คำว่าประชาธิปไตย มาจากภาษากรีก 2 คำมารวมกัน คือ
กรีกโบราณ แบ่งการปกครองออกเป็นรูปแบบนครรัฐ ผมจะขอหยิบยกเอามา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย เพียง สองนครรัฐคือ
1.นครรัฐ เอเธนส์ นครรัฐนี้ มีการจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ( โดยตรง หรือทางตรง )
2. นครรัฐ สปาร์ตา นครรัฐนี้ ปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
- Demos หมายถึงประชาชน
- Kratia หรือ Kratos หมายถึงการปกครอง
- เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกันจึงหมายถึง การปกครองของประชาชน
- ระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นที่ นครรัฐเอเธนส์ Athens เป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่ของกรีกโบราณ หรือ กรีช ในปัจจุบัน
อารยะธรรมกรีก
กรีกโบราณ แบ่งการปกครองออกเป็นรูปแบบนครรัฐ ผมจะขอหยิบยกเอามา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย เพียง สองนครรัฐคือ
1.นครรัฐ เอเธนส์ นครรัฐนี้ มีการจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ( โดยตรง หรือทางตรง )
2. นครรัฐ สปาร์ตา นครรัฐนี้ ปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
- ชาวกรีกเป็นพวกอินโด - ยูโรเปี้ยน มีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่ที่ลุ่มน้ำ ดานูบ Danube ชาวกรีกเมื่อเปรียบเทียบกับ ชาติพันธุ์อื่นในยุคนั้น จัดว่าเป็นพวกเร่ร่อน ไม่มีความเจริญ เมื่อเทียบกับพวก ครีตัน -ไอโอเนียน
- นครรัฐสปาร์ตามีพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางไมล์ มีประชากร ประมาณ 400,000 คน
- ประชาชนของรัฐสปาร์ตา เป็นเชื้อสาย ดอเรียน Dorians
- รูปแบบการปกครองของ สปาร์ตา แบ่งเป็น 3 หน่วยงาน
- 1. มีกษัตริย์ 2 องค์ เป็นผู้นำทางทหาร และศาสนา
2. มีสภามนตรี ประกอบด้วยกษัตริย์ 2 องค์ และขุนนางอีก 28 คน รวม เป็น 30 คน
มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต
3. สภาประชาชน ประกอบด้วยชายชาวสปาร์ตา ที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไป
สภามนตรีมีหน้าที่ บริหาร เป็นที่ปรึกษา เตรียมงาน ตุลาการ ฯลฯ
3. สภาประชาชน ประกอบด้วยชายชาวสปาร์ตา ที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไป
สภาประชาชนมีหน้าที่ ให้ความเห็นชอบหรือคัดค้าน ข้อเสนอของขุนนาง
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เลือกเจ้าหน้าที่สภามนตรี กำหนดนโยบาย ต่างประเทศ สงคราม
การสืบตำแหน่งกษัตริย์ ( นี่เป็นเพียงรูปแบบที่วางไว้ครับ )
แต่ในความเป็นจริงแล้วอำนาจเบ็ดเสร็จ อยู่ในมือคน 5 คน เรียกว่า เอโพเรท
Ephorate
- พวกเอเพอร์นี้ เป็นใคร
- เป็นรัฐบาล
- เป็นประธานในสภามนตรี
- ประธานสภาประชาชน
- คอยควบคุมการศึกษา
- ความมั่นคง
- ความเป็นอยู่ของประชาชน
- และมีอำนาจยับยั้งพระราชบัญญัติทุกฉบับ
- และมีอำนาจในการกำหนดชะตาชีวิตของเด็กเกิดใหม่ ในรัฐทุกคน เมื่อเด็กเกิดมา คนพวกนี้จะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้อยู่หรือให้ตาย โดยดูจากรูปร่างของเด็ก ถ้าดูแล้วไม่แข็งแรงก็จะให้ฆ่าทิ้งเสีย ถ้าเห็นว่าน่าจะแข็งแรงก็จะให้เลี้ยงไว้ ( นี่คืออำนาจ เบ็ดเสร็จของ 5 คนนี้ ) *** ผมแนะนำให้ไปหาหนังประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพวกรีกนี้มาดูครับ เช่น 300 เป็นต้น ดูเพื่อศึกษาโครงสร้างของเขา ไม่ใช่สีสันที่เขาใส่เข้าไป***
ในรัฐ สปาร์ตาร์ ยังแบ่งคนออกเป็น 3 ชนชั้น
1. สปาร์ติเอท Spartiates เป็นชนชั้นปกครอง พวกนี้ต้องมีเชื้อสาย ดอเรียนเท่านั้น และเป็นพวกเดียวนี้เท่านั้นที่มีสิทธิทางการเมือง
2. เพริออไค Perioeci พวกนี้ไม่ใช่ชาว สปาร์ตาโดยตรง แต่เป็นพวกที่เป็นพันธมิตร หรือเคยเป็นพันธมิตรกับสปาร์ตามาก่อน พวกนี้ไม่มีสิทธิทางการเมือง แต่มีเสรีภาพในการทำการค้าอย่างเสรีในสปาร์ตา
3. เฮลอท-เซิฟ Helot -serfsพวกนี้เป็นชาวพื้นเมืองเดิม เป็นทาสติดดิน ชะตาชีวิตขึ้นอยู่กับผู้เป็นนาย
นครรัฐเอเธนส์
- เอเธนส์ มีเนื้อที่ประมาณ 1,060ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 400,000 คน พอๆกับ สปาร์ตา
- การปกครองเอเธนส์ใน ศตวรรษที่ 8 ยังเป็นรูปแบบกษัตริย์ต่อมา ในสมัย ดราโก Dracoได้ปฏิรูปสังคมใหม่และออกกฎหมายลงโทษอย่างรุนแรง และก่อน ค.ศ.594 ปี ประชาชนพร้อมใจกันเลือกโซลอน Solon เป็นผู้นำ
- โซลอนได้ปฏิรูปการเมืองดังนี้
2.ให้สิทธิการเลือกตั้งกับคนชั้นต่ำให้เข้ามามีส่วนร่วมในสภาประชาชน ( สภาประชาชน มาจากพลเมืองทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ) นี่คือประชาธิปไตยทางตรง
3. จัดระเบียบศาลสูงสุด เปิดโอกาสให้ประชนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง มีอำนาจรับคำอุทธรณ์ จากการตัดสินของผู้ปกครอง แก้กฎหมายให้มีความยุติธรรมโทษหนักเบาลดหลั่นกันตามความผิด
- ในยุคโซลอน จะให้ความสำคัญกับชาวนามาก เขายกเลิกการจำนองยกเลิกทาสเนื่องจากหนี้จำกัดการถือครองที่ดินให้กระจายออกสู่มือทุกคน นำระบบเงินตราเข้ามาใช้ บังคับพ่อแม่ให้สอนลูกตนเองให้รู้จักทำการค้า ให้สิทธิพิเศษชาวต่างชาติ การกระทำเหล่านี้ ทำให้เหล่าขุนนางไม่พอใจ และเกิดความวุ่นวายขึ้น
- เอเธนส์ ตกอยู่ในมือทรราชอย่าง ไพซิสตราตัส เอเธนส์เข้าสู่ยุคมืด ต่อมา ฮิปเปียสบุตรชาย ไพซิสตราตัส สืบอำนาจต่อยิ่งเลวร้ายยิ่งกว่า ในที่สุด ขุนนางอีกเช่นกันทนการกดขี่ไม่ได้ลุกขึ้นมาโค่นล้ม ฮิปเปียส ลง และแต่งตั้ง ไคลอีส เธนิส ซึ่งประชาชนให้การสนับสนุน
- เธนิส ตอบแทนประชาชนโดยปฏิรูปการเมืองอย่างเร่งด่วนและขนานใหญ่
- จนได้รับสมญานามจากประชาชนเอเธนส์ว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของเอเธนส์
- เธนิส ก่อตั้ง สภา 500 ขึ้นมา (คุ้นๆ )แทนสภา 400 ยุคโซลอน แบ่งประชาชนเป็น 10 หมู่ เลือกสมาชิกมาหมู่ละ 50 คนผลัดเปลี่ยนกันเข้าทำหน้าที่ใน สภา 500 เวียนกันไปจนครบประชาธิปไตยโยตรงได้กลับคืนสู่เอเธนส์อีกครั้ง
- เอเธนส์มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายยุคแต่ที่ถือว่าประชาธิปไตยเจริญขีดสุดมาอยู่ในยุคของ เพริคลิส Pericles 461- 429 ก่อนคริสต์ศตวรรษระบบศาลมีคณะลูกขุน ฯลฯ
- นี่คือวิวัฒนาการการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งถือกำเนิดที่ นครรัฐ เอเธนส์ กรีกโบราณ เป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง เริ่มในยุค โซลอน มีสภา 400 แล้วเข้ายุคมืด มาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้งยุค เธนีส มีสภา 500 แล้วมาเจริญขีดสุด ยุคเพริคลิส
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครอง ศศบ.รบ.รามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น