Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

นิโคไล เลนิน บุรุษผู้พลิกการเมืองรัสเซีย


เลนิน 1870 -1924

นิโคไล เลนิน เป็นชื่อที่คนทั่วไปคุ้นเคยกัน แต่ชื่อเต็มของเขาคือ 
วลาดิเมียร์ อิลยิช อูลยานอฟ เลนิน

เลนิน เกิดเมื่อวันที่ 9เมษายน ค.ศ. 1870 หรือ พ.ศ.2413 ที่เมือง Simirk  ปัจจุบันเรียกว่า Ulyanovsk

ลนินเกิดมาจากครอบครัวของคนชั้นสูง บิดาเขาเป็นผู้ตรวจราชการด้านการศึกษาและได้รับบรรดาศักดิ์ชั้น 4 ในทั้งหมด 14 ชั้น
ส่วนมารดาเขา เป็นบุตรสาวของศัลยแพทย์เจ้าของที่ดิน โดยรวมแล้วกล่าวได้ว่า เลนินมาจากครอบครัวของคนมีฐานะ เป็นชนชั้นปัญญาชน หรือนายทุนเสียด้วยซ้ำ

หตุการณ์สำคัญที่อาจทำให้มีผลกระทบต่อความคิดของเลนินที่สำคัญก็คือ พี่ชายของเขาคนหนึ่ง ชื่อเล่นว่า ซา ชา ถูกตำรวจจับข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์  พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ที่ 3 และถูกตัดสินให้แขวนคอในเวลาต่อมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเลนิน มีอายุได้เพียง 17 ปี จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เลนิน สนใจกับงานเขียนของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นอย่างยิ่ง

ก่อนหน้านี้ ซาชา พี่ชายของเขา ได้แปลงานเขียนของ มาร์กซ์ไว้ เรื่อง วิพากษ์ปรัชญาของ เฮเกล ในเรื่องความถูกต้อง (Critique of Hegel's Philosophy of Right ) นี่คือหนังสือเล่มแรกที่เลนินได้ซึมซับความคิด จากมาร์กซ์ อย่างจริงจัง

ปลายปี 1887 เลนินได้เข้าร่วมเดินขบวนทางการเมืองกับนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยคาซาน  ทำให้
เลนินถูกขับออกจากมหาวิทยาลัย ในเทอมแรกเท่านั้น

ปี 1890 เลนินมีความมุ่งมั่นในการศึกษา และได้รับอนุญาตให้เข้าสอบในมหาวิทยาลัย ปีเตอร์สเบิร์ก ในฐานะนักศึกษาภายนอก เลนินสอบได้ที่ 1 ต่อมาเขาเป็นทนายความอยู่ระยะหนึ่ง
ปี1895 เลนินเดินทางไปต่างประเทศ และได้พบกับนักปฏิวัติรัสเซียที่ลี้ภัยการเมืองหลายคน รวมทั้ง เปลคานอฟ ผู้ก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใต้ดิน เป้าหมายคือโค่นพระเจ้าซาร์ แห่งราชวงศ์โรมานอร์ฟ

เลนินได้เข้าไปมีบทบาทในการจัดตั้งกลุ่ม สหภาพปลดแอกชนชั้นกรรมกร ในปลายปี 1895 ต่อมาเขาถูกจับ โทษฐานก่อการปฏิวัติ เขาถูกส่งตัวไปที่ไซบีเรีย

และที่นี่เอง เลนิน ได้เขียนบทความวิเคราะห์ สังคมรัสเซียขึ้นชิ้นหนึ่งชื่อบทความว่า พัฒนาการของทุนนิยมในรัสเซีย

บทความของเลนิน

หลังจากพ้นโทษเลนินได้เดินทางไปอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ และได้ร่วมกันก่อตั้งหนังสือพิมพ์ชื่อ Iskra แปลว่า ประกายเพลิงต่อมาเกิดความไม่ลงรอยกันในแนวทาง

เลนินจึงแยกตัวออกไปตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นมาเองชื่อ Vpered แปลว่า
แนวหน้า ต่อมาจากความไม่ลงรอยกันนี่เองทำให้พรรคสังคมประชาธิปไตย แตกเป็น 2 ฝ่ายคือ
1) พรรคบอลเชวิค มีเลนินเป็นผู้นำ
2 ) พรรคเมนเชวิค

พรรคบอลเชวิคเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ต้องการสร้างพรรคด้วยแนวทางเคร่งในวินัย และมีสมาชิกจำนวนน้อย
ส่วนพรรคเมนเชวิค เป็นเสียงข้างน้อย กลับต้องการเป็นพรรคที่มีสมาชิกจำนวนมากไว้สนับสนุน และได้เสนอนโยบายกับกลุ่มเสรีนิยม และพ่อค้า

1905 เลนินมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อต้านรัฐบาล และเป็นเหตุให้เขาต้อง ระเห็ดระเหินออกไปอยู่ต่างประเทศถึง 9 ปีครึ่ง และกลับมารัสเซียในฐานะบุคคลสำคัญ ในปี 1917


ข้อแตกต่างระหว่าง มาร์กซ์ กับ เลนินคือ 

มาร์กซ์ เชื่อว่า การปฏิวัติต้องเกิดในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุดแล้วเท่านั้น และการปฏิวัติต้องเกิดพร้อมกันหลายๆประเทศ

ส่วนเลนินเชื่อว่า การปฏิวัติต้องเกิดขึ้นกับประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ล้าหลัง และการปฏิวัติสังคมสามารถเกิดขึ้นได้เพียงประเทศเดียว

โดย เลนิน เชื่อว่าสถานการณ์ที่เอื้อต่อการปฏิวัติ มีดังนี้

1. เมื่อชนชั้นปกครองไม่สามารถปกครองต่อไปได้อีกแล้ว เช่น มีวิกฤติในหมู่ชนชั้นสูง ที่ไม่ยอมรับอำนาจต่อไป

2. เมื่อความอดทนและความต้องการของชนชั้นผู้ถูกกดขี่มาถึงขีดสุด

3 .เมื่อกลุ่มชนที่เคยยอมชนชั้นปกครอง ไม่ยินยอมอีกต่อไป

4. มีวิกฤติเกิดขึ้นในประเทศ ทำให้กระทบกระเทือนทั้งสองชั้นชั้น คือผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่

เลนิน เชื่อว่า การใช้กำลังอาวุธจึงจะเป็นผลสำเร็จ การปฏิวัติจะสำเร็จเมื่อลงมือกระทำอย่างจริงจัง ต้องใช้กำลังอาวุธอย่างสูงสุด และต้องจู่โจมมิให้ข้าศึกรู้ตัว จะต้องเกิดขึ้นตอนที่มีสงครามกลางเมือง และต้องเสร็จสิ้นภายในวันเดียว นี่คือส่วนที่เลนินเห็นต่างจากมาร์กซ์ ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี

งานเขียนของเลนินที่สำคัญมี What is to be done  (1902) เป็นหนังสือเกี่ยวกับการวางโครงสร้างพื้นฐานองค์กรชี้นำกรรมาชีพ
Two Tactics of Social Democracy in The Democracy Revolution ( 1905 ) เล่มนี้ เขาต้องการยืนยันว่ารัสเซียเป็นสังคมศักดินา
The Highest Stage of Capitalism ( 1916 )
และ State and Revolution ( 1917 )

เลนิน มาจากชนชั้น มีอันจะกินในสังคม แต่ เมื่อเขาเห็นพี่ชาย และพี่สาวถูกจับ ต่อมาพี่ชายถูกแขวนคอ พี่สาวถูกปล่อยตัว เขาจึงหันมาสนใจแนวคิดของมาร์กซ์ โดยเริ่มจากงานแปลของ อเล็กซานเดอร์ ( ซาชา ) พี่ชายของเขาที่แปลไว้ก่อนถูกจับ จากนั้นชีวิตของเขาก็ ต้องเดินทางเข้าออกคุก และลี้ภัยในต่างแดน จนในที่สุดเขากลับมาในฐานะผู้ยิ่งใหญ่ ที่คนรัสเซียต้องจดจำเขาในฐานะนักปฏิวัติสังคม ภายใต้ชื่อ เลนิน

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น