Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ฟาสซิสต์ คืออะไร




เบนิโต มุสโสลินีผู้ก่อตั้งลัทธิฟาสซิสต

ผู้นำฟาสซิสต์


ฟาสซิสต์ถือกำเนิดขึ้นที่ ประเทศ อิตาลี โดย เบนิโต มุสโสลินี ฟาสซิสต์เป็นภาษาอิตาลี แปลตรงตัวว่า มัดหวาย
ก่อนที่จะเกิด ฟาสซิสต์ มีคำว่า ฟัสโซ Fascio อยู่ในอิตาลีมาก่อนแล้ว ใช้ชื่อว่า นัก สหการปฏิวัติ ( Revolutionary Syndicalists ) โดยส่วนหนึ่งของกลุ่มนี้ ขัดแย้งและแตกแยก กับพรรคสังคมนิยม ในประเด็นที่จะเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1ของอิตาลี มุสโสลินี ซึ่งมีความกระหายอยู่แล้ว มองเห็นช่อง กระโดดเข้าร่วมอย่างเต็มตัว
เมื่อสงครามอุบัติขึ้น กลุ่มสหการนิยมนี้ ได้จัดตั้งกลุ่มชื่อว่า ฟัสซี่ ดาซีโอเน รีโว ลูซีโอนารีอา อินแตร์นาซีโอนาลีสตา ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1914 แต่อิตาลีก็ไม่ได้เข้าสู่สงคราม อิตาลีเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1915 ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของ มุสโสลินี เขาได้รับบาดเจ็บจากการฝึก ปาระเบิด
ในการประชุมที่มิลาน มุสโสลินี ได้ก่อตั้ง สันนิบาตรทหารผ่านศึกขึ้น มุสโสลินีได้เข้าสู่สภาได้ ในนามพรรค ฟาสซิสต์ เมื่อ ค.ศ. 1921 และได้จัดตั้งหน่วยติดอาวุธที่เป็นอาสาสมัครเพื่อสงคราม เรียกว่า squadristi เพื่อกำราบฝ่ายตรงข้าม

  • คำสอนทั่วไปของฟาสซิสต์เน้นให้คนเห็นความสำคัญของตนเอง กระทำและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และอุทิศตนเองให้กับรัฐบาลเชื่อรัฐบาลเชื่อผู้นำ 
  • ฟาสซิสต์เป็นทั้งระบอบปกครอง และ จิตวิญญาณ ประโยคสำคัญของเบนิโต มุสโสลินี คือ 
หากข้าพเจ้าบุก จงตามข้าเจ้าไป หากข้าพเจ้าถอย จงฆ่าข้าพเจ้าเสีย หากข้าเจ้าตาย จงแก้แค้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วย และ ไม่มีการปฏิวัติใดเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์ได้ เป็นต้น

  • ต่อมา ก็มี ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมัน นายพล ฟรานซิส ฟรังโก แห่ง สเปน และ โตโจ นายกญี่ปุ่น เป็นผู้ที่ศรัทธาลัทธินี้และนำไปใช้ 

  • ฟาสซิสต์ แตกต่างจากคอมมิวนิสต์ อย่างสิ้นเชิง โดยฟาสซิสต์ รังเกียจคอมมิวนิสต์ และต่างจาก เสรีนิยม ฟาสซิสต์มุ่งเน้นที่ตัวตน ความภูมิใจในตัวตนชาติกำเนิดตน จนมีผู้เรียกว่า ฟาสซิสต์คือ ลัทธิคลั่งชาติ 
สรุปคือ ฟาสซิสต์ คือ ลัทธิทางการเมืองลัทธิหนึ่ง กำเนิดที่อิตาลี โดย มุสโสลินี และมีอิทธิพลต่อสังคมโลกอยู่ในระยะหนึ่ง ฟาสซิสต์ ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ประชาธิปไตย ปัจจุบัน ฟาสซิสต์จะไม่แสดงออกทางการเมืองของแต่ละประเทศอย่างชัดเจน แต่ก็พอมองเห็นแนวทางจากการเคลื่อนไหวในแต่ละสังคม



กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองรามฯ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น