Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

การเมืองในกัมพูชา 1




เขียวสัมพัน

ประเทศกัมพูชา


  • กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ตามสัญญาเจนีวา 1954 



นับแต่ได้เอกราช ในปี 1955 กษัตริย์สีหนุได้สละราชสมบัติให้พระบิดา และได้ลงมาจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อพรรคสังคมนิยมราษฎรนิยม (   Sangkum Reastreniyum ) เป้าหมายคือเพื่อเป็นฐานอำนาจและรักษาบทบาททางการเมืองของตนเอง แม้สละบัลลังภ์แต่ เจ้าสหนุ ยังคงมีบทบาทและอิทธิในหมู่ประชาชนกัมพูชาอย่างเหนียวแน่น


  • แต่เส้นทางของเจ้าสีหนุก็ใช่ว่าจะราบเรียบ มีกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1.ฝ่ายทหารที่นิยมขวา หรือที่เรียกว่าขวาจัด ซึ่งมีนายพล ลอนนอล (  Lon Nol ) และนายพลเจ้าสิริมาตะ  เป็นแกนนำ

2. กลุ่มสนับสนุนซ้าย มีนายเขียวสัมพัน ( Khieu Samphan )   และ นาย เอียง สารี (Ieng Sary) เป็นแกนนำ

เจ้าสีหนุ พยายามลดความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายลง โดยให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยที่เจ้าสีหนุจะเป็น ตัวถ่วงดุลอำนาจของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอำนาจหรืออิทธิพลมากขึ้น เจ้าสีหนุก็จะหันไปสนับสนุนกับฝ่ายตรงข้ามทันทีเพื่อลดบทบาทของฝ่ายที่มีอำนาจลง


  • แต่ความขัดแย้งก็เริ่มปะทุขึ้น


 เมื่อฝ่ายขวา ต้องการให้กัมพูชามีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และให้เจ้าสีหนุขับไล่กองกำลังเวียตกงและเวียตนามเหนือทางฝั่งทางฝั่งตะวันออก ใกล้กับเวียตนามใต้  ออกไป  และต้องการให้เจ้าสีหนุแสดงท่าทีว่าเป็นปฏิปักษ์กับระบอบคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจีนกับเวียตนามเหนือ  นอกจากนี้ต้องการให้ไปมีสัมพัธไมตรีกับ อเมริกาและไทย

ส่วนฝ่ายซ้าย ต้องการให้โอนกิจการต่างๆทางเศรษฐกิจให้ตกเป็นของรัฐ ตามแนวทางสังคมนิยม และไม่ต่อต้านเวียตกง เวียตนามเหนือ และต้องการให้เจริญสัมพันธไมตรีกับโลกคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจีนและเวียตนาม

จะเห็นได้ว่า ทั้งซ้ายและขวาจะอยู่ตรงข้ามกันอย่างชัดเจนทั้งแนวทางและเป้าหมาย

เมื่อ ปี 1960   เจ้าสีหนุได้บริหารประเทศค่อนข้างเอียงไปทางฝ่ายซ้าย แต่กลับล้มเหลวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมไม่ได้ เกิดความไม่พอใจกับฝ่ายขวาเป็นอย่างมาก

เจ้าสีหนุ แก้ปัญหานี้โดย ปรับรัฐบาลใหม่ให้ผู้นำฝ่ายขวาทั้ง  ลอนนอล และ เจ้า สิริมาตะ เข้ามาคุมรัฐบาลอย่างเต็มที่ จากนั้น ได้เปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจไปสู่ทุนนิยม และเริ่มขับไล่เวียตกงและเวียตนามเหนือออกไป  และได้โจมตีนโยบายของ นาย เอียง สารี และเจ้า สีหนุ


  • เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1970


ในที่สุดเจ้าสีหนุ ก็ถูกฝ่ายขวาโค่นลง ขณะที่เจ้าสีหนุกำลังเดินทางไปเยือน สหภาพโซเวียต และจีน เป็นการยุติบทบาทของเจ้าสีหนุลงอย่างสิ้นเชิง

เมื่อโค่นเจ้าสีหนุลง ฝ่ายขวากับซ้าย หันมาเผชิญหน้ากันเต็มที่ รัฐบาลของนายพล ลอนนอล ได้ผนึกกำลังกับ อเมริกาและเวียตนามใต้ ได้เข้ากวาดล้างเวียตกงและเวียตนามเหนือ ทำให้แผ่นดินกัมพูชากลายเป็นสนามรบกลางเมืองขึ้น


  • รัฐบาลของ ลอนนอล ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา และไทย ส่วนฝ่ายนายเอียง สารี ได้รับการสนับสนุนจากจีน เวียตนามเหนือและฝ่ายคอมมิวนิสต์ 

รวมไปถึงคอมมิวนิสต์เขมรแดง ( Khmer Rouge )  สลตสาร์ ( Sloth Sar )  หรือ พลพต 
เขียวสัมพัน และเอียงสารีได้เข้าโจมตีกองกองกำลังของ รัฐบาล ลอนนอล


  • จุดเปลี่ยนของเหตุการณ์นี้คือ  อเมริกา ที่มีปัญหาของตนเองในการพ่ายสงครามที่เวียตนามต้องการถอนกำลังของตนออกจากเวียตนาม จึงได้ยื่นมือเข้าช่วยรัฐบาลของนายพล ลอนนอล เพื่อจะถอนทหารตนออกจากเวียตนาม


เมื่ออเมริกาถอนทหารออกจากเวียตนามตามสัญญาในปารีสเมื่อปี 1973 โอกาสของรัฐบาล ลอนนอลก็ง่อนแง่นตามสถานณะการณ์นี้ไปด้วย


  • ในที่สุดกัมพูชาได้สถาปนารัฐบาลใหม่ขึ้นภายใต้กลุ่มขบวนการเขมรแดง ปรับแนวทางของประเทศเข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ และเกิดการฆ่าล้างแผ่นดินอย่างโหดเหี้ยม


แต่รัฐบาลเขมรแดงเองก็มีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยนาย เฮง สัมริน ที่มีเวียตนามใต้หนุนหลัง
ได้บุกโจมตีรัฐบาลเขมรแดงของ นาย พลพต เมื่อ 25 ธันวาคม 1978 และสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาปกครองกัมพูชาได้สำเร็จ เมื่อ 10 มกราคม 1979 ด้วยการสนับสนุนของเวียตนาม ทำให้แผ่นดินกัมพูชาเต็มไปด้วยทหารเวียตนาม กว่า 150,000 คนที่คงกำลังไว้ในกัมพูชา

ฝ่ายรัฐบาลเขมรแดงแม้ถูกโค่นอำนาจ แต่ยังประกาศว่าตนเองเป็นรัฐบาลอยู่ และได้รวบรวมกำลังขึ้น

มีกลุ่มของเจ้าสีหนุ กลุ่มของอดีตนายกซอนซานน์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย   ได้จัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น  ภายใต้ชื่อ รัฐบาลผสม เขมรสามฝ่าย  เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล ของเฮง สัมรินที่มีเวีนตนามใต้หนุนหลังอยู่

เหตุการณ์ยังไม่จบครับ ผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป เพื่อเป็นบทเรียนที่ดีต่อไปสำหรับสังคมไทย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น