พลพตผู้นำเขมรแดง
นับแต่ปี 1979 เรื่อยมา
แผ่นดินของกัมพูชาเต็มไปด้วยสงครามกลางเมือง ระหว่างสารพัดฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ได้ต่อสู้ฆ่าล้างกันจนเลือดแดงทาทั่วผืนดินกัมพูชา
- ส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งสงครามกลางเมือง ก็มาจากต่างประเทศที่เข้าแทรกแซง ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ไทย จีน เวียตนาม เวีนตกง เป็นต้น
แต่ ปัจจัยภายนอกเช่นกันที่จะทำให้สงครามในกัมพูชายุติลงได้ เพราะพี่เบิ้มใหญ่ของแต่ละฝ่ายที่หนุนหลังอยู่ เพียงแค่ทั้งหมดหยุดสงครามในกัมพูชาก็หยุดเช่นกัน
ผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในการยุติการฆ่าล้างในกัมพูชาลงได้โลกจะปฏิเสธเขาเสียไม่ได้เลย
- นาย กาเรธ อีแวนส์ ( Gareth Evans ) รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเรีย และอีกท่านคือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่เข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ. 1988 ผู้มีแนวคิดเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า
พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ
- แล้วบทบาทของอาเซียนก็โดดเด่นขึ้น นาย อาลี อาลาตัส รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ได้จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางขึ้นที่กรุงจาการ์ตาระหว่างกลุ่มผู้นำต่างๆ ในกัมพูชาที่เป็นปฏิปักษ์กัน
- และเมื่อวันที่ 23ตุลาคม 1991 สงครามในกัมพูชาได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ ตามสัญญาสันติภาพปารีส
ภาย ใต้ข้อตกลงนี้ ให้กองกำลังทุกฝ่ายในกัมพูชาต้องยุติการสู้รบ ลดกำลังรบ และปลดอาวุธ โดยให้สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด และทำหน้าที่ประสานงานกับองค์การบริหารของฝ่ายสหประชาชาติชั่วคราว หรือ อันแทค เพื่อสถาปนาสันติภาพและจัดให้มีการเลือกตั้งในกัมพูชาต่อไป
- เมื่อ พฤษภาคม 1993 อันแทคได้จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในกัมพูชา โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 22 พรรค
- อย่างไรก็ตามได้กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนได้ 120 คน
พรรคฟุนซินเปค ( Funcinpec) ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้ 58 ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา ของนาย ฮุนเซ็น ได้ 51 ที่นั่ง
พรรคเสรีประชาธิปไตยแนวพุทธของนายซอนซานน์ ได้ 10 ที่นั่ง
พรรคโมลินาคา ของนาย พรม นาคราช ได้ 1 ที่นั่ง
- งานแรกของสภาชุดนี้คือ
การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อ 21 กันยายน 1993
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถอดด้ามนี้ กำหนดให้ มีนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว
แต่เพื่อลดความขัดแย้งจึงได้กำหนดบทเฉพาะกาลขึ้น ให้รัฐบาลชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีนายกรัฐมนตรี 2 คน
เจ้ารณฤทธิ์
- โดยให้เจ้ารณฤทธิ์ เป็นนายกฯคนที่ 1
- นายฮุนเซ็นเป็นนายกฯคนที่ 2
พิเศษ ไปกว่านั้นอีกคือกระทรวงสำคัญ 2 กระทรวงคือมหาดไทย และกลาโหม ให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงละ 2 คน จากพรรค ฟุนซินเปค และพรรคประชาชนคุมบังเหียนด้วยกัน จึงเป็นประชาธิปไตยแบบกัมพูชาโดยแท้
ถึง มีรัฐบาลใหม่มาจากการเลือกตั้งแล้วการเมืองในกัมพูชาก็หาได้สงบลงไม่ ยังมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง จาก 2 พรรค และ 2 นายกฯ แย่งอำนาจการปกครองกันเอง และมีตัวแปรที่สำคัญคือ กลุ่มเขมรแดง
ฮุนเซน
- ในที่สุดความขัดแย้งดำเนินมาถึงขีดสุด
เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 1997 นายฮุนเซ็น นายกฯคนที่ 2 ได้ยึดอำนาจนายกฯคนที่หนึ่งคือเจ้ารณฤทธิ์ โดยอ้างเหตุผลว่า เจ้ารณฤทธิ์ สะสมกำลังอาวุธอย่างผิดกฎหมายเพื่อยึดอำนาจปกครองและสมคบกับกลุ่มนอกกฎหมาย เขมรแดง
การ สู้รบทางทหารกลับเข้าสู่แผ่นดินกัมพูชาอีกครั้ง นำไปสู่การยื่นมาเข้ามาจากต่่างชาติเช่นกลุมประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น อเมริการวมไปถึงสหประชาชาติ ได้กดดันบีบบังคับผ่านระบบเศรษฐกิจและการเมืองให้ยุติความขัดแย้งนี้เสีย
- ในที่สุดก็นำมาสู่การเลือกตั้งครั้งที่ 2 ขึ้นในกัมพูชา
ครั้งนี้มี ส.ส.122 ที่นั่ง
มีพรรคการเมืองเข้าร่วมสนามครั้งนี้ 32 พรรค
พรรคประชาชนของนายฮุนเซ็น ได้ 64 ที่นั่ง
พรรคฟุนซินเปคของเจ้ารณฤทธิ์ ได้ 43 ที่นั่ง
พรรคสามเรนสี ( Sam Rainsy ) ของอดีตรัฐมนตรีว่าคลังนาย สาม เรนสีได้ 15 ที่นั่ง
- กัมพูชา ต้องการลบภาพความขัดแย้ง ต่างฝ่ายได้ตกลงกันให้มัการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นในปี 1999 มีการเพิ่มวุฒิสภาเข้ามาในรัฐธรรมนูญอีกสภา จากเดิมมีเพียง สภาผู้แทนสภาเดียว วุฒิสภานี้ให้มี 61 คน
จากพรรคประชาชน 31 คน
พรรคฟุนซินเปค 21 คน
พรรคสามเรนสี 7 คน
อีก 2 คน แต่งตั้งโดยกษัตริย์
- รัฐบาลใหม่มี นายฮุนเซ็น เป็นนายกฯ
นายเจีย ซิม จากพรรคประชาชนกัมพูชา เป็น ประธานวุฒิสภา โดยมีเจ้า นโรดมสีหนุเป็น กษัตริย์
กองกระโหลกจากสงครามความขัดแย้งทางการเมือง
นายพล ลอน นอล ผู้นำฝ่ายขวาจัด
นายเขียวสัมพัน
- การ เมืองของกัมพูชาปัจจุบัน แม้จะดูมีเสถียรภาพแต่ความเป็นจริงมีเพียงชาวกัมพูชาเท่านั้นที่รู้ว่าแท้ จริงแล้วมีเสถียรภาพเพราะสภาพการเมืองโดยธรรมชาติ หรือมีเสถียรภาพเพราะอำนาจเบ็ดเสร็จกันแน่
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น