Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

ชอง ฌาคส์ รุสโซ

 Jean  Jacques  Rousseau ค.ศ. 1712 -1738




ชอง ฌาคส์ รุสโซ  

กิดเมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1712  ที่เมือง เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ต้นตระกูลเป็นชาวฝรั่งเศส
บิดาเป็นช่างทำนาฬิกา ชื่อ อิส ซัค รุสโซ


สภาวะธรรมชาติของมนุษย์

รุสโซ มองว่าเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพเพราะมนุษย์มีความเมตตาต่อกัน


การเกิดสังคมการเมือง

มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวนั้นย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก ความสมบูรณ์นี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากกว่าสันติภาพ

รุสโซ กล่าวว่า มนุษย์ได้สูญเสียเสรีภาพตั้งแต่ได้เข้ามาอยู่ในสังคม โดย รุสโซ อธิบายว่า มนุษย์มีเสรีภาพตั้งแต่เกิด

แต่สังคมเต็มไปด้วยพันธนาการ ความเป็นอิสระนั้นได้ถูกริดรอนไปส่วนหนึ่ง โดย สถาบันทางปกครอง ส่วนหนึ่งคืออารยะธรรม วัฒธรรม ประเพณี กฎหมาย จารีต ปทัสถาน เหล่านี้คือความเป็นทาส อยู่ในโซ่ตรวนเหล็ก ซึ่งถูกประดับด้วยมาลัย

อำนาจอธิปไตย

1. อำนาจอธิปไตยเป็นสิ่งที่โอนให้กันไม่ได้ แม้ อำนาจจะมอบให้คนอื่นใช้แทนได้ แต่ เจตจำนง เป็นสิ่งเฉพาะตัวจะมอบให้กันไม่ได้ รุสโซ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร

2. อำนาจอธิปไตย แบ่งแยกไม่ได้


การจัดตั้งรัฐบาล

รัฐบาลเป็นเพียงคณะบุคคลที่นำเอาเจตจำนงทั่วไปมาปฏิบัติ  รัฐบาลไม่ใช่องค์อธิปัตย์ การจัดตั้งรัฐบาลเป็นผลจากกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการทำสัญญา

ผลงาน ของรุสโซบางส่วนเช่น

ปี  ค.ศ. 1745 รุสโซ ได้เขียนเรียงความเข้าประกวดชื่อ เรียงความคือ บ่อเกิดของสมมุติฐาน แห่งความไม่เสมอภาค (  The origin of inequality )  แต่ไม่ได้รับรางวัลใดๆ

ปี ค.ศ.1761 เขียนนิยายสะเทือนอารมณ์เรื่อง  ลานูแวลล์ เอลัวซ์

ปี ค.ศ.1762 พิมพ์หนังสือชื่อ สัญญาประชาคม ( Social Contract )  ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกและสร้างชื่อให้เขา  และได้เขียนนวนิยายและโจมตีระบบการศึกษา ชื่อ Emile ซึ่งองค์กรทางศาสนาเป็นผู้จัดการ




สัญญาประชาคม ของ รุสโซ 

เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นนามธรรมยากที่จะทำความเข้าใจ




กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น