Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การปกครองท้องถิ่นในเยอรมัน



เยอรมันเป็นประเทศ สหพันธรัฐ ( Federal Republic of Germany ) เป็นประเทศที่มีความหลากหลาย

  • ในอดีตเยอรมันเคยผ่านการปกครอง แบบรวมศูนย์อำนาจเบ็ดเสร็จ และกระจายอำนาจแบบสหพันธรัฐมาแล้ว

ปัจจุบันการปกครองในระดับสหพันธรัฐนั้น ปกครองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย


  • องค์การที่บริหารประเทศ คือนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐ ( Federal Chancellor  หรือ Bundeskanzler) 
  • องค์การที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า Bundestag
  • องค์การที่ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกว่า  Federal Constitution Court
  • ประมุขแห่งสหพันธรัฐ คือประธานาธิบดี เรียกว่า Federal President


การบริหารของสหพันธรัฐเยอรมนี ประกอบด้วย 

  1. รัฐบาลกลาง
  2. รัฐบาลท้องถิ่น
  • ซึ่งในนี้ยังแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ระบบ ได้แก่
  1. สหพันธรัฐ
  2. มลรัฐ
  3. ท้องถิ่น
  • ทั้ง 3 ส่วน เป็นอิสระต่อกันในการดำเนินงาน ซึ่งในที่นี้ ผมจะขอข้ามส่วนอื่นไป และนำมาเฉพาะในส่วนที่เป็นการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น
การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ในเยอรมัน

ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้แล้วก่อนหน้านั้น ที่เยอรมัน การเลือกตั้งทุกระดับจะเป็นแบบผสมทั้งสิ้น
กล่าวคือร้อยละ 50 มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เขตละ 1 คนและอีกร้อยละ 50 เป็นแบบบัญชีรายชื่อพรรค

สำหรับในระดับท้องถิ่นมีการจัดการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
  1. ระดับจังหวัดท้องถิ่น ( County  หรือ Kreise)  เช่นในมลรัฐ NRW มีประมาณ 31 จังหวัด
  2. เมืองท้องถิ่น หรือเทศบาล ( County Free )  เช่นในมลรัฐ NRW มี 23เมือง อาทิ Koln ,Frunkfurt เป็นต้น ทั้งประเทศมีเมืองรูปแบบนี้อยู่ 115 เมือง
  3. ชุมชนท้องถิ่น หรือคอมมูน ( Gemeinden หรือ Kommune ) ในมลรัฐ NRW. มี 396 คอมมูน และทั่วทั้งประเทศมี 14,359 แห่ง ซึ่งในแต่ละแห่ง ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆจะเป็นผู้เลือก สมาชิกสภาท้องถิ่น โดยตรง และสภาท้องถิ่นจะเป็นผู้เลือกประธานสภาท้องถิ่น ( Local President ) จำนวน 1 คน และผู้บริหารท้องถิ่นอีก 1 คน เพื่อทำหน้าที่ และระบบนี้ถูกเปลี่ยนไปเป็นแบบ ให้ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้บริหารโดยตรง เริ่มเมื่อปี 1999 โดยเริ่มใช้ที่มลรัฐ NRW.  (รูปแบบใหม่นี้กำหนดให้ประธานสภาท้องถิ่นและหัวหน้าบริหารท้องถิ่น เป็นคนๆเดียวกัน หรือสวมหมวก 2 ใบ )


กฎหมายที่ออกโดยสภาท้องถิ่น มีดังนี้

  • เทศบัญญัติทั่วไปของท้องถิ่น
  • กฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ
  • การวางแผนกำหนดโซน
  • กฎหมายประกอบเรื่องภาษี และกำหนดอัตราภาษีในท้องถิ่น


ธงชาติเยอรมัน



  • หน่วยปกครองที่อยู่ล่างสุดของสหพันธรัฐเยอรมนี คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล ซึ่งจะแบ่งออกได้อีก 2 รูปแบบคือ
  1. เมือง
  2. ชุมชน
มีประชากรเมืองประมาณ 10,000 คน เพื่อรับผิดชอบบริหาร บริการท้องถิ่นในทุกด้าน

ข้อสังเกต

  • แม้ในทางทฤษฎี รัฐบาลในแต่ละระดับของ เยอรมัน จะเป็นอิสระต่อกัน แต่ในความเป็นจริง ในบางครั้ง
  • รัฐบาลระดับสหพันธรัฐ จะมอบหมายให้ รัฐบาลระดับมลรัฐ และรัฐบาลมลรัฐ ก็จะมอบหมายให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่น จัดบริการแทนได้ หรือมอบอำนาจให้แก่ เอกชน สหกรณ์ หรือรัฐวิสาหกิจ ให้บริการแทนได้

  • มาตรฐาน คุณภาพชีวิต ของคนในท้องถิ่นจะถูกจัดสรรให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกัน เช่นถ้า ชุมชนใดมีรายได้ต่ำ อัตราการจ้างงานต่ำ รัฐบาลกลางหรือ รัฐบาลสหพันธรัฐ จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือทางด้านงบประมาณ และผลักดันโครงการต่างๆเข้าไปช่วยด้วย
  • การกระจายงาน การกระจายอำนาจจะไม่เจาะจงตายตัว แต่จะเน้นวิธีกระจายงานกันทำ ถ้างานใดที่เกินอำนาจหรือขอบเขต รัฐบาลระดับล่าง ก็จะมอบให้ระดับที่สูงกว่าเข้าไปดูแลแทน
  • และท้องถิ่นใดที่เจริญกว่าท้องถิ่นอื่นๆ ก็จะจัดส่งความช่วยเหลือต่างๆไปยังท้องถิ่นที่ด้อยกว่า
  • รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน องค์การอาสาสมัคร ก็จะเข้าร่วมมือทางสังคมกับหน่วยงานของรัฐด้วย เช่น ช่วยฝึกงาน ฝึกอาชีพ ต่างๆ เป็นต้น
กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ้างอิง >>     http://www.iuscomp.org/gla/
                    >>        http://www.citymayors.com/government/germany_government.html
                     >>       ดร.โกวิทย์  พวงงาม [ 2 ] [ 3 ]




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น