รีซิสเตอร์ ( Resistors ) หรือตัวต้านทาน เรียกย่อว่า R (อาร์)
รีซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ อิเลคโทรนิคส์ ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในวงจร อิเลคโทรนิคส์ทั่วไป
รีซิสเตอร์ แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันออกไปทั้งรูปร่างและหน้าตา
แต่คุณสมบัติ หรือหน้าที่ของ อาร์ มีเหมือนกันคือ ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานแรงดันทางไฟฟ้า หรือศัพท์ทางเทคนิคเราเรียกว่า ดรอพโวลท์เตจ ( Drop Voltage ) ให้ต่ำลง โดยใช้ อารื ต่อเข้ากับวงจร
เช่น ถ้าต่อแบบอันดับ รีซิสเตอร์ที่มีค่ามาก จะยอมให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อย เรียกว่า ดรอพมาก ในทางกลับกันถ้า รีซิสเตอร์ที่มีค่าน้อยจะยอมให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไหลผ่านได้มาก
เรียกว่า ดรอพน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระแสไฟที่ไหลในวงจร และคุณสมบัติในการออกแบบในวงจรว่าตรงจุดนั้นวิศวกรต้องการให้มีการไหลของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่าใด
รีซิสเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.รีซิสเตอร์ค่าคงที่ (Fixed Resistors) เป็นชนิดที่มีค่าความต้านทานคงที่แน่นอนส่วนใหญ่อยู่ในแผงวงจร
2.รีซิสเตอร์แบบเลือกค่าได้ หรือ แทป รีซิสเตอร์ ( Tapped Resistor ) จะมีแทปออกมาหลายขั้วใช้เลื่อนขึ้นเลื่อนลง บางคนนิยมเรียกว่า อาร์ สไลด์ ที่เห็นชัดคือ ที่ปรับเสียงสูงต่ำในวงจรอีควอไลเซอร์
3. รีซิสเตอร์แบบปรับค่าได้ หรือวาริเอเบิ้ลรีซิสเตอร์ ( Variable Resistor ) เรียกย่อว่า วีอาร์ VR ใช้ในวงจรปรับลดเสียงหรือคนทั่วไปมักเรียกว่า วอลลุ่ม ในวงจรเครื่องเสียงทั่วไปนี่เอง
4.รีซิสเตอร์ชนิดพิเศษ ( Special Resistor ) ถูกออกแบบมาให้มีความไวต่อความร้อนมี 2 ชนิดคือ แอลดีอาร์ และเทอร์มิสเตอร์ ใช้ในวงจรเซ็นเซอร์
แผงวงจรอิเลคทรอนิคส์ จะเห็นว่ามีรีซิสเตอร์ที่มีแถบสีแบบ 5 สี
- รีซิสเตอร์แบบค่าคงที่ จะมีทั้งแบบ 4 สี และ 5 สี แบบ 5 สีจะมีคุณภาพดีกว่า เราจะสังเกตุเห็นว่าทั้ง 4 สี จะแต้มไว้ใกล้กัน นั่นคือค่าของรีซิสเตอร์ตัวนี้ ส่วนสี ขวามือสุด เป็นสีแสดงค่าความผิดพลาดของ อาร์ตัวนี้ ในรูปคือสี น้ำตาล หมายถึงค่าความผิดพลาด 1 % เราจะอ่านค่าสีจากซ้ายไปขวาด้านที่สีชิดกัน
- รีซิสเตอร์แบบ 4 สี ตัวบนสุด สีแรกคือ น้ำตาล หมายถึง 1 สีที่2คือน้ำเงิน หมายถึงเลข 6 สีที่3 คือแดงคือ เลข 0สองตัวคือ 00
ดังนั้นเมื่อถอดรหัสสี อาร์ตัวนี้จะได้ 1600 โอห์ม หรือ 1.6 kหรือ 1.6 กิโลโอห์ม ขนาด 1 วัตต์
ตารางการอ่านค่าสีรีซิสเตอร์ทั้งแบบ 4 สี และ 5 สี มีดังรูปด้านบนนี้
รีซิสเตอร์แบบไวว์วาวด์
การต่อรีซิสเตอร์มีอยู่ 2 แบบคือ
1 แบบอนุกรมหรืออันดับ
2.แบบขนาน
- รีซิสเตอร์ไม่มีขั้ว บวกลบ เวลาต่อใช้งานดูจากค่าของรีซิสเตอร์และขนาดทนวัตต์เท่าเดิมและเป็นประเภทเดิมไม่ควรดัดแปลงค่า
อาการเสียของรีซิสเตอร์มีดังนี้
1.ยืดค่าหรือเพิ่มค่า ( คือค่าของรีซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่นค่าสีอยู่ที่ 100 โอห์ม อาจเพิ่มเป้น 200 โอห์มหรือสูงขึ้นถึง 1 เคโอห์ม )
2 ขาด เกิดจากการที่รองรับการไหลของกรแสไม่ไหวจะทำให้เส้นลวดภายในโครงสร้างขาด ทำให้มีผลต่อวงจรโดยรวม
( รีซิสเตอร์ไม่มีอาการชอร์ทเด็ดขาด แม้บางครั้งตัวมันจะไหม้ ก็จะเสีย 2 อย่างนี้เท่านั้น
- แรงดันทางไฟฟ้า มีหน่วย เป็น โวลท์
- ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม
- กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น แอมป์แปร์
- พลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์
กังวาล ทองเนตร แสงทองอิเลคทรอนิคส์แสงทองโทรทัศน์ , เทคนิคเทพนิมิตรหรือเทคนิคไทยญี่ปุ่น
so good
ตอบลบ