Koungwhal Thongnetra

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา (ปัญญาคือแสงสว่าง ส่องทางชีวิต )123EE.BLOGSPOT.COM

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

คำปราศรัยของ ชาร์ล เดอ โกล

ชาร์ล เดอ โกล


คำปราศรัยของ ชาร์ล เดอ โกล เมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ.1946 ที่เมือง Bayeux

ความยุ่งยากวุ่นวายในชาติเป็นเหตุให้พลเมืองไม่สนใจในธรรมนูญปกครองประเทศเมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่ประเทศชาติจะกลายเป็นเผด็จการก็จะเป็นไปได้โดยง่าย องค์การบริหารประเทศก็เปรียบได้กับเครื่องจักรกลซึ่งต้องมีการทำงานที่ดีและมีการทำงานเรียบร้อยสม่ำเสมอ

เพราะเหตุใด สาธารณะที่ หนึ่ง สอง สาม ( ในฝรั่งเศส ) เพราะเหตุใดระบอบประชาธิปไตยในอิตาลี ในเยอรมันสมัยไวมาร์ และในสาธารณะรัฐสเปน จึงต้องพ่ายแพ้เปิดทางให้ระบบเผด็จการซึ่งทุกคนก็ทราบกันดีอยู่

ระบบเผด็จการคือการผจญภัยหรือการเสี่ยงโชคในระยะเริ่มแรกเราอาจจะได้เห็นว่าเป็นระบบที่ดีมีประโยชน์ท่ามกลางความกระตือรือร้นของคนบางกลุ่ม การยอมรับโดยมิสู้จะเต็มใจของประชาชนที่เหลือ ความเฉียบขาดของกฎข้อบังคับและโฆษณาชวนเชื่อแต่เพียงฝ่ายเดียว
จะทำให้เห็นว่าเผด็จการเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่า โดยเฉพาะเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับความยุ่งเหยิงต่างๆ ในประเทศในระยะก่อนเผด็จการ แต่เมื่อประเทศเป็นเผด็จการนานเข้า เพื่อเป็นการตอบแทนที่ประชาชนถูกบีบบังคับและการจำกัดอิสระภาพ ระบบเผด็จการจะต้องแสดงผลงานมากขึ้นทุกที
ประเทศชาติกลายเป็นเครื่องจักรกลที่ถูกเจ้านายบีบบังคับใช้อย่างเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองภายในหรือภายนอกประเทศ การวางเป้าหมายและการดำเนินงานถูกบีบบังคับอย่างไม่มีขอบเขต ในทุกย่างก้าวจะมีอุปสรรคทั้งภายในและภายนอก ในที่สุดเครื่องจักรก็จะมาถึงจุดสุดท้าย ระบบเผด็จการจะถึงจุดจบท่ามกลางความทุกข์ยาก และการนองเลือด ประเทศชาติจะตกต่ำไปเสียยิ่งกว่าเมื่อก่อนที่จะเป็นเผด็จการเสียอีก ประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเทศของเรา ซึ่งมีแต่ความยุ่งเหยิงและขัดแย้งทางการเมืองเป็นอย่างมาก

เป็นที่ทราบกันแน่นอนแล้วว่า หลักเกณฑ์ของประชาธิปไตยคือการแสดงความคิดเห็น และการแสดงความคิดเห็นนี้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติงานของทางการและกฏหมาย
แต่ประสบการณ์และหลักเกณฑ์ต่างๆ บังคับให้แบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ออกจากกันอย่างเด็ดขาด และให้ดุลยภาพ นอกจากนั้นยังจะต้องมีกรรมการผู้ตัดสินในระดับชาติซึ่งอยู่เหนือวงการเมือง โดยเป็นผู้ประกันความต่อเนื่องของชาติ ท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองอีกด้วย

สำหรับการออกกฎหมายนั้น ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่า หน้าที่นี้จะต้องตกอยู่กับสมาชิกของสภาซึ่งได้รับเลือกมาจากปวงชนโดยตรง  แต่การเคลื่อนไหวก้าวแรกของสภานี้ อาจไม่ให้ผลดีพอเพียงเสมอไป 

ด้วยเหตุนี้จึงควรมีสภาที่สองได้รับเลือกมาโดยวิธีการอื่นซึ่งแตกต่างไปจากสภาผู้แทนราษฎร ให้มีหน้าที่ตรวจสอบเสนอข้อแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายต่างๆ  จริงอยู่ถึงแม้ว่าลักษณะความคิดทางการเมืองต่างๆ จะมีตัวแทนของตนอยู่ในสภาแล้วก็ตาม ลักษณะและวิถีชีวิตในชนบทก็น่าจะมีสิทธิในสภาบ้าง

เหตุผลที่กล่าวมาแล้วนำไปสู่การจัดตั้งสภาที่สอง อันประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจาก สมาชิกสภาเทศบาล และที่ปรึกษาทั่วไปในส่วนท้องถิ่น  สภาที่สองนี้จะช่วยสภาผู้แทนราษฎรในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการเสนอแก้ไขและพิจารณาร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษำร หรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายปกครองซึ่งสภาผู้แทนอันเป็นสภาการเมืองมักมีแนวโน้มที่จะไม่ให้ความสนใจอย่างเพียงพอ  นอกจากนั้น  ในสภาที่สองนี้ยังจะมีสมาชิกซึ่งได้รับเลือกมาเป็นตัวแทนองค์กรทางเศรษฐกิจ ทางครอบครัว และทางปราชญ์ บัณฑิต อันเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในชาติ ให้มาเป็นตัวแทนของแต่ละสาขาในสภาที่สองอีกด้วย

อำนาจบริหารจะไม่มาจากสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ  หาไม่แล้วก็จะเป็นอำนาจในการรวมการปกครองไป  ถ้าอำนาจบริหารมาจากอำนาจนิติบัญญัติ  รัฐบาลก็จะเป็นเพียงที่ชุมนุมของตัวแทนต่างๆ  แต่อย่างไรก็ดี  ในขณะที่ประเทศชาติกำลังอยู่ในสภาวะเช่นนี้

สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องเลือกหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราว   ทั้งนี้เพราะไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ แต่วิธีดังกล่าวจะใช้ได้ในคราวนี้เท่านั้น  เนื่องจากเอกภาพ ระเบียบ วินัย และความสามัคคี ของรัฐบาลแห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งที่ต้องสงวนไว้ เพื่อความอยู่รอดของชาติ มิฉะนั้นแล้วการบริหารประเทศก็ไร้สมรรถภาพ

ทำอย่างไรจะรักษาเอกภาพ สามัคคีภาพ และวินัยไว้ได้ ในระยะยาว  ถ้าอำนาจบริหาร ซึ่งจะต้องถ่วงดุลยภาพกับอำนาจอื่นๆ มาจากอำนาจอื่นๆ ( นิติบัญญัติ ) ถ้ารัฐมนตรีแต่ละคนซึ่งมีความรับผิดชอบร่วมกันต่อสภา เป็นเพียงผู้ได้รับมอบอำนาจมาจากพรรคการเมือง

ด้วยเหตุนี้ อำนาจบริหารจึงต้องมาจากประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกมาจากรัฐสภาและองค์กรอื่นๆ ให้มีศักดิ์ศรีเพียงพอที่จะเป็นทั้งประธานาธิบดีของสาธารณะรัฐฝรั่งเศสเอง  และ กลุ่มประเทศที่รวมกัน อยู่ในสหพันธ์ฝรั่งเศส 

ประธานาธิบดีนี้ต้องอยู่เหนือพรรคการเมือง  ประธานาธิบดีมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ชาติ ในการเลือกตั้งบุคคลเข้ามาบริหารประเทศ โดยพิจารณาจากความเห็นของสภา ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี



ชาร์ล เดอ โกล


ตั้งแต่ปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 จนถึง ค.ศ. 1953 ฝรั่งเศส มีการปกครองกลับไปกลับมาทั้งแบบกษัตริย์ แบบจักรวรรดิ์ แบบสาธารณะรัฐ กล่าวคือ

หลังปฏิวัติแล้ว ได้กลับไปสู่ระบบอบราชาธิปไตย  Absolute  Monarchy  2 ครั้ง

สถาปนาระบอบจักรวรรดิ์ Empires  2 ครั้ง

เกิดระบอบต่างด้าว วีซี  Vichy Regime  1 ครั้ง ( จะนำมาเสนอต่อไป )

สถาปนาระบอบสาธารณะรัฐ Republics 4 ครั้ง ( ปัจจุบันเป็น ยุคสาธารณะรัฐที่ 5 )

สาธารณะรัฐที่ 1 ค.ศ. 1792 -1795
สาธารณะรัฐที่ 2 ค.ศ. 1848 -1851
สาธารณะรัฐที่ 3 ค.ศ. 1870 - 1940
สาธารณะรัฐที่ 4 ค.ศ. 1946 - 1958
สาธารณะรัฐที่ 5 ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน


ชาร์ล เดอ โกล ในวัยชรา

จักรวรรดื์ สมัย นโปเลียน โบนาปาร์ต หรือเรียกระบบนี้ว่า ระบบโบนาปาร์ต หรือ ปมโบนาปาร์ต ปกครองแบบเผด็จการกงสุล ( จะนำเสนอในโอกาสต่อไป )

 จักรวรรดิ์ที่ 1 คือ ปี ค.ศ. 1799 - 1814 คาบเกียวสมัยสาธารณะรัฐที่ 1 แล้วจักรวรรดิ์ก็สิ้นสุดเพราะแพ้สงคราม

จักรวรรดิ์ที่ 2 เริ่มเมื่อ ค.ศ.1851 -1870 ต่อจาก สาธารณะรัฐ ที่ 2 โดยนโปเลียนที่ 3 และสิ้นสุดเพราะแพ้
สงครามเช่นกัน


จักรพรรดิ์ นโปเลียน โบนาปาร์ต

ก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 ฝรั่งเศส ปกครองแบบราชาธิปไตยเต็มรูปแบบ และมาสิ้นสุดเมื่อคราวปฏิวัติ 1789

และกลับมามีระบอบกษัตริย์อีกครั้ง เมื่อ ค.ศ. 1789 -1791 ช่วงสั้นๆ ภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

และราชวงศ์บรูบ็อง กลับมาอีกครั้ง เมื่อ ค.ศ.1814 -1830 อยู่ในสมัยสาธารณะรัฐที่ 1 ที่ต่อสู้กันกลับเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา
และมาสิ้นสุด โดยการปฏิวัติ

และมีราชวงศ์ออเลออง เป็นราชาธิปไตยอีกครั้ง เมื่อ กรกฎาคม 1830 -1848 ก็ยังอยู่ในช่วง สมัยสาธารณะที่ 1 คาบเกี่ยวมาถึงที่ 2 ก็สิ้นสุดลงอย่างราบคาบ ด้วยการปฏิวัติ

ส่วนรบบ วีซี เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1940 -1944 ต่อจากสาธารณรัฐที่ 3 คาบเกี่ยวมาที่ 4



กังวาล ทองเนตร  รัฐศาสตร์ เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น