Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ตรรกวิทยา ( Logic )

ตรรกวิทยา ( Logic )

อริสโตเติ้ล

ตรรกวิทยา

  • เหตุผลคือเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การศึกษาตรรกวิทยาจะทำให้เราสามารถใช้เหตุผลได้ถูกต้อง
  • การคิดหาเหตุผลคือ  การสรุปสิ่งที่เรายังไม่รู้ และ สิ่งที่เรารู้แล้ว
  • สิ่งที่เรารู้แล้ว เรียกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่จะใช้ในการตัดสินใจ
  • การอ้างเหตุผล จะถูกหรือผิดก็ได้ เพราะบางครั้งดูเหมือนว่ามีเหตุผล แต่จริงๆ กลับไม่เป็นเหตุเป็นผล จึงต้องมีกฎเกณฑ์ในการใช้เหตุผลและต้องรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้การอ้างเหตุผลนั้นไม่สมเหตุสมผลด้วย เช่น
  • เราเห็นนายดำ ขับรถ ราคาคันละสิบล้าน เราได้ข้อมูลแล้วคือรถ  สุดท้ายเราก็สรุปว่านายดำเป็นคนรวยมีฐานะดี
  • ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้  เพราะความเป็นจริง
  • นายดำอาจรวยจริง หรือเป็นแค่คนขับรถ หรือยืมรถเพื่อนมาขับ ก็เป็นได้
  • หรือ เราขับรถไปเห็นถนนเปียก ข้อมูลที่เราได้คือ ถนนเปียก แล้วเราก็สรุปว่า ฝนตก ซึ่งความจริง อาจเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ ถนนอาจเปียกเพราะท่อประปาแตก หรือมีการรดน้ำต้นไม้ นี่จึงเป็นหลักเกณฑ์ ที่เราต้องเรียน ตรรกวิทยา    

ตรรกวิทยาคือการคิดหาเหตุผล  ตรรกวิทยาแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.   ตรรกวิทยา เชิงรูปแบบ ( นิรนัย )

  • ตรรกวิทยาเชิงรูปแบบนี้ จะเน้นให้ความสำคัญ กับรูปแบบทางความคิด มากกว่าทางด้านเนื้อหา
  • เราจะแยกได้อย่างไรว่าแบบไหนเป็นนิรนัย แบบไหนเป็นอุปนัย
  • ลักษณะของตรรกวิทยาแบบนิรนัยจะเริ่มต้นกว้าง แล้วสรุปแคบ คือเริ่มต้นตรรกด้วยหลักใหญ่ทั่วไป แล้วไปสรุปที่ปลีกย่อย เช่น
  • ทุกคนเกิดมาต้องตาย  นายบอด เป็นคน เพราะฉะนั้น นายบอดต้องตาย
  • ทุกคนคือตรรกเริ่มต้น เริ่มด้วยทั้งหมด คือทุกคนหรือทุกสิ่ง เป็นต้น
  • นายบอดคือข้อสรุป เริ่มจากทุกคน แต่มาสรุปที่นายบอด 
( นี่คือแบบนิรนัย)

2.  ตรรกวิทยา แบบอุปนัย ตรรกวิทยารูปแบบนี้ ให้ความสำคัญกับความรู้เชิงประจักษ์หรือประบการณ์ เป็นพื้นฐาน แต่จะสรุปเกินประสบการณ์


  • เช่น  สมุดลอยน้ำ
  • กล่องลอยน้ำ
  • หนังสือลอยน้ำ
  • ซองจดหมายลอยน้ำ
  • สรุป กระดาษ เป็นสิ่งที่ลอยน้ำ  เห็นความต่างนะครับ

  • คือแบบอุปนัย เป็นการเก็บข้อมูลหลายๆครั้ง แล้วจึงนำมาสรุป 
  • ส่วน ค่าความจริงหรือความเป็นไปได้ของตรรกรูปแบบนี้ อยู่ในขั้น ความน่าจะเป็นเท่านั้น  
  • วิธีอุปนัยนั้น ถ้าข้อสรุปที่เราได้มานั้นมีความจริงอยู่สูง เราก็จะได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมาจากตรรกวิทยารูปแบบนี้
  • ส่วนแบบนิรนัย ถ้าข้ออ้างจริง บทสรุปก็จริงด้วย

                                    องค์ประกอบของความรู้ มีอยู่ 3 ประการ

1. มีความคิดเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ในใจแล้ว (สมมุติฐาน )
2. สิ่งที่คิดนั้น มีอยู่จริง ในโลกภายนอก
3.  เชื่อว่าสิ่งที่เราคิด กับวัตถุภายนอกนั้นตรงกันหรือเหมือนกัน 

  • เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 นี้ จึงจัดว่าเป็นความรู้จะขาดข้อใดไปไม่ได้
  • สรุป. ตรรกวิทยามี 2 รูปแบบ คือ นิรนัย และอุปนัย
  • นิรนัย เริ่มจากตรรกที่กว้าง แต่สรุปแคบ และระดับค่าความเป็นจริงนั้นถูกต้อง
  • อุปนัย เริ่มจากแคบ แต่สรุปกว้าง ดังนั้นค่าความจริงจึงอยู่ในขั้น ความน่าจะเป็นเท่านั้น


  • การอ้างเหตุผล มีทั้งผิดและถูก ถ้า ภาษา บกพร่อง ดังนั้น ตรรกวิทยา จึงให้ความสำคัญกับภาษา โดยไม่สนใจไวยากรณ์ เน้นที่ภาษาที่ใช้สื่อสาร ไม่สนใจภาษามือ หรือ อวัจนะภาษา เพราะเป็นภาษาที่บกพร่องจึงไม่สามารถสื่อความคิดหรือเหตุผลได

            กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง





................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น