Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. ) ตอนที่ 2



จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้ผลักดันให้เกิด อบจ.

 ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อบจ.มีการจัดองค์การออกเป็น 2 ส่วน คือ นิติบัญญัติ และบริหาร




อำนาจและหน้าที่


  •  สภา  อบจ. ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น   จำนวนมากหรือน้อยใช้เกณฑ์ประชากรเป็นตัวตัดสิน


  • จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน    500,000                                ให้มีสมาชิกได้   24   คน
  • -------------------  เกิน     500,000                                -------------    30   คน
  • -----------------     เกิน    1   ล้าน แต่ไม่เกิน 1 ล้าน 5 แสน  มีสมาชิกได้    36   คน
  • -----------------        เกิน 1  ล้าน 5 แสน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน มีสมาชิกได้   42  คน
  • ------------------       เกิน  2  ล้านคนขึ้นไป ให้มีสมาชิกได้                        48  คน  


                                                             หน้าที่สภา อบจ.มีดังนี้

1.        ตราข้อบัญญัติ และเสนอข้อบัญญัติ
2.        อนุมัติงบประมาณ ( จัดทำเป็นข้อบัญญัติ เสนอโดยนายกฯ อบจ. เท่านั้น)
3.         ควบคุมการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร เช่นตั้งกระทู้ถาม และตรวจสอบข้อเท็จจริง

  • จะเห็นได้ว่า หลักการเดียวกันกับโครงสร้างหลักของประเทศ คือจำลองแบบลงไปทั้งหมดเลย แต่..ผมพยายามย้ำตรงนี้มาตลอด เพราะหลายคนสับสน ข้อบัญญัติ ทุกอย่างที่ออกโดยสภาท้องถิ่น ไม่ว่าสภาไหน มีศักดิ์ทางกฎหมายเป็นเพียงกฎ ตาม มาตรา 5  ( 2 ) พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 มีผลบังคับเหมือนกฎหมายทุกอย่าง แต่บังคับในท้องที่ของตนเองเท่านั้น และไม่ได้ลงพระ ปรมาภิไธ จึงเป็นเพียงกฎ ย้ำหน่อยก็ได้


  • กฎคือ พระราช กฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุงหมายให้ใช้บังคับ แก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการจำเพาะ

  • ผมสรุปไว้ง่ายๆว่า อะไรก็ตามแต่ที่ออกโดยหน่วยงานทางปกครอง ไล่ลงจาก กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล ล้วนเป็นกฎ
  • ผู้ที่จะเป็นนักปกครอง หรือนักการเมืองระดับบริหารที่ออกกฎได้ ต้องทำความเข้าใจข้อนี้ เพราะตกม้าตายมามากแล้วเพราะไม่มีความรู้เรื่องกฎ และคำสั่งทางปกครอง ออกมั่ว ออกผิดวิธีการ ติดคุกมาเยอะแล้วครับ หลายคนไปจำสับสนกับคำสั่งทางปกครองยิ่งไปกันใหญ่ ให้กลับไปอ่าน บันทึกผมเรื่อง ระวังเสียหมา ถ้าไม่เข้าใจ กติกา-กฎ-กฎหมาย ผมแจงไว้แล้ว มันเป็นหัวใจสำคัญของนักปกครอง หรือผู้ที่จะลงรับเลือกตั้งทุกระดับต้องทำความเข้าใจ เราจะไม่ลังเลในอำนาจเราถ้าเราเข้าใจและรู้วิธีการออก กฎ หรือ คำสั่งทางปกครองนั้น


  • อำนาจหน้าที่นายกฯอบจ. มีดังนี้ ( เฉพาะนายก เป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจ นายกฯ )

1.  กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ.ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย (ข้อนี้เป็นการตรากฎ และรักษา กฎ )

2.  สั่ง อนุญาต และอนุมัติ เกี่ยวกับราชการของ อบจ. ( ข้อนี้เป็นการใช้คำสั่งทางปกครองล้วนๆ มันตกม้าตายตรงนี้ครับ ไปคิดว่ากฎเป็นคำสั่งทางปกครอง กลับกัน วิธีการจึงกลับกันเลยเละหมด โดยเฉพาะใน อบต. นายกส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ทางรัฐศาสตร์เลย)

3.  แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกฯ เลขา ฯ และที่ปรึกษานายก ฯ อบจ. ( ตรงนี้ก็เป็นการใช้คำสั่งทางปกครอง หรือใช้อำนาจ )

4. วางระเบียบ เพื่อให้งานของ อบจ . เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( ข้อนี้ก็เป็นการใช้กฎ )

5. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบจ. ( หน้าที่ )

6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่น ( หน้าที่ ทั่วไป )

  • เขตอำนาจของ อบจ. (อาณาบริเวณที่อำนาจ อบจ.เข้าถึงและดูแล )
  • กฎหมายกำหนดให้ เขตอำนาจของ อบจ.อยู่ในพื้นที่นอกเขต เทศบาลภายในจังหวัดนั้น


  • รงนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ในหนึ่งจังหวัดมันมีอยู่หลายโครงสร้าง ถ้าเรามองเข้าไปในจังหวัด เราจะเห็น ผู้ว่า คนนี้มาจากส่วนกลาง เป็นราชการส่วนภูมิภาค มีอบจ.มาจาการเลือกตั้ง + สภา อบจ.ด้วย มีเทศบาล มี อบต.ซ้อนเป็นวงเล็กอยู่อีกวง เราลองเอาปากกาเขียนวงกลม ขนาดต่างกันซ้อนไว้ แล้วใส่ชื่อแต่ละวง นั่นแหล่ะคือโครงสร้างของ หนึ่งจังหวัด ของไทย มันซ้อนขี่คอกันอยู่ ผมถึงได้เสนอให้ยกเลิก ราชการส่วนภูมิภาคเสีย เพราะโลกนี้เขาเลิกกันหมดแล้ว เหลือไทยกับฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ฝรั่งเศสเขาปกครอง กึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา จึงคล่องตัวกว่าเรา
  • เห็นหรือยังว่าถ้าเราเรียนกันแบบเจาะลึก เราจะเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และการบริหารจัดการทับกันอยู่ ***

  • ส่วนอำนาจของตัว อบจ. ก็คล้ายผูว่ากรุงเทพครับ หน้าที่หลักก็แค่ประสานงานกับหน่วยงานอื่น พวกนี้ส่วนใหญ่ข้าราชการประจำเขาทำกันแล้วเสนอมา ผมถือว่าเป็นสาระรอง เพราะมีคนชงมาให้เราแล้ว
  • ทำความเข้าใจให้ดีครับมันมีประโยชน์จริงๆเพราะนี่คือหัวใจนักปกครองท้องถิ่นเลย ถ้าเราชัดเจน เราจะเป็นนักปกครองที่ดีได้และวิเคราะห์ปัญหาทางโครงสร้าง เขียนโครงสร้างหรือแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างได้ ตรงนี้เท่านั้น


                      กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น