Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

รัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาแตกต่างกันอย่างไร


นี่คือภูเขาน้ำแข็ง ในทางสังคมวิทยา กับรัฐศาสตร์ จะมองเห็นภูเขาลูกนี้แตกต่างกัน
ทางรัฐศาสตร์ 

  • จะมองเฉพาะส่วนบนที่อยู่เหนือน้ำ มองเฉพาะจุดปะทะ ผมเคยเขียนไว้หลายครั้งว่าสังคมไทยขาดวิศวกรทางโครงสร้างทางการเมืองที่แท้จริง แต่เมืองไทยมากมายไปด้วยนักแกะสลักน้ำแข็ง เมื่อทุกคนมองเห็นเฉพาะส่วนบนที่เป็นก้อนน้ำแข็งก็จะวาดภาพจินตนาการภาพว่าต้องแกะให้เป็นรูปนั้นรูปนี้ตามแต่อารมณ์ของตนเอง จนเราได้งานแกะสลักมากมาย เช่นรัฐธรรมนูญที่แกะสลักมา ถึง 18 รูปทรงที่ต่างคนต่างคิดว่าดีและสวยงาม นั่นเป็นเพราะมองไม่ครบทุกมิติ
  • ในทางรัฐศาสตร์ เราศึกษาเจาะจงที่ โครงสร้างทางอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการปกครอง รูปแบบการปกครอง ความสัมพันธ์ทางการฑูต การทหารการสงคราม หรือโครงสร้างที่มองเห็นจับต้องได้เป็นรูปแบบ มีแบบแผนแล้วเท่านั้น
ในทางสังคมวิทยา
  • นอกจากจะมองภูเขาน้ำแข็งที่มองเห็นอยู่ส่วนบนแล้วยังมองลึกลงไปเห็นส่วนที่มีมากกว่าอีกนั่นคือส่วนของภูเขาที่จมอยู่ด้านล่าง ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญทางสังคมและมีพลังมากที่สุด เป็นส่วนที่ทำให้ภูเขาส่วนบนตั้งอยู่ได้ แต่ไม่เคยมีใครสนใจในส่วนนี้ เช่นเดียวกับคำกล่าวนักวิทยาศาสตร์ที่ว่าเรารู้จัก อวกาศมากกว่ารู้จักใต้ท้องทะเลเสียอีก ซึ่งเป็นความจริง
  • ทางสังคมวิทยาจะมองปัญหาลึกลงไปในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างที่เป็นแบบแผนทางปกครองด้วย สังคมวิทยาจะมองและศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แม้แต่เรื่องของจิตใจครอบครัวการดำเนินชีวิต ปฏิสัมพันธ์กลุ่มย่อย และส่วนบุคคล ดังนั้นสังคมวิทยาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในสังคมนี้ก็ว่าได้
  • ส่วนรัฐศาสตร์จะศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นสังคมทางอำนาจ หรือสังคมที่มีการจัดตั้งขึ้นแล้ว และเน้นหนักไปทางการใช้อำนาจทางปกครองเป็นหลัก
  • ตราบใดที่สังคมเรามองเฉพาะส่วนตาเห็น เราก็จะเห็นแต่ภาพลวงตาทางสังคม เราก็จะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริงทางสังคมได้เลย...




จากภูเขาน้ำแข็งลูกโต กลายมาเป็น สิ่งที่เกิดจากจินตนาการในใจ











  • ทุกคนต่างมองว่างานแกะสลักของตัวเองสวยงาม และดีที่สุด
  • สิ่งที่เราขาดในแผ่นดินนี้คือ วิศวกรโครงสร้างทางสังคมที่จะมาออกแบบสังคมอย่างถูกต้อง มีระเบียบแบบแผน ไม่ใช่นักแกะสลักภูเขาน้ำแข็ง ที่ ล้านคนมีล้านจินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด 
  • สุดท้ายก็ตีกันเองเพราะต่างคนต่างคิดว่าของตัวเองดีที่สุด โดยไม่คำนึงถึงหลักวิชาและแบบแผนสากลที่ถูกต้อง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์รามคำแหง ภาควิชาการปกครอง

-ขอบคุณภาพประกอบเนื้อหาจากเพื่อนบล็อกเกอร์ทุกท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น