อริสโตเติ้ล
ปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง มีเนื้อหาอยู่ 3 ส่วน คือ
1. ความจริง คืออะไร เรียกว่า อภิปรัชญา
2. เรารู้ความจริงได้อย่างไร เรียกว่า ญาณวิทยา
3 . เราจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความจริง ( จริยศาสตร์ )
ปรัชญา มาจากรากศัพท์ ในภาษา สันสกฤตว่า ปรฺ แปลว่า ประเสริฐ และ ชฺญฺา แปลว่าความรู้
แปลตรงๆ ก็คือความรู้อันประเสริฐ นั่นเอง
ปรัชญา ยังแบ่งออกตามยุคได้ดังนี้
--- ปรัชญา ดึกดำบรรพ์ หมายถึงแนวคิดของมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์เกิดขึ้นบนโลกนี้
--- ปรัชญา ยุค โบราณ เริ่ม ก่อน ค.ศ. 1500- ค.ศ. 529 เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่นคัมภีร์พระเวท ของอินเดีย คัมภีร์ เม็มฟิส ของอียิปต์ คัมภีร์ โทราห์ ของยิว เป็นต้น
--- ปรัชญายุคกลาง เริ่ม ค.ศ. 529 - 1500 มีการใช้สัญลักษณ์ไม้กางเขนเป็นธงเมื่ออกรบของพวกคริสเตียน
----ปรัชญายุคใหม่ เริ่ม เมื่อ ค.ศ.1500 ถึงปัจจุบัน ยุคนี้ มีความเคลื่อนไหวการปฏิรูปศาสนา ทำให้ปรัชญาสมัยนี้มีอิสระจากศาสนามากขึ้น ต่อมาได้มีการให้ความสำคัญกับวิธีคิด ที่เป็น
แบบ นิรนัย Deduction คือการหาความรู้โดยอาศัยความรู้เดิมที่มีมาก่อน
และ แบบ อุปนัย Induction คือการแสวงหาความรู้แบบใหม่จากการสังเกตุด้วยประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมถึง สามัญสำนึกด้วย
อภิปรัชญา เป็นหนึ่งในสาขาใหญ่ของวิชาปรัชญา ทั้ง 3 สาขาหลักของปรัชญามีดังนี้
1 .ญาณวิทยา หรือทฤษฎีแห่งความรู้ (Epistemology or Theory of Knowledge.)
2 .อภิปรัชญา หรือ ภววิทยา ( Metaphysics or Ontology)
3. คุณวิทยา ( Axiology )
อภิปรัชญาเรียกอีกอย่างว่า ปรัชญาบริสุทธิ์ คือเป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญาแท้ๆนั่นเอง หรือมักเรียกว่าเป็น ปรัชญาเก่า ปรัชญาสมัยโบราณ
กังวาล ทองเนตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น