มุมมองเกี่ยวกับ อุดมการณ์ จากนักสร้างทฤษฎี
อุดมการณ์ ( Ideology )
- ถูกใช้ครั้งแรกโดย Antonie Louis Claude Destutt de Tracy
นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ในงานเขียนของเขา เมื่อ ค.ศ.1797
- อุดมการณ์ หมายถึง ระบบค่านิยม ความเชื่อ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มบุคคลว่าเป็นเสมือนจริง หรือข้อเท็จจริง
- ซิกมันด์ ฟรอยด์ ต้นตำรับ จิตวิเคราะห์ และบิดาแห่งวิชาจิตวิตทยา มองอุดมการณ์ว่าเป็นภาพลวงและภาพลวงตาเหล่านี้เกิดจากสภาวะบิดเบือน หรือถูกกดดันของความต้องการในทางจิตของมนุษย์นั่นเอง.
- คาร์ล มาร์กซ์ นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน เจ้าของ ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ มองอุดมการณ์ว่าเป็นภาพหลอนทางการเมืองอย่างหนึ่ง ( False conseiousness ) ซึ่งสร้างขึ้นจากประสบการณ์ทางสังคม ของ ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง การที่บุคคลเป็นสมาชิกของชนชั้นใด จะส่งผลให้บุคคลนั้นๆได้ภาพของโลกที่มีมุมมองจากชนชั้นนั้นๆไปด้วย
- มาร์ก และ ฟรอยด์ มีทัศนะเรื่องอุดมการณ์คล้ายกัน คือเป็นเพียงภาพหลอนภาพลวงตาทำให้เราไม่สามารถเห็นภาพความจริงได้ แต่ทั้งสอง เสนอวิธีแก้ที่ต่างกัน
- ฟรอยด์ เรียกอาการนี้ว่าเป็นสภาพของการป่วย ดังนั้นเขาจึงเสนอวิธีแก้สภาพป่วยนี้ด้วยวิธี จิตวิเคราะห์ ของเขา
- มาร์กซ์ เสนอวิธีแก้ ภาพหลอนนี้ ด้วยการ ปฎิวัติ.
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น