Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

แอบดูการเมืองพม่า



ฮิลลารี่และซูจี 



คอการเมืองทั้งหลายคงกำลังให้ความสนใจวิวัฒนาการของการเมืองในประเทศพม่าเป็นอย่างยิ่ง ที่นับวันจะดูเหมือนรุดหน้า แล้วฝรั่งหัวแดงทั้งหลายต่างก็ส่งตัวแทนของตนเข้าพบรัฐบาลพม่าชนิดหัวกระไดไม่แห้ง

  • ในฐานะนักรัฐศาสตร์คนหนึ่งผมเองก็เฝ้ามองการเมืองพม่าชนิดเกาะติดเหมือนกัน ถ้าดูภาพจากข่าวผมก็อยากจะเชื่อว่ามันเป็นไปตามนั้นคือมีพัฒนาการไปในทางที่ดี แต่ในฐานะที่ร่ำเรียนรัฐศาสตร์มา เราจะละเลย หลักวิชามาจับเสียไม่ได้ เราจะไม่เชื่อตามที่โฆษณา ให้ตาเราเห็น เราต้องยึดหลักการของวิชาเอาไว้ คือวิเคราะห์ แยกแยะ โดยอาศัยฐานความรู้ สภาพสังคมและปูมหลังของบุคคลที่เราจะวิเคราะห์เข้าไปด้วย 

  • อองซาน ซูจี ได้รับการปลดปล่อยจากรัฐบาลทหารพม่า หลังจากถูกขุมขังกักบริเวณมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ รัฐบาล สล็อค 
ทำไมจู่ๆรัฐบาลทหารพม่าถึงได้ปลดปล่อยนางซูจี จะไปเหมารวมว่าเป็นเพราะถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ ก็คงไม่ใช่ทั้งหมด เพราะสภาพการภายในของพม่าก็ยังดำเนินการไปได้ด้วยดี ในระหว่างถูก แซงชั่น ดังนั้น ประเด็นนี้ ผมมองว่าไม่มีน้ำหนัก

  • ประเด็นต่อมาคือ การที่พม่าจะได้เป็นประธานอาเซียน ประเด็นนี้ เพียงแค่ปล่อยนักโทษการเมืองคนอื่น ๆ ก็น่าจะเพียงพอ 
แต่การที่สมาคมชาติ อาเซียน ลงมติให้พม่าเป็นประธานอาเซียน ทำให้มหาอำนาจชาติตะวันตก กระโดดเข้ามา และผ่อนคลาย กฎระเบียบต่างๆของตนเองที่มีต่อพม่าลง โดย เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ ผลประโยชน์นั่นเอง

  • พม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย ทั้งป่าไม้ สินแร่ต่างๆ ทั้งแร่เชื้อเพลิง อย่างน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก็ยั่วยวนใจอยู่ไม่น้อยสำหรับชาติตะวันตก ยิ่งมหาอำนาจเอเชียอย่างจีนที่พม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างแนบแน่นมาโดยตลอด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ตะวันตกอยากลดบทบาทของจีนลง และหวังแทรกตัวเข้ามา ด้วยการคลายกฎเหล็กลง 
  • กรณี นาง ซูจี เมื่อเทียบกับคนที่เราคุ้นเคย อย่าง พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯของไทยแล้ว เทียบกันต่อตารางนื้วแล้ว ต่างกันลิบลับ ทักษิณมีผลงาน มีประสบการณ์ การบริหารธุรกิจจนเป็นที่รู้จักของชาวโลก มีนโยบายสาธารณะที่ประชาชนในชาติยอมรับ 
  • ซูจี เหนือกว่า ดร. ทักษิณ อยู่เรื่องเดียวคือ ซูจี ได้รับ รางวัล โนเบล ขณะที่เจ้าตัวถูกกักบริเวณ ซึ่งจะว่ากันไปแล้ว ก็เป็นการให้รางวัล หรือเพิ่มค่า ให้นาง ซูจี มีราคาขึ้นในสายตาชาวโลก และสะท้อนให้รัฐบาลทหารพม่าเห็นว่า ตะวันตกเห็นและรับรู้การกระทำนั้นอยู่
  • เพราะถ้า ซูจี ไม่มีรางวัลโนเบล มาประดับ เกียรติยศให้เธอแล้ว เธอจะไม่มีต้นทุนทางสังคมเลย ในสายตาชาวโลก คนทั่วไป ก็จะรู้จัก ซูจี เพียงแค่ ผู้นำพรรดการเมืองฝ่ายค้าน และชนะการเลือกตั้ง แล้วก็ถูกรัฐบาลทหารกักขังบริเวณ เท่านั้นเอง 
  • ซูจี ไม่มีชื่อเสียงในเวทีโลกด้านอื่นๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการบริหาร เป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ มีความสามารถในการบริหารจัดการได้แค่ไหน ก็ไม่ทราบได้ เพราะเธอยังไม่มีโอกาสนั้นจริงๆ เราจึงสุด คาดคะเนได้ 
  • โดยหลักการของประชาธิปไตยแล้ว มันจะให้ โอกาสคน และทำลายตัวบุคคลโดยตัวระบอบของมันเอง กล่าวคือ เมื่อคุณ ชนะการเลือกตั้ง ประชาชนให้โอกาสคุณ แต่เมื่อคุณมีโอกาสทำงานแล้ว คุณกลับทำไม่ได้ดังที่เขาคาดหวัง คุณก็จะถูกระบอบทำลายทันที คือเลือกตั้งสมัยต่อไป คุณก็จะหลุดจากวงจรแห่งอำนาจนี้ไปทันที เช่นกัน

ผมจึงมองว่าประเด็นนี้ น่าจะเป็นสาระหลักที่รัฐบาลทหารพม่า อาจคิด และมองเห็น คือแทนที่จะกักล่าม นาง ซูจี ไว้ ให้ชาวโลกรุมแช่งด่าว่ารังแกผู้หญิง ยิ่งกักไว้นานคะแนน ซูจี ยิ่งเพิ่มขึ้น อย่ากระนั้นเลย
ปล่อยนางออกมา ให้นางได้ทำงาน และให้ประชาชนเห็น ถ้าผลงานไม่ดี แน่นอน ซูจี ก็จะถูกประชาชนชาวพม่า เดินปัดสะโหร่งหนีจากไป โดยที่รัฐบาลทหารพม่า ไม่ต้องออกแรงอะไร เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว อย่างแท้จริง

ได้อย่างแรกคือ ภาพลักษณ์ที่ดี ในสายตาชาวโลกที่มองรัฐบาลทหารพม่า
ได้อย่างที่ สองคือ ถ้า ซูจี สะดุดขาตนเองล้มเอง ก็จะได้ใจประชาชนที่เคยสนับสนุน ซูจี แม้ไม่ถึงขั้นมาสนับสนุน รัฐบาลทหาร แต่ เสียงพูด และการต่อต้านจะลดน้อยลง
ผลพลอยได้อื่นๆคือ ได้รับการผ่อนคลาย กฎเหล็กจากการถูก แซงชั่นจากชาติตะวันตกลง เพราะอย่างไรเสียปล่อยออกมา ให้เล่นอยู่ในกรอบที่ตนเขียนและวางเอาไว้ ให้อยู่ในสายตา และวงจำกัด มีได้มากกว่าเสียแน่นอน






จึงขึ้นอยู่กับนาง ซูจี ว่าจะตกหลุมพรางของรัฐบาลทหารพม่าหรือไม่ จะรู้เท่าทันเกมนี้หรือไม่ และจะใช้ความสามารถ ของเธอ พิสูจน์ ให้ชาวบ้านเห็นเป็นที่ประจัก และยอมรับได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวเธอเอง อองซาน ซูจี






ผมจึงแน่ใจว่าประเด็นนี้จึงน่าจะเป็นประเด็นหลักที่ทำให้ นาง ซูจี ถูกปล่อยตัว ออกจากการกักบริเวณ ผมเขียนบทวิเคราะห์ของผมชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานว่า ผมได้วิเคราะห์ และชี้ ประเด็นนี้ไว้ ถ้าเป็นตามนี้ เราจะได้เห็นกันอีกไม่นาน และถ้าผิดพลาด ผมก็จะได้กลับมาทบทวนบทวิเคราะของผมว่าผิดอย่างไร










กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น