ศาสนาอิสลาม
- ศาสนาอิลสลาม จัดอยู่ในกลุ่ม ศาสนา เอกเทวนิยม คือ เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว และเป็นศาสนา ที่มาสายเดียวกันกับ ศาสนา ยิว และศาสนาคริสต์ มีความมุ่งหมายคือ พระเจ้าสูงสุดองค์เดียวเท่านั้น ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือศาสดาของศาสนาคือ ท่าน นบีมูฮัมหมัด
ชีวประวัติของท่านนบีมูฮัมหมัดพอสังเขป
- ท่านนบีมูฮัมหมัด เกิดที่เมืองเมกกะ ประเทศอาหรับ ( ปัจจุบันคือซาอุดีอารเบีย ) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.1113 เป็นบุตรคนเดียวของท่านอับดุลเลาะห์ และนางอามีนะนะฮ์
- ท่านนบี กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เป็นปู่ จึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาปู่ของท่านก็ถึงแก่กรรมไปอีก ผู้เป็นลุงจึงนำไปอุปการะจนอายุได้ 25 ปีท่านจึงได้แต่งงานกับหญิงหม้ายวัย 40 ปี ชื่อนางคอดียะห์ มีบุตรด้วยกัน 6 คน เป็นชาย 2 เป็นหญิง 4 คน แต่บุตรชายของท่าน เสียชีวิตหมดทั้ง 2 คน ท่านจึงได้นำ อาลี บุตรของลุงมาเลี้ยงแทน
- เมื่ออายุได้ 40ปี ท่านนบีได้ออกแสวงหาความวิเวก ณ ถ้ำ ฮิรอฮ์ ห่างจากเมือง เมกกะประมาณ 3 ไมล์
- วันหนึ่งท่านนบีได้พบกับเทพญิบรออิล ผู้เป็นฑูตแห่งสวรรค์ซึ่งได้ยื่นโองการจากสวรรค์ให้ท่าน เมื่อกลับบ้าน ท่านนบีได้เล่าให้ภรรยาฟัง ภรรยาจึงกล่าวกับท่านว่าท่านจะได้เป็นศาสดา
การประกาศศาสนา
- การประกาศศาสนาเริ่มขึ้นที่เมกกะ เมื่อท่านนบีอายุได้ 40 ปี โดยช่วง 3 ปีแรกการประกาศศาสนาเป็นไปอย่างเร้นลับ ต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากมาย เพราะผู้คนยังเชื่อและยึดติดอยู่กับความเชื่อดั้งเดิม
- ท่านนบีจึงถูกปองร้ายจึงได้อพยพไปยังเมืองยัทริบ ( Yarthrib) การอพยพครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.1165 คือเริ่มศักราชที่ 1 ของการอพยพ และนับเป็นการเริ่มต้น แห่งฮิจเราะห์ศักราชของศาสนาอิสลาม
- ในขณะที่ท่านนบีได้พำนักอยู่ที่เมือง ยัทริบ กองทัพของเมกกะได้ยกมารุกราน ถึงแม้กำลังจะมีน้อยกว่า แต่ท่านนบีก็สามารถปราบทัพของเมกกะได้อย่างราบคาบ
- ต่อมาเมืองยัทริบได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเมือง เมดินา และท่านนบีมูฮัมหมัดได้รับเกียรติให้ปกครองเมืองนี้
- และช่วงเวลานี้ท่านนบีก็ได้ทำสงครามกับชาวเมืองเมกกะอีกหลายครั้งและได้รับชัยชนะ ในพ.ศ. 1173
- และในที่สุด ศาสนาอิสลามก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองเมกกะนี้ และได้สถาปนาอาณาจักรของชาวอาหรับขึ้น
- ท่านนบีได้นำเผยแผ่ศาสนาอิสลามมาได้ 23 ปี ท่านก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 1175 รวมอายุของท่านได้ 63 ปี
คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม
คัมภีร์ของศาสนาอิสลามมีทั้งหมด 104 คัมภีร์ แต่ที่สำคัญมี 4 คัมภีร์คือ
- คัมภีร์เตารอต ได้แก่พันธสัญญาเดิมของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ประทานแก่ โมเสส หรือ นบีมูชา
- คัมภีร์ชาบูร ประทานแก่นบีดาวูด หรือ เดวิด
- คัมภีร์อินญิล ประทานแก่ บีอีซา ( พระเยซู ) คือคัมภีร์ พันธสัญญาใหม่ ซึ่งผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป
- คัมภีร์อัลกุรอาน หรือโกรัน ( Koran )ประทานแก่ นบีมูฮัมหมัด ซึ่งถือว่าเป็นภาคจบหรือภาคสุดท้าย ของคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานต่อมนุษย์
นิกายของสาสนาอิสลาม
- ศาสนาอิสลามก็เช่นเดียวกับสาสนาอื่น เมื่อสิ้นองค์ศาสดา ก็จะมีผู้ตีความพระคัมภีร์ตามความเชื่อของตนจนเกิดนิกายใหม่และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างจากเดิมออกไป
- ศาสนาอิสลามคล้ายคลึงกับศาสนาคริสต์คือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว โดยอิสลามใช้สัญลักษณ์ของศาสนา เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว คล้ายจะอมดวงดาว และมีนิกายสำคัญดังนี้
- นิกายซุนนี ( Sunni ) คำว่าซุนนี หรือสุหนี่ เป็นคำที่มีรากศัพย์มาจากภาษาอาหรับ คือคำว่า ซุนนะฮ์ ที่แปลว่า จารีต นิกายนี้มีการปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดา โดยยึดคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วย เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุด และมีผู้นับถือมากที่สุดในศาสนาอิสลาม โดยใช้หมวกสีขาว เป็นเครื่องหมายแห่งนิกาย มีหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นิกายนี้ยกย่องว่า กาหลิบ และอิหม่าม เป็นผู้สืบทอดศาสนา ต่อจากท่านนบี กาหลิบคนแรกของนิกาย ซุนนี คือ อาบูบากร์ ซึ่งเป็นพ่อตาของท่านนบีมูฮัมหมัด และถือเอาว่าผู้ที่สืบเชื้อสายจาก อาบูบากร์ เป็นกาหลิบที่แท้จริง
- นิกายชีอะห์ ( Shiah ) หรือ Shi- ite หรือ มะงุ่น คือพวกเจ้าเซนบุตรอาลี โดยนิกายนี้ใช้หมวกสีแดงเป็นเครื่องหมาย นิกายยกยกเอาอาลี ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด และไม่ยอมรับ อาบูบากร์ ว่าเป็นศาสนทายาทที่แท้จริงของท่านนบี พิธีสำคัญของนิกาย เช่นจะมีการเต้นเจ้าเซน ในเดือนโมหรั่ม เพื่อรำลึกถึงวันสิ้นชีพของบุตรของอาลี
- นิกายวาฮะบี ( Wahabi ) ผู้สถาปนานิกายนี้คือ มุฮัมหมัด บินอับดุล วาฮับ เกิดนิกายนี้ขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2234-2299 มีจุดประสงค์คือต้องการรักษาศาสนาอิสลามไว้ให้คงความบริสุทธิ์เหมือนเดิมทุกประการ โดยนับถือความเป็นใหญ่ของคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นที่สุด และมีความพยายามแปลคัมภีร์นี้ให้ตรงพระคัมภีร์เดิมทุกตัวอักษร ปฏิเสธคำอธิบายของนิกายสุหนี่ นับถือพระอัลเลาะห์ เพียงพระองค์เดียว ไม่นับถือ นบี หรือ กาหลิบ คนใดทั้งสิ้น ว่าเป็นผู้สืบต่อศาสนา เพราะนิกายนี้ถือว่าการทำเช่นนั้นถือเป็นการยกย่องเอาบุคคลขึ้นมาเทียบเท่าพระอัลเลาะห์ รวมถึงนิกายนี้ไม่ยอมรับ อิหม่าม หรือนักปราชญ์อื่นในศาสนาอิสลามในฐานะผู้ตีความคำสอนของศาสนาอิสลาม และไม่อนุญาตให้มีพิธีกรรมใดๆ ที่นอกเหนือจากที่มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอานเท่านั้น
หลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม
- ศรัทธาในพระเจ้า ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องมีศรัทธาในพระอัลเลาะห์ หรือพระเจ้าองค์เดียว ห้ามมุสลิมทุกคนสักการะสิ่งอื่นนอกจากพระอัลเลาะห์
- ศรัทธาใน มลาอีกะห์ ( เทวฑูต ) มลาอีกะห์ คือผู้รับใช้พระเจ้า เป็นเทวฑูต หรือฑูตสวรรค์ มีคุณสมบัติต่างไปจากมนุษย์ คือ ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่นอน ไม่มีเพศสัมพันธุ์ เป้นวิญญาณที่มองไม่เห็น ไม่กระทำตามอารมณ์ที่ชอบ เพราะเราไม่อาจทราบรูปร่างและจำนวนที่แท้จริงของมลาอีกะห์ พระเจ้าสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ญิบรออิล เป็นผู้นำโองการจากพระเจ้ามาถ่ายทอด แก่ศาสนาอิสรออิล ทำหน้าที่ทอดวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างเวลาตาย รกิบอติ๊ก ทำหน้าที่บันทึกความดีความชั่วของมนุษย์ มุสลิมต้องเชื่อว่า มลาอีกะห์ มีอยู่จริง
- ศรัทธาในพระคัมภีร์ทั้งหลาย คัมภีร์อัลกุรอาน ถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ ดดยผ่านท่าน นบีมูฮัมหมัด
- ศรัทธาในบรรดาศาสนฑูต ศาสนฑูตเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ อัลเลาะห์ทรงเลือก มาเพื่อนำคำสอนของพระองค์มาประกาศแก่มนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ นบี หมายถึงผู้ได้รับโองการจากพระเจ้าและปฏิตนตามนั้น และรอซูล หมายถึง นบี ที่นอกจากจะปฏิบัติตามคำสอนของพระเจ้าแล้วยังต้องนำคำสอนดังกล่าวไปประกาศแก่มนุษย์ด้วย เช่น โมเสส พระเยซู และนบีมูฮัมหมัด
- ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ถึงแก่ความตายร่างกายจะเน่าเปื่อย แต่วิญญาณซึ่งเป็นอมตะ จะรอรับผลแห่งการกระทำ ของตนเองสำหรับโลกนี้และต้องถึงวันสิ้นโลก ซึ่งมุสลิมเรียกว่า วันกียามะห์ หรือวันปรโลก การพิพากษา พระเจ้าจะตอบแทนความดีความชั่วให้แก่ทุกดวงวิญญาณ อย่างยุติธรรม และทุกชีวิตจะบังเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากถูกพิพากษา และจะมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร เสวยผลแห่งคำพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้าตลอดไป โลกใหม่นี้เรียกว่า โลกอาคีวัต
- ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวการณ์ คือ กฎอันแน่นอนที่พระเจ้าทรงกำหนดสำหรับโลกและมนุษยชาติ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
6.1 กฎที่ตายตัว เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่นการถือกำเนิด ชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ปรากฎการณ์ผ่านธรรรมชาติ
6.2 กฎที่ไม่ตายตัวเป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย คือ การทำดี ทำชั่ว รวมถึงผลตอบแทนที่เกิดขึ้น มนุษย์มีปัญญา มีเหตุผล สามารถเลือกปฏิบัติและไม่ปฏิบัติก็ได้ มุสลิมถือว่าพระเจ้าได้ประทานสติปัญญาและแนวทางชีวิตที่ดีงามมาให้แล้ว เพียงแต่มนุษย์จะดำเนินตามหรือไม่เท่านั้น
หลักปฏิบัติ 5 ประการของมุสลิม
1. การปฏิญานตน
- คือการปฏิญานตนยอมรับ พระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว และยอมรับว่า นบีมูฮัมหมัด เป็น รอซูล ของพระอัลเลาะห์
- คำว่าละหมาด หรือ นมาช มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษา เปอร์เซีย ( อิหร่านปัจจุบัน ) หมายถึงการขอพร เป็นการนมัสการพระเจ้าแสดงความเคารพทั้งกายและใจ แสดงถึงความภักดีต่อพระเจ้า การละหมาดจะปฏิบัติกันวันละ 5 ครั้งดังนี้
- เช้า เวลา ตี 4.30 น. เรียกว่า ซูบุห์
- เที่ยง เวลา 12.00 น. เรียกว่า ลาฮอร์
- บ่าย เวลา 15.15 น. เรียกว่า อาซาอาร์
- เย็น เวลา 18.00 น. เรียกว่า มากริบ
- ค่ำ เวลา 19.15 น. เรียกว่า อีกซัก
3. การถือศีลอด
- เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัศศิยาม แปลว่า การละ หรือ การงดเว้น หมายถึงการงดเว้น บริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม การร่วมประเวณี การประพฤติชั่วทาง กาย วาจา ใจ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึง พระอาทิตย์สิ้นแสง มีระยะเวลา การถืออด 1 เดือน เรียกว่าเดือน รอมฎอน คือ เดือน 9 ของฮิจเราะห์ ศักราช ซึ่งสำนักจุฬาราชมนตรีจะเป็นผู้ออกประกาศการเริ่มถือศีลอด ไปยังมุสลิม ให้ทราบโดยทั่วกัน
4. กาซากาต หรือ การบริจาค
- ซากาต มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การทำให้บริสุทธิ์ หมายถึงการบริจาคทาน ให้มุสลิมบริจาคทรัพย์ของตนส่วนหนึ่งที่หามาได้ด้วยความสุจริต เป็นทานแก่คนยากจน คนขัดสน เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นลง ตามบทบัญญัติในพระคัมภีร์ระบุไว้ว่า ในรอบปีหนึ่ง จะซากาตในอัตรา ร้อยละ 2.5 % ของทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีอยู่
- สำหรับซากาตฟิตเราะห์ ได้แก่ บริจาคเนื่องในวันตรุษ อีดิลฟตรี คือหลังจากเสร็จสิ้นการถือศีลอด จะบริจาคเป็นข้าวหรืออาหารหลักของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวสาลี เป็นต้น
5. การประกอบพิธีฮัจญ์
- คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การไปสู่ หรือการไปเยือน หมายถึงการปรพกอบพิธีศาสนกิจ ณ วิหาร กาบาห์ หรือ บัยตุลเลาะห์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอารเบีย
- พิธีฮัจญ์ เป็นหลักปฏิบัติเพียงข้อเดียว ของศาสนาอิสลามที่ไม่บังคับ ให้มุสลิมทุกคนต้องกระทำ โดยให้ปฏิบัติเฉพาะผู้ที่มีความพร้อม มีสุขภาพแข็งแรง มีเงิน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เท่านั้น และต้องไม่เป็นหนี้สินเป็นการเดือดร้อน และการเดินทางไป ฮัจญ์จะต้องได้รับการยินยอมจากคนในครอบครัวด้วย
ปฏิทิน ฮิจเราะห์ 12 เดือน ในศาสนาอิสลาม
- เดือนมุฮัรรอม
- เดือนซอฟัร
- เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล
- เดือนร่อบีอุซซานีย์
- เดือนญะมาดิ้ลอูลา
- เดือนญะมาดิซซานีย์
- เดือนร่อญับ
- เดือนชะอ์บาน
- เดือนรอมฎอน
- เดือนเชาวาล
- เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์
- เดือนซุ้ลฮิจญะห์
กังวาล ทองเนตร เรียบเรียง
การละหมาด 1
การละหมาด2
ติดตามอ่านเนื้อหาต่อเนื่องใน >> >> โลกอิสลาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น