Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

คอมมิวนิสต์คืออะไร และสอนอะไร



คาร์ล มาร์กซ์ เจ้าของ ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ 


ถ้าเป็นสมัย ปี 14 ผมต้องโดนตัดคอข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์แน่ที่นำลัทธิคอมมิวนิสต์ออกเผยแพร่ ผมมิได้ศรัทธาแนวทางคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ได้รังเกียจคอมมิวนิสต์ ในฐานะที่เรียนรัฐศาสตร์ เอกการปกครองก็ไม่อยากให้คนเข้าใจคอมมิวนิสต์ในความหมายที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางคอมิวนิสต์พอสังเขป เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเมืองต่อไป


ลัทธิคอมมิวนิสต์ ต้นตำรับก็คือ

  • คาร์ล มาร์กซ์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ปี ค.ศ.1818-1883 
เมื่อพูดถึงมาร์กซ์ จะละเลยบุคคลอีกผู้หนึ่งเสียไม่ได้ เพราะบุคคลนี้เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดของ มาร์กซ์ นั่นคือ เฟรดริค เฮเกล Friedrich Hegel ค.ศ. 1770-1831 ตอนเป็นนักศึกษา มาร์กซ์ได้รู้จักกับ เฮเกลซึ่งเป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาสำนักปรัชญาชื่อ อุดมคตินิยมยุคใหม่ (Modern Idealism ) เฮเกลจัดเป็นนักปรัชญาในกลุ่มจิตนิยม เฮเกลให้ความสำคัญกับสภาวะทางนามธรรม หรือ ความคิดเป็นอย่างมาก


  • เขาถือว่าความคิดเป็นโครงสร้างส่วนล่าง ( Infra Structure ) มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของโครงสร้างส่วนบน (super structure ) ส่วนบนคือ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม รวมถึงสภาวะทางการเมืองการปกครอง 
  • มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเฮเกล แต่เขามอง กลับกัน คือจากบนเป็นล่างจากล่างเป็นบน 
  • มาร์ก เห็นว่า super structure ควรเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนล่าง ซึ่งจะมีอิทธิพล ต่อความคิดหรือเหตุผลของมนุษย์บางประการ 


  1. ปี 1949 มาร์กซ์ ทำงานกับหนังสือ ที่เยอรมันฉบับหนึ่ง แต่ข้อเขียนของเขา ทำให้หนังสือนั้นถูกปิดและถอนใบอนุญาต ต่อมาเขาไปศึกษาต่อที่ ปารีส และย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ ตราบ วาระสุดท้ายของเขา 



เฟรดริค เองเกล เป็นอีกบุคลหนึ่งที่มีความสำคัญกับมาร์กซ์ เพราะเป็นผู้ออกทุนให้ มาร์กซ์ในงานเขียนต่างๆ
ชีวิตของ มาร์กซ์ เป็นไปอย่าง ลุ่มๆ ดอนๆ ถึงขั้นไปสมัครเป็นเพียงเสมียน แต่ถูก ปฏิเสธ เพราะลายมือไม่สวย
งานเขียนที่สร้างชื่อและมีอิทธิพลต่อสังคมโลก ของมาร์กซ์ และเองเกล คือ....ทุน.. (capital )
และคำปฏิญญา คอมมิวนิสต์ หรือคำประกาศ คอมมิวนิสต์ ( Communist Manifesto ) มาร์กซ์ กล่าวว่า ความคิด และวัฒนธรรมทั่วไป มีอิทธิพลน้อย และมักจะถูกกระตุ้นโดย เศรษฐกิจ และ สังคมการเมือง
คำกล่าวนี้กลับมีอิทธิพลอย่างมหาศาล ในรัสเซีย จนเกิดการก่อตัวขึ้นของขบวนการปฏิวัติ และนำไปสู่การ ปฏิวัติ รัสเซีย ในที่สุด


คำปฏิญญาคอมมิวนิสต์ มี 8 ประการ

  1. การยึดที่ดินเป็นของรัฐและการใช้ค่าเช่าจากที่ดินเหล่านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐ ระหว่างที่ยังไม่บรรลุเป็นสังคมคอมมิวนิสต์
  2. ภาษีเงินได้ที่เก็บเป็นอัตราส่วนที่สูงขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้น หรือภาษี ก้าวหน้า( Progressive Tax ) เช่น 3 หมื่น เก็บ ร้อยละ 10 มีรายได้ 5 หมื่น เก็บ 12 เป็นต้น
  3. ยกเลิกสิทธิในมรดก
  4. ให้มีศูนย์กลางสินเชื่อ โดยการจัดตั้ง ธนาคารของรัฐ
  5. กิจการขนส่งเป็นของรัฐ
  6. ให้รัฐเป็นเจ้าของโรงงานมากยิ่งขึ้นและให้มีการแบ่งสรรที่ดินใหม่
  7. ให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องทำงาน
  8. ให้มีการศึกษาของรัฐแก่เด็กทุกคน และไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก 
  • จะเห็นได้ว่าปฏิญญาคอมมิวนิสต์ ก็เป็นความปรารถนาพื้นฐานบ้านๆของมนุษย์ทั่วไป แต่สมัยนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก

  • จากปฏิญญานี้ ที่เราเห็นชัดว่าโลกประชาธิปไตยไม่มีและนำมาใช้ เช่น ภาษีอัตรา ก้าวหน้า และ การศึกษา พื้นฐาน การคุ้มครองแรงงาน และระบบสหกรณ์ ล้วน เป็นของมาร์กซ์ แท้ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นโลกประชาธิปไตยที่รังเกียจคอมมิวนิสต์ก็เหมือนเกลียดตัวกินไข่ 
ลัทธิคอมมิวนิสต์ มองโลกในแง่ เปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกผลักดันโดยพลังทางวัตถุ และพลังทางเศรษฐกิจ ซึ่ง มาร์กซ์เรียก ทฤษฎีของเขาว่า วิภาษวิธีทางวัตถุ

( Dialectical materialism )
  • หลักการใหญ่คือเปลี่ยนแปลงสังคมรวมถึงความคิด รูปแบบเนื้อหาสาระทางวรรณคดี สถาบันต่างๆ เป็นผลกระทบมาจากแรงผลักดันทางวัตถุโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ แรงกระตุ้นคือ การ ขัดแย้ง (รายละเอียดเรื่องนี้หาอ่านได้จากหนังสือที่ว่าด้วยลัทธิอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จฝ่ายซ้าย ตามทฤษฎีของมาร์กซ์ได้แบ่งโลกออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้


ยุคคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม คือยุคดึกดำบรรพ์ที่ยังไม่มีความเจริญและอุตสาหกรรม 
ไม่มีสมบัติส่วนตัว
  • ยุคทาส 
  • ยุคศักดินา 
  • ยุคนายทุน หรือทุนนิยม 
  • ยุคสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์ กล่าวว่าเมื่อสังคม พัฒนามาถึงยุคนี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก เป็นสังคมที่ทุกคมเท่าเทียม สังคมในอุดมคติ หรือ ยูโธเปีย ของ มาร์กซ์
โดยในแต่ละยุคจะมีคู่ขัดแย้งของมันเองในแต่ละยุค ซึ่งขอข้ามไป


  • สรุป คอมมิวนิสต์ ว่ากันตามหลักก็คือ อุดมการณ์ อุดมคติ ที่ผู้เขียนทฤษฎีคือ มาร์กซ์ อยากเห็น อยากให้เป็น อยากให้เกิดขึ้นในสังคม และถูกนำไปใช้เป็นแบบแผนทางสังคม ทั้งสังคมการเมือง การปกครอง ศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม ฯลฯ 
  • แต่การนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ตีความทฤษฎีเป็นอย่างไรเข้าใจทฤษฎีอย่างไร เช่นเลนิน นำไปใช้ที่รัสเซีย ก็ไปตีความปรับใช้ตามแบบเลนิน ผสมมาร์กซ์ จึงเรียก มาร์กซ์ - เลนิน เหมา เจ๋อตุง นำไปใช้ก็ไปปรับใช้แบบเหมา 
ส่วนตัวผมศึกษาเอาแก่นสาระแท้ของแต่ละระบอบมาวิเคราะห์แยกแยะเอาข้อดีข้อเสีย ผมมีมุมมองส่วนตัวว่า การที่จะศรัทธาหรือไม่ศรัทธา ทฤษฎี ใด ก็ตาม ควรดู ปูมหลังผู้เขียนทฤษฎีประกอบ
มาร์กซ์ ก็เช่นกัน ผมมองว่า มาร์กซ์ ก็เป็นคนที่คิดดีคนหนึ่งต่อสังคม เขาเกิดในยุคที่กำลังปฎิวัติอุตสาหกรรม ยุคที่แรงงานถูกใช้เหมือนทาส ปัจจัยการผลิตต่างๆอยู่ในมือนายทุน สังคมไม่เท่าเทียม เขาจึงเกิดความคิด สังคมในอุดมคติของเขาเพื่อ ปลด พันธนาการเหล่านั้นของสังคม แต่ มาร์กเป็นนักวิชาการ ไม่ใช่นักการเมืองนักการทหาร สังคมยูโธเปียของเขาจึงถูกผู้อื่นนำไปตีความนำไปใช้ โดยที่ตัวเขาไม่มีส่วนร่วมใดๆเลย
  • ดังนั้นคำจำกัดความที่ว่า คอมมิวนิสต์คือพวกกินคน พวกป่าเถื่อน โหดร้าย ดูจะไม่ยุติธรรมสำหรับมาร์กซ์ เท่าใดนัก ทั้งที่เขาเป็นเพียงผู้หวังดีต่อสังคม คอมมิวนิสต์คือชื่อที่ใช้เรียกในงานวิชาการของเขากลับถูกแปลงให้เป็นความน่าเกลียดน่ากลัว ผมในฐานะนักรัฐศาสตร์ หางแถวที่ร่ำเรียนรูปแบบการปกครองของโลกมาจึงขอถือโอกาสนี้ เสนอ หลักแท้ที่เป็นต้นแบบให้ได้อ่านเพื่อเข้าใจแนวทางกัน อาจผิดพลาดจากการพิมพ์ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น