Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

ประเภทของหนังสือ








  • หนังสือสารคดี (  Nonfiction ) 

หมายถึงหนังสือที่มุ่งเน้น ให้สาระความรู้ ได้แก่หนังสือให้ความรู้ทั่วไปหรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง







บันเทิงคดี


  • หนังสือบันเทิงคดี (  Fiction ) 

หมายถึงหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือประสบการณ์ของผู้เขียนเอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน ข้อคิด คติชีวิต แง่มุมต่างๆ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น


ตำรา

  • ตำรา (  Tex book ) 


หมายถึง หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน ซึ่งเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือชำนาญการในสาขาวิชานั้นๆ



หนังสืออ้างอิง

  • หนังสืออ้างอิง (  Reference book ) 


 หมายถึงหนังสือที่ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหัวข้อเฉพาะเท่านั้น ไม่ได้อ่านตลอดทั้งเล่ม  เช่น หนังสือพจนานุกรม สารานุกรม  หนังสือปฏิทินรายปี อักษรานุกรมชีวประวัติ อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ บรรณานุกรม และดัชนี เป็นต้น


สิ่งพิมพ์รัฐบาล

  • สิ่งพิมพ์รัฐบาล (  Government Public cation ) 


หมายถึงสิ่งพิมพ์ที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ จัดพิมพ์ขึ้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น วารสาร จุลสาร แผนที่ เป็นต้น



วารสาร


  • วารสาร (  Periodicals )


 เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ที่พิมออกเผยแพร่ โดยสม่ำเสมอ มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ เสนอเนื้อเรื่อง ในรูปแบบทความ แบ่งคอลัมน์เป็นหลายประเภท เขียนโดยผูเขียนหลายคน ขอบเขตเนื้อเรื่องอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันบ้างจะจบในฉบับหรือหลายฉบับก็ได้




นิตยสาร

  • นิตยสาร (  Magazine ) 


 หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ให้ความบันเทิงและความรูทั่วไป บทความในนิตยสารจะไม่เน้นหนักทางวิชาการ  เนื้อหาจะมีหลายรูปแบบ อาทิ สารคดี ชีวประวัติ บคคลในข่าว สรุปข่าว เหตุการณ์สำคัญต่างๆ



จุลสาร

  • จุลสาร ( Pamphlets) 


เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นกาลเฉพาะ ส่วนมากมักเสนอเรื่องที่กำลังร้อนเป็นที่ได้รับความสนใจของสังคมในเวลานั้นๆ


  • เชิงอรรถ ( Footnotes )


เป็นส่วนที่อธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฎในเนื้อเรื่อง บอกให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความว่ามาจากแหล่งใด หรืออธิบายคำยาก  โดยทั่วไป เชิงอรรถ จะปรากฎอยู่ในตอนล่างของหน้าที่มีข้อความที่อ้างอิง หรืออาจรวมอยู่ในท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้

  • อภิธานศัพท์ (  Glossary )  


เป็นส่วนที่อธิบายคำยาก หรือ ศัพท์เฉพาะที่ปรากฎ ในเนื้อเรื่องของหนังสือ
อภิธานศัพท์มักมีอยูในหนังสือที่มีคำศัพท์มาก ( คล้ายๆกับเป็นพจนานุกรมของหนังสือเล่มนั้นๆ )

  • ภาคผนวก (  Appendix )  


จะเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ช่วยเสริมเนื้อเรื่องของหนังสือให้สมบูรณ์  อาจทำเป็น ตาราง แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพหรือข้อมูล ที่ช่วยให้เนื้อหาบางตอน ทันสมัยขึ้น


  • บรรณานุกรม (  Bibliography  ) 

เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ หรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบในการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆ โดยมีการจัดเรียงรายชื่อหนังสือเรียงตามลำดับอักษร อาจปรากฎอยู่ท้ายบทของแต่ละบทหรือรวมอยู่ท้ายเล่มก็ได้  การเขียนบรรณานุกรม เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติเจ้าของผลงานและเป็นการขออนุญาตที่เราได้นำหนังสือเล่มนั้นๆมาเป็นข้อหรือแหล่งอ้างอิงที่มา


  • ดรรชนี (  Index )  

เป็นบัญชีคำหรือบัญชีหัวข้อเรื่องย่อยๆในหนังสือเล่มหนึ่งๆ มีการจัดเรียงคำหรือหัวข้อย่อย ตามลำดับอักษร พร้อมระบุเลข หน้า หนังสือ ที่คำหรือข้อความปรากฎอยู่ โดยทั่วไปดรรชนีมักอยู่ท้ายเล่ม


กฤตภาค

  • กฤตภาค (  Clipping ) 

ป็นบทความเหตุการณ์สำคัญๆเรื่องราวต่างๆ รูปภาพของบุคคลสำคัญ แผนที่หรือสารสนเทศอื่น
ประโยชน์ของ กฤตภาคคือ ให้สารสนเทศใหม่ๆซึ่งอาจไม่พบในหนังสือทั่วไปใช้เป็นส่วนเสริมความรู้



ไมโครฟิล์ม

  • ไมโครฟิล์มมีความยาวประมาณ ม้วนละ 100 ฟุต สามารถใช้ย่อส่วนหนังสือได้สูงถึง 500 -800 หน้า ต่อหนึ่งม้วน ไมโครฟิล์มมีตั้งแต่ขนาด 8 มิลลิเมตร 16 มิลลิเมตร 35 มิลลิเมตร และ 75 มิลลิเมตร

ไมโครฟิช


  • ไมโครฟิช หรือฟิล์มโปร่งแสง มีขนาดเท่าไปรษณียบัตร หรือ 4 x 6  หรือ 5 x 8 
แต่ขนาดมาตรฐานคือ 4 x 6   ไมโครฟิชหนึ่งแผ่น สามรถเก็บภาพได้ 60 - 200 ภาพ 


กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น