซีย ได้ปลดปล่อยชาวฮิบรูว์ ให้เป็นอิสระ 
  • บางส่วนได้กลับคืนสู่ปาเลสไตน์ แต่มีสถานะเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซียแทน

ในยุคกรีกมีอำนาจ
 ฮิบรูว์ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรีกแทนจากเปอร์เซีย
  • ยุคที่โรมันรุ่งเรือง ฮิบรูก็ต้องไปอยู่ภายใต้ปกครองของโรมันอีกครั้ง 
  • นับว่าเป็นความตกต่ำของชาวฮิบรูจนถึงขีดสุด ชาวฮิบรูว์ อยู่ในสภาพคนไร้รัฐต้องเร่ร่อนหนีไปอาศัยตามเมืองต่างๆ ทั้งฝั่งยุโรป และเอเชียตะวันตก จนกลายเป็นชาวยิวที่ไร้รัฐ 
  • บางส่วนหนีเข้าไปอยู่ในอียิปต์ ในราว 1600 B.C. ได้ไปตั้งถิ่นฐานในแถบเดลตา แต่ถูกฟาโรห์จับไปเป็นทาสในราว ค.ศ. 1300-1250 







  • ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อ ชาวฮีบรูว์  ด้วยเกรงว่าพวกเขาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้แยกฮีบรูว์ให้ไปอยู่อีกอาณาเขตหนึ่งห่างจากพวกตน และลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด  อีกทั้งปริมาณประชากรของชาวฮีบรูได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฟาโรห์ต้องมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก



  • อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่ามีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ เพราะมารดาได้นำเด็กใส่ตระกร้าลอยน้ำ เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งทรงพบเข้า และนำเขาไปอุปการะ ประทานชื่อว่า โมเสส" (Moses) พระนางตรัสว่า เพราะเราได้ฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ

ภาพยนต์เอนิเมชั่นที่บอกเล่าเรื่องราวของชาวฮิบรูว์โดยอิงประวัติศาสตร์


  • โมเสส เติบโตขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาดี และได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง เขามีจิตเมตตา และสงสารทาสชาวฮีบรูว์ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์



  •  และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่างๆ จนพลั้งเผลอสังหารผู้คุมคนหนึ่ง เพื่อต้องการช่วยเหลือทาสที่กำลังถูกทารุณ กาลนั้นเขาได้ละทิ้งตำแหน่งและฐานันดรของตัวเอง มาอยู่กับพวกทาสชาวฮีบรูว์  และพาพวกอิสราเอล



  •  พวกฮิบบรูว์มีผู้นำคนใหม่คือ โมเสส ได้ทำการปลดปล่อยพวกฮิบบรูว์เป็นอิสระและพาไปอยู่ที่คาบสมุทรซีนาย โมเสสได้รวบรวมพวกฮิบบรูว์เผ่าต่างๆเข้าด้วยกัน 
  • เป็นการรวมแบบสมาพันธรัฐ และแนะนำให้พวกฮิบบรูว์นับถือยาห์เวห์ หตือยะโฮวาห์ การที่รวมกันได้ครั้งนี้เองทำให้พวกฮิบบรูว์พยายามจะยึดดินแดนปาเลสไตน์ให้หมด ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นอาณาจักรของพวกเจริญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนช้านานแล้ว เรียกว่าพวก เคนันไนท์ (Canannite)


  • โมเสส พา ฮีบรูว์ถึงสามแสนคนออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูว์ถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ที่ทรงประทานให้แก่พวกเขา และระหว่างทางที่โมเสส นำชาวอิสราเอลกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ ยาโคบเคยอยู่ โมเสสได้พบพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย และรับพระบัญญัติสิบประการ The Ten commanment ที่นั้น



ด้านศาสนา 
ชาวฮิบรูว์เคารพบูชาในพระเจ้าองค์เดียว คือพระยะโฮวาห์ ( Monotheism) พระองค์ส่งผู้นำศาสนาให้แก่ชาวยิวในรูปของศาสดาพยากรณ์ ( Prophets ) ทำการสั่งสอนและชักชวนชาวฮิบรูว์ให้นับถือและเคารพในพระบิดาซึ่งเป็นพระเจ้าที่แท้จริงเพียงองค์เดียว







แผนที่แบ่งแนวเขตระหว่างฮิบรูว์ทั้งสองออกจากกันเป็นเหนือใต้คือ อิสราเอล และจูดาห์ ซึ่งเป็นยิว หรือฮิบรูว์ด้วยกัน


 The Hebrew Kingdom


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง  (ศศ.บ ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ้างอิง >>>  [] ] 2 ] [3 ] [ 4 ] [ ] [ 6 ][ 7 ] [ ] [ 9 ] [ 10 ]


ข่าวดีมาฝากครับ


ลองดูได้ครับอย่างน้อยก็ได้ค่าเน็ตค่าไฟ ไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าคอมทั้งวัน
ไหนๆเราก็เปิดคอมอยู่แล้ว ไม่ต้องทำหรือขายอะไรเลยจริงๆ
วิธีหาเงินโดยไม่ต้องออกแรงและลงทุนสมัครเลยผ่านลิงค์นี้        คลิกที่นี่
ดุูรายละเอียดก่อนได้ที่นี่  >>  คลิกอ่านรายละเอียด