หอไอเฟล ฝรั่งเศส
- เป็นที่ทราบกันแล้วว่าในโลกนี้มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้น ที่ยังคงมีการจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาค นั่นคือ ไทยและฝรั่งเศส ดังนั้นผมจะขอหยิบยกเอาเมืองหลวงของสองประเทศนี้มาแยกให้เห็นเนื้อในโครงสร้างการปกครองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบประชาธิปไตย แบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา รัฐบาลกลางประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ ( Head of State ) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ
- นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ( Head of Government) แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
- ส่วนกลางประกอบไปด้วย กระทรวง ทบวงกรมและหน่วยงานอื่นในส่วนกลาง ( เหมือนไทย )
- ส่วนภูมิภาคคือ จังหวัดต่างๆ มีผู้ว่าฯแต่งตั้งโดยที่ประชุม ครม.เหมือนไทย สังกัดมหาดไทย
- ส่วนท้องถิ่น มีเทศบาล-จังหวัดในฐานะหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
กรุงปารีส แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ระดับคือ
1. ระดับบน ได้แก่กรุงปารีส หรือจังหวัดปารีส (เป็นราชการส่วนภูมิภาค)
ตรงนี้คือข้อแตกต่าง กับกรุงเทพ กรุงเทพ จะเป็นส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ไม่มีส่วนภูมิภาค
2. ระดับล่าง ได้แก่เทศบาลนครปารีส ( เป็นเทศบาลนคร)
เหมือนกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีเทศบาลอื่นๆอีกซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น อีก 22 เขต
ผู้ว่ากรุงปารีสมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ( ต่างจากกรุงเทพ)ที่ผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ปารีสยังมีฝ่ายนิติบัญญัติคือสภาปารีส เช่นเดียวกับสภา กทม.
ส่วนเทศบาลนครปารีส ตั้งอยู่ในจังหวัดปารีส และเป็นส่วนหนึ่งของปารีส
สรุป กรุงปารีส มีอยู่ 2 โครงสร้าง เช่นเดียวกับจังหวัดทั่วๆไปของไทย คือมีทั้งส่วนราชการภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นคือ อบจ. แตกต่างจากกรุงเทพ แต่ต่อมาฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายให้กรุงปารีสมีฐานะแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆคือเป็นเมืองหลวงและเขตการบริหารพิเศษ
รูปแบบราชการส่วนภูมิภาคนี้ ทั่วโลกใช้อยู่เพียง 2 ประเทศดังกล่าว เป็นรูปแบบที่ล้าหลัง ทับซ้อนทางโครงสร้าง ไม่มีความคล่องตัวซึ่งน่าจะมีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนี้เสีย ด้วยเหตุและผล ซึ่งผมเคยนำเสนอไว้หลายครั้งในหน้าบันทึกเฟชบุ๊คของผมหาอ่านได้ในหน้าบันทึกครับ
- ข้อสังเกตุ แม้กรุงเทพจะเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ก็มีอุปสรรคคือระบบการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นเป็นพรรคฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลก็จะขาดการประสานงานขาดการร่วมมือที่ดีดังที่ได้ประจักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น